แหล่งเรียนรู้

โบราณสถานเวียงเกาะกลาง บ้านบ่อคาว 

ย้อนตำนานที่ประสูติ พระนางจามเทวี

ชมโบราณสถาน เวียงเกาะกลาง

คลิปวิดีโอนำเสนอ วัดเกาะกลาง ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี                บ้านบ่อคาว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

                           ที่มา: Youtube  OTOP LAMPHUN 

ตั้งอยู่บ้านบ่อคาว หมู่ 8 ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 

       ประวัติของวัดมีเรื่องเล่าเชิงมุขปาฐะซึ่งปรากฏในคัมภีร์ภาษามอญอายุประมาณ 400 - 500 ปี    ซึ่งพบที่วัดหนองดู่ ในส่วนที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดของพระนางจามเทวีปฐมกษัตรีย์ใน ทฤษฎีที่เป็นของตนเอง นั่นคือความเชื่อว่าพระนางเจ้าจามเทวีเป็นธิดาของเศรษฐีอินตา (คำว่าเศรษฐี       อินตานี้ ชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือทั้งลัวะและเม็งมักนำไปใช้เรียกแทนสัญลักษณ์การอวตารลงมา ของพระอินทร์) เศรษฐีอินตาเป็นชาวมอญ (เม็ง) เกิดที่บ้านหนองดู่ เป็นชาวป่าซาง โดยตำนานพื้น บ้านระบุว่าเป็น พระบิดาที่แท้จริงของพระนางจามเทวี ก่อนที่จะถูกพญานกคาบไปตก         อยู่ในสระบัวแล้ว พระฤษีวาสุเทพเก็บมาเลี้ยง ต่อมาเติบโตได้ร่ำเรียนศิลปวิทยาการกับพระฤษีวาสุเทพ แล้วล่องลอย ไปกับกระแสน้ำเพื่อไป    อยู่ในราชสำนักกรุงละโว้ฐานะพระธิดาบุญธรรม ในที่สุดได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ นครหริภุญไชย ชุมชนแห่งนี้ (บ้านบ่อคาว , บ้านหนองดู่) จำนวนประมาณ 200 กว่าครัวเรือน มีเชื้อสายมอญ และใช้ภาษามอญ ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้หลายๆคนเชื่อกันว่า นี่คือ ทายาทหริภุญไชยกลุ่มสุด ท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในจังหวัดลำพูน 

   วัดเกาะกลาง ได้ถูกทิ้งร้างไปโดยไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2517 พระมหาสงวน ปัญญา จากวัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ พระมหาดวงจันทร์ เขียวพันธ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ได้ร่วมมือกับพระอุดม บุญช่วย วัดหนองดู่ ซึ่งทั้งหมดเป็นภิกษุชาวมอญ ทำการปฏิสังขรณ์และพัฒนาเป็นสถานที่ บำเพ็ญธรรม กระทั่งปี พ.ศ. 2522 กรมการศาสนาได้ประกาศให้วัดร้างเกาะกลางเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ โดยมี พระอุดม บุญช่วย เป็นเจ้าอาวาสองค์ แรก และในราวปี พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างพระวิหารขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยมี “เสาหงส์” ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคาร อันเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนมอญ ที่ใช้หงส์เป็น เครื่องรำลึกและสักการะถึงเมืองหลวงของมอญในพม่า คือ เมืองหงสาวดี                                 สำหรับที่มาของชื่อ วัดเกาะกลาง นั้น พระอุดม บุญช่วย กล่าวว่า เนื่องมาจากแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายเกาะ อยู่ในหนองน้ำอันกว้างใหญ่                                                                  กลุ่มโบราณสถานใน วัดเกาะกลาง แห่งนี้ มีอยู่มากมาย ได้แก่ วิหารหลวง , พระอุโบสถ , เจดีย์ประธาน , เจดีย์ทรงมณฑป , มณฑปกลางน้ำ และเนินเศรษฐีอินตา (ฐานหอพระมณเฑียรธรรม 8 เหลี่ยม)

“เสาหงส์” สัญลักษณ์ของชุมชนมอญ เครื่องรำลึกและสักการะถึงเมืองหลวงของมอญในพม่า คือ เมืองหงสาวดี

มณฑปกลางน้ำ 

            “มณฑปกลางน้ำ” เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ ลักษณะเป็นฐานเขียงในผังกลม สูงประมาณ 2.3 เมตร รองรับชุดฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ซ้อนเหลื่อม กัน 2 ชั้น เหนือฐานปัทม์ชั้นที่ 1 ด้านทิศเหนือ ตะวันออก และทิศใต้ พบแนวผนังซุ้มมีร่องรอยว่าเคยประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน ส่วนด้าน ตะวันตกมีบันได ที่ต่อเนื่องมาจากบันไดทางขึ้นลานประทักษิณ จากการขุดตรวจใต้ฐานเจดีย์ใน พ.ศ. 2548 พบชิ้นส่วน           เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา สอดคล้องกับรูปแบบศิลปะที่ปรากฎบนชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นกว่า 2,000 ชิ้น      ที่พบจากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณเจดีย์องค์นี้ มีรูปแบบคล้าย คลึงกับประติมากรรมปูนปั้นที่วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) เชียงใหม่ ที่พระเจ้าติโลกราชทรงโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่กระทำอัฐฐมสังคายนาพระ ไตรปิฏก ในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 จึงกำหนดอายุของเจดีย์องค์นี้ได้ว่า มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 โดย มณฑปกลางน้ำนี้ ถือเป็นมณฑปกลางน้ำที่สมบูรณ์ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ 

เจดีย์ประธาน

“เจดีย์ประธาน” เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนเหลื่อมกัน รองรับส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจระนำ ทั้ง 4 ด้าน บริเวณฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมเหนือเรือนธาตุ พบร่องรอยของฐานเจดีย์ประจำมุมทั้ง 4 ทิศ ทำให้เชื่อได้ว่ารูปทรงสมบูรณ์ของเจดีย์องค์นี้คือ เจดีย์ทรงปราสาท 5 ยอด ซึ่งน่าจะสร้าง ขึ้นก่อนการผนวกอาณาจักรหริภุญไชยของพญามังราย หรือน่าจะมีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19


เจดีย์ประธาน

เจดีย์ทรงมณฑป

เจดีย์ทรงมณฑป

       “เจดีย์ทรงมณฑป” เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนเหลื่อมกัน 2 ชั้น รองรับฐานชุดฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ย่อมุมไม้ 24 ขึ้น รอง รับเรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำ มองทะลุถึงกันทั้ง 4 ด้าน บริเวณกลางหลังคาเรือนธาตุพบแนวอิฐก่อโค้งรูปทรงครึ่งวงกลม สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานองค์ระฆัง กลมของเจดีย์ รูปแบบสถาปัตยกรรมของเจดีย์องค์นี้มีความคล้ายคลึงกับมณฑปประดิษฐานพระแก่นจันทร์แดง ที่สร้างขึ้นเพื่อ ประดิษฐานพระแก่นจันทร์ แดง วัดมหาโพธาราม เมืองเชียงใหม่


ที่มา: องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเรือน ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน