ข้อมูลกลุ่มอาชีพท้องถิ่น  "การทำไม้กวาดดอกหญ้า"

นายบุสดี  ปูหลุ่น   อายุ 72 ปี เดิมที่เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 269/1 บ้านสะพานยาว หมู่ที่ 3  ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง 42180  มีสมาชิกในครอบครัว จำนวน 4 คน ประกอบอาชีพหลัก ทำไร่อ้อย และ
ไร่มันสำปะหลัง  อาชีพเสริม ทำไม้กวาดดอกหญ้า  โทรศัพท์มือถือ 092-3577113

พิกัด (16.9415559, 101.9275837)

ลิงค์พิกัด https://maps.app.goo.gl/FHs9dEV5Uk6vxt1v8?g_st=il


ประวัติความเป็นมาของไม้กวาดดอกหญ้า

       “ดอกหญ้า”เป็นชื่อเรียกเป็นภาษาภาคกลางของผลผลิตจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งในแต่ละภาค

จะเรียกไม่เหมือนกัน เช่น ภาคใต้เรียกว่า“ดอกอ้อ”ภาคเหนือ เรียกว่า“ดอกกง”ส่วนชาวบ้านแคนใหญ่ ตำบลแคนใหญ่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันดีในชื่อของ “ดอกหญ้า”

มีอยู่ 2 ประเภท คือ“แบบแข็ง”และ “แบบอ่อน” แต่ที่นำมาทำไม้กวาดคือ ดอกหญ้าแบบอ่อน

ต้นเป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศเย็น ดินทรายปนกรวดบริเวณเชิงเขา ไม้กวาด เป็นอุปกรณ์ที่ยังจำเป็นต้องใช้ภายในครอบครัว แม้ปัจจุบัน บางบ้านได้นำเครื่องดูดฝุ่นเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบ้านและสถานที่ต่าง ๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการใช้ไม้กวาด ดังนั้น การทำไม้กวาดเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการ
เสริมรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวได้

     “ไม้กวาดดอกหญ้า" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้าน ทำใช้ในครัวเรือนมาตั้งแต่อดีต โดยใช้ความรู้ดั้งเดิมในการทำ แต่เมื่อมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้น หน่วยงานได้เล็งเห็นต้นทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชน จึงได้พัฒนาศักยภาพชุมชน ในการทำไม้กวาดดอกหญ้าให้มีความคงทน มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม

และพัฒนาสู่การเป็นสินค้าชุมชน”

       ลักษณะที่โดดเด่นไม้กวาดดอกหญ้าของชุมชนชาวบ้านสะพานยาว หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยส้ม

อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย จะนำดอกหญ้าเกรดเอ ดอกหญ้ามีน้ำหนักเท่ากันใส่กาวเพื่อไม่ให้ดอกหญ้าหลุดง่ายเวลากวาดบ้านนอกจากนั้นระยะเวลาการใช้งานของไม้กวาดใช้งานคงทน นอกจากนี้ไม้กวาดบ้านสะพานยาวของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าตำบลห้วยส้ม มีสีสันสวยงามมีหลายขนาดให้เลือก การทำหัตถกรรมไม้กวาดจากดอกหญ้าของชาวบ้านสะพานยาว หมู่ที่ 3ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึงจังหวัดเลย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดกันมากว่า 10 ปี ซึ่งคนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเสริมทำให้รายได้ของครัวเรือนของคนในตำบลห้วยส้ม มีรายได้ทุกวันในปัจจุบันรายได้หลักของครัวเรือนและตำบลห้วยส้มและตำบลใกล้เคียงในอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ส่วนใหญ่ทำอาชีพไม้กวาดเป็นรายได้หลักของครัวเรือน

    เคล็ดลับของการทำไม้กวาดดอกหญ้ามีเทคนิคที่สำคัญ ดังนี้

       วิธีการเก็บดอกไม้กวาด ดอกไม้กวาดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำไม้กวาดดอกหญ้า

การคัดเลือกดอกไม้กวาดจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าที่มีคุณภาพสูง
ชาวบ้านตำบลบ่อภาคมีเทคนิคในการเก็บไม้กวาดดอกหญ้า คือ จะต้องเก็บดอกไม้กวาดในช่วงเดือนมกราคมเพราะดอกหญ้าจะบานกำลังพอดี สีเขียวสวย การเก็บไว้ใช้ทั้งปีโดยจะนำมาเก็บในอาคารทั้งสดๆ จะไม่ตากแดดหรือตีเอาเกสรดอกออก เวลาจะนำมาทำถึงจะนำมาตากแดดและตีเกสรออกเพราะหากตากแดดและตีไว้มากๆ จะทำให้สีดอกหญ้าดูเก่า และเปราะหักง่ายไม่มีความคงทน

เทคนิคในการทำให้ไม้กวาดคงทน ไม้กวาดดอกหญ้าของตำบลห้วยส้ม ถือว่ามีความคงทนมาก โดยชาวบ้านมีเทคนิคในการทำให้ไม้กวาดคงทนโดยการใช้ขี้ยางที่ได้จากยางไม้ในการทาเคลือบเพื่อให้ไม้กวาดแน่นและมีความคงทนใช้งานได้นานขึ้นเพราะยางไม้จะมีความเหนียวมากกว่าแลคเกอร์หรือกาว ซึ่งยางไม้นี้หาได้จากในพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงชุมชนเอง แต่ในปัจจุบันหายากขึ้น


      เดิมทีนายบุสดี  ปูหลุ่นก่อนทีได้จะได้มาทำไม้กวาดได้ไปดูตัวอย่างการทำไม้กวาดอยู่ที่

จังหวัดอุบลราชธานี  คิดจะหาวัสดุดอกแขม (ดอกหญ้า)ไปขายที่จังหวัดอุบลราชธานี  ได้มีโอกาสไปที่บ้านน้ำเย็น อำเภอด่านซ้าย ได้ไปศึกษาเรียนรู้ และได้ทดสอบทำไม้กวาดเกิดความชอบและได้สานต่อการทำไม้กวาด จึงเลิกล้มความคิดที่จะหาวัสดุดอกแขม (ดอกหญ้า) ไปขายที่จังหวัดอุบลราชธานี

การทำไม้กวาด จะต้องนำดอกแขม(ดอกหญ้า) มาตี และตากแดด 3 แดด แยกขนาดความยาวของดอกแขม (ดอกหญ้า)  ด้ามไม้ทำจากไม้ไผ่ นำมาเหลา ขัด และทาสีแล็คเกอร์ ใช้ท่อพีวีซี ให้มันงอเหมือนหางช้าง ใช้เส้นพลาสติก ประมาณ สองเมตรจับเป็นช่อประมาณ 20 ช่อให้มีรูปโค้งตามหางช้าง(ท่อพีวีซี) ไม้กวาดของนายบุสดี ปูหลุ่น จะมีสองแบบ ประยุกต์ตามความสั้นยาว ของดอกแขม 

ราคาของไม้กวาด ด้ามละ 70 บาท นายบุสดี  ปูหลุ่น จึงได้นำความรู้ วิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้ามาเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้องได้ทำใช้ในครัวเรือน และขายให้กับคนในหมู่บ้าน และ
เมื่อมีผู้ผลิตมากขึ้นเหลือใช้ในครัวเรือนจึงนำออกขายให้กับเพื่อนบ้าน ต่างหมู่บ้าน ต่างตำบลและจังหวัด เผยแพร่ยังต่างจังหวัด ขยายออกเป็นวงกว้าง นอกจากนั้นยังมีพ่อค้าต่างจังหวัดมารับซื้อ
เพื่อไปจำหน่าย ทำให้เรื่องการทำไม้กวาดกลายเป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพเสริมของหลายครอบครัว สร้างรายได้ให้กับตนเอง เป็นอาชีพที่ทำรายได้ตลอดทั้งปี

 ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

 ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

กรณีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์  ข้อมูลเนื้อหา โดย นายบุสดี  ปูหลุ่น

                                     เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

                                     ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวพิชญา สวาสนา