ศศช.บ้านแม่สูงเหนือ

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ ได้อนุมัติให้จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 เป็นสถานศึกษาในระบบราชการ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวังชิ้น สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่ ครูประจำหมู่บ้านไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงครูผู้สอนเท่านั้น แต่จะเป็นผู้ประสานงาน ผู้กระตุ้น และผู้อำนวยความสะดวกที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมของหมู่บ้าน รวมทั้งให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านภาษาไทย ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพียงพอที่จะใช้สื่อสาร และศึกษาข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจอันดีกับคนไทยส่วนใหญ่ได้ ทั้งนี้ มุ่งการประสานงานกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการ และเอกชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง ” บ้านแม่สูงเหนือ ชื่อนายวิทยา ภาษา

สภาพด้านการศึกษาในชุมชน

1. สถานศึกษาในชุมชน มี 1 แห่ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”บ้านแม่สูงเหนือ

2. บ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน/ตำบล มี 1แห่ง

3. ผู้ไม่รู้หนังสือในชุมชน มี 35 คน ชาย 16 คน หญิง 19 คน

4. ผู้ไม่จบชั้นประถมศึกษาในชุมชน มี 35 คน ชาย 17 คน หญิง 18 คน

5. ผู้ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในชุมชน มี 54 คน ชาย 22 คน หญิง 32 คน

6. ผู้ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 72 คน ชาย 26 คน หญิง 46 คน


ทำเนียบครู อาสาสมัครนอกโรงเรียน “พื้นที่สูง”

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ


1. นายอาคม โออินทร์ / นางสาวกฤติยา สาใจ พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2534

2. นายพนม อุดคำมี พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2534

3. นายรังสรรค์ นันทวรรณ พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2535

4. นางสาวเมธินี ศรีธิยศ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2535

5. นางสาวสุนิสา มาดหมาย พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2537

6. นายสมบัติ สัจจะนรพันธ์ / นางสาวศรีพรรณ ใจยิ้ม พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2539

7. นางสาวลัดดาวัลย์ ซุ่นฮะ พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2543

8. นางสาวเมธินี ศรีธิยศ พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2550

9. นายเชิดศักดิ์ สร้อยสาย พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553

10. นางมนต์ฤดี ชรากาหมุด พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2555

11. นายวิทยา ภาษา พ.ศ. 2555 – ปีปัจจุบัน

บทบาทและภารกิจของ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรนาการทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในการให้บริการ และจัดกิจกรรมการจัดการศึกษาของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่สูงเหนือ ดังนี้

1 .การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.1 เตรียมความพร้อมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน

1.2 ส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

1.3 จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.4 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่วัยแรงงาน

1.5 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

1.6 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

1.7 จัดการศึกษาตามอัธยาศัย

2. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใน

ชุมชนของภาคีเครือข่ายทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด

4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัด

กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปี

งบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด

จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ

6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ

7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความ

รับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด

8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด

ปรัชญา

อ่านได้ เขียนได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

วิสัยทัศน์

มุ่งจัดการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายชุมชนบนพื้นที่สูง ให้ทุกคนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชนเผ่า เป็นพลเมืองดีของชาติ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สามารถพึ่งตนเองและมีความสุขตามอัตภาพ โดยเน้นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชน

พันธกิจ

จัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายชุมชนบนพื้นที่สูงที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งสถานศึกษาในระบบไม่สามารถจัดการศึกษาให้ได้ และกลุ่มเป้าหมายนอกวัยเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับ ชุมชนบนพื้นที่สูง การศึกษาภาคบังคับ

1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนและกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการอย่างทั่วถึง

2. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม

3. ส่งเสริมสนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอาชีพด้านต่าง ๆ เกษตรธรรมชาติ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. จัดการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและบ้านหนังสือชุมชน โดยนำเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

เป้าประสงค์

1. ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่ม

3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น อาทิ หมู่บ้านแห่งการอ่าน บ้านหนังสือชุมชน แหล่งการเรียนรู้ชุมชน

4. ประชาชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมี ศศช. บ้านแม่สูงเหนือ และแหล่งการเรียนรู้อื่นในชุมชนเป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้

5. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

6. ชุมชนมีการจัดการความรู้ของชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

7. ชุมชนและทุกภาคส่วน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

8. ศศช. บ้านแม่สูงเหนือ พัฒนาและนำสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้

9. บุคลากรของ ศศช. บ้านแม่สูงเหนือ ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง

10. ศศช. บ้านแม่สูงเหนือ มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

ตัวชี้วัด

1. ประชาชนสามารถอ่านออก เขียนได้

2. ประชาชนพัฒนาอาชีพของตนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นพ้นจากความยากจน

3. ประชาชนดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีความเอื้ออาทรในครอบครัว ชุมชน

4. จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาที่ได้รับบริการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

5. จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่างๆ (กลุ่มเป้าหมายทั่วไป กลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มคนไทยทั่วไป เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการ

6. ร้อยละของผู้เรียนและผู้รับบริการที่มีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร/กิจกรรม

7. ร้อยละของผู้ไม่รู้หนังสือที่ผ่านการประเมินการรู้หนังสือตามหลักสูตรส่งเสริมการรู้หนังสือ

8. ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกิจกรรมของ ศศช.

9. ร้อยละของชุมชนที่ใช้แหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

10. จำนวนองค์กรภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของ กศน.ตำบล

11. จำนวน/ประเภทของสื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีการจัด/พัฒนาและนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการใน ศศช.

12. จำนวนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่เข้าถึงบริการการจัดนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านช่องทางสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสาร

13. จำนวนบุคลากร/ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

14. ร้อยละของประชากรในระบบฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศศช.