บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด

บ้านมีชัย

ข้อมูลกลุ่มแหล่งเรียนรู้  "การเลี้ยงจิ้งหรีด"


แหล่งเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ : บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย

 นายฉลอง จันทบุตร อายุ 84 ปี  อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 35 บ้านมีชัย หมู่ที่ 2  ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง 42180 
มีสมาชิกในครอบครัว จำนวน 10 คน ประกอบอาชีพหลัก ทำไร่อ้อย และเกษตรผสมผสาน 
อาชีพเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด  โทรศัพท์มือถือ 093-4401240

พิกัด (16.965606410758554, 101.93022621514193)

พิกัดลิงค์ https://goo.gl/maps/R1RAVVLoURvvF2369


ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

       ภูมิปัญญาด้านการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ที่เป็นอาชีพเสริมในชุมชนและสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว นายฉลอง  จันทรบุตร ก็เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดมาประมาณ 3 ปี ที่ผ่านมาก็เคยประสบปัญหามากมาย ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยง ต้นทุนสูงและสายพันธุ์ของจิ้งหรีดซึ่งบางสายพันธุ์ก็ไม่มีความเหมาะสม ทำให้บางครั้งยากต่อการเพาะเลี้ยง ประสบความสำเร็จน้อยหลังจากนั้น ผู้ชายก็ได้ให้คำแนะนำและศึกษาหาความรู้เองบ้างจากสื่อหนังสืออินเตอร์เน็ตบ้าง ที่จะทำให้จิ้งหรีดโตเร็ว เลี้ยงง่าย และเป็นที่ต้องการของตลาด จึงส่งผลดีเป็นอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดชุมชนบ้านมีชัย มีรายได้เพียงพอต่อครอบครัว

      จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและ
มีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีด
มีหลายชนิดหลายขนาดแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอจิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด

1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกว้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามธรรมชาติมี 3 สีคือ สีดำ

 สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด

2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมต้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น

3. จิ้งหรีดเล็ก มีขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผีหรือ แอ้ด เป็นต้น

ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทอดแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนึ่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง

4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชีื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น

5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครึ่งตัว และชนอดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด

1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ

2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค

3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ

4. เป็นอาหารสัตว์เช่น ไก่กบ เป็น ปลา และอื่น ๆ

5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)

6. เพื่อการกีฬา เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา


ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้ 

  นายฉลอง จันทบุตร เป็นชาวบ้านมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้มีความสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อบริโภคในครัวเรือนจากนั้นหลายปีต่อมาได้ทำการขยายบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด และลูกหลานได้เข้ามามีบทบาทในการทำฟาร์ม ภายใต้ชื่อ
“บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย” จนเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่รู้จักในหมู่บ้านมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ
มีหน่วยงานพัฒนาชุมชน และหน่วยงานปศุสัตว์ หน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดินจังหวัดเลย หน่วยงานศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกระดึง หน่วยงานกรมการปกครอง เข้ามาสอบถามข้อมูลและทำ MOU อย่างต่อเนื่องทำให้
“บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีดบ้านมีชัย” ได้มีหน่วยงานเกษตรอำเภอภูกระดึงส่ง“บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย” เข้าร่วมประชุมอบรมเรื่อง การแปรรูปอาหารเพื่อส่งออก ที่จังหวัดหนองคาย ทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างต่อมาทาง“บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย”
ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง โซเซียลให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อเป็นการหารายได้ให้กับชุมชน
ให้ชุมชนได้มีอาชีพในครัวเรือน โดยจะมีการแนะนำถึงพันธุ์จิ้งหรีด การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ โรงเรือน การวางบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด
ทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดในฤดูกาลต่างๆ “บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย” จะดำเนินการรับซื้อคืนส่งโรงงานที่ 70 บาท (รับไม่อั้น) 

ส่งออกได้ทั้งปีใช้เวลาเลี้ยงแค่ 35-40 วัน ไม่จำกัดวิธีการเลี้ยงจะเริ่มจากเล็กก็ได้ค่อยๆขยายใหญ่โตขึ้นหากกิจการรุ่งเรืองดี
หากผลผลิตได้สามารถขายปลีกเองได้ในราคากิโลกรัมละ 170-200 บาท


 ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

 ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

กรณีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์  ข้อมูลเนื้อหา โดย นางบุญโฮม จันทบุตร 

                                     เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวพิชญา  สวาสนา

                                     ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวพิชญา สวาสนา