วัฒนธรรมประเพณี

ประเพณีไทยใหญ่ที่สำคัญในรอบปี

เดือนธันวาคม (ภาษาไทยใหญ่ เรียกว่า เดือนเจ๋ง)

เดือนมกราคม (ไทยใหญ่เรียก เดือนก๋ำ) หลังการเก็บเกี่ยวข้าวประจำปี และเป็นฤดูหนาว ชาวบ้านนิยมทำข้าวหลาม (ขนมที่ทำจากข้าวซึ่งบรรจุอยู่ในกระบอก ไม้ไผ่) ข้าวปุก (ข้าวเหนียวนึ่งตำคลุกงาป่น) ทำขึ้นเพื่อเลี้ยงถวายพระและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ช่วงนี้จะไม่มีงานมงคล

เดือนกุมภาพันธ์ (ไทยใหญ่เรียก เดือนสาม) มีเทศกาล งานถวายข้าวหย่ากู้ หรือการบริจาคข้าวเหนียวแดง โดยการนำข้าวเหนียวมานึ่งแล้วคลุกกับน้ำอ้อย โรยด้วย เนื้อมะพร้าวฝอย ถั่วลิสง นำไปทำบุญที่วัด และแจกให้ตามบ้านสนิทมิตรสหาย

เดือนมีนาคม (ไทยใหญ่เรียก เดือนสี่) เป็นการเริ่มต้นเทศกาลที่สำคัญคือ "เทศกาลปอยส่างลอง" คือการบวชเณรของชาวไทยใหญ่ นับว่าเป็นประเพณีที่ชาวไตให้ ความสำคัญกับประเพณีนี้มาก

เดือนเมษายน (ไทยใหญ่เรียก เดือนห้า ) มีเทศกาลสงกรานต์ จัดเตรียมข้าวปลาอาหารและเครื่องไทยทานไปทำบุญที่วัด มีพิธีรดน้ำดำหัว ขอขมาผู้เฒ่าผู้แก่

เดือนพฤษภาคม (ไทยใหญ่เรียก เดือนหก) มีเทศกาล "ปอยจ่าตี่" คือประเพณีการขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อเจดีย์ทรายในวันวิสาขบูชา และร่วมกันทำบุญที่วัด

เดือนมิถุนายน (ไทยใหญ่เรียก เดือนเจ็ด) มีประเพณีเลี้ยงเจ้าเมือง ตามศาลเจ้าเมืองต่างๆ

เดือนกรกฏาคม สิงหาคม กันยายน ( ไทยใหญ่เรียก เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ) มีงานประเพณี ต่างซอมต่อโหลง คืองานถวายข้าวมธุปยาส ซึ่งจัดกันตามหมู่บ้าน และเลี้ยงอาหาคนแก่คนเฒ่า ที่ไปจำศิล ภาวนาอยู่ในวัดในเทศกาลเข้าพรรษา

เดือนตุลาคม (คนไทยใหญ่ เรียก เดือนสิบเอ็ด) มีงานประเพณี แฮนซอมโก่จา คืองานทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ยังมี งานออกหว่า คืองาน ออกพรรษา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า งานจองพารา ตอนกลางคืนมีการแห่ จองพารา หรือปราสาทพระ ไปถวายวัด หรือประดับ บูชาไว้หน้าบ้าน เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัว ในเทศกาลนี้มีการละเล่นและฟ้อนรำ ซึ่งส่วนใหญ่จะฟ้อนรำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รำนก รำกิ่งกะหล่า(นกในนิยานเก่าแก่คนไต คล้ายกับกินรีของไทย) ก้าโต (รำสิงโตหรือเชิดสิงโต)