การรำนก รำโต

การรำนก หรือ กิ่งกะหร่า เป็นการแสดงโดย ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกกินนร ถ้าเป็นผู้หญิงเรียกกินรี ผู้แสดงการฟ้อนนก หรือกิ่งกะหร่าจะแต่งกายเลียนแบบนกยูงกรีดกรายร่ายรำตามที่จินตนาการขึ้น และเป็นท่ารำส่วยงามที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครซึ่งการฟ้อนนกและโตนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมฟ้อนและรำในช่วงงานวันออกพรรษา และงานประเพณีต่างๆของชาวไทยใหญ่

การรำโต หรือ ก้าโต เป็นการแสดงโดยให้ผู้แสดงสองคนมุดเข้าไปอยู่ในหุ่นคล้ายกับกวาง และมีขนยาวคล้ายจามรี มีลักษณะร่ายรำคล้ายการเชิดสิงโตของจีน ซึ่งไทใหญ่เรียกว่า โต เป็นสัตว์ในนิยายในสมัยพระพุทธกาล จากนั้นก็จะเต้นรำที่ผู้ฟ้อนรำ แต่งกายเลียนแบบโต ฟ้อนร่ายรำไปตามจังหวะดนตรี และออกท่าทางเลียนแบบกิริยาของโต มีท่าทางที่ทะมัดทะแมง สง่างามไปตามจังหวะกลองยาว อย่างน่าสนุกสนาน

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

การฟ้อนรำ นก โต เป็นการแสดงของชาวไทใหญ่ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนชาติใด โดยผู้แสดงการฟ้อนนก จะแต่งกายเลียนแบบนกยูงกรีดกรายร่ายรำแสดงท่ารื่นเริงสุขใจ ถ้าเป็นชายแต่งกายเป็นนกตัวผู้เรียกว่า กิ่งนะหร่า ถ้าเป็นหญิงแต่งเป็นนก ตัวเมียเรียก กิ่งนะหรี่ แต่เรียกทั่วไปว่า รำกิ่งกะหร่า มีความหมายว่าเป็นการรำนกทั้งหญิงและชาย

ส่วนการรำโต หรือ ก้าโต เป็นการแสดงโดยให้ผู้แสดงสองคนมุดเข้าไปอยู่ในหุ่นคล้ายกับกวาง ซึ่งไทใหญ่เรียกว่า โต เป็นสัตว์ในนิยายในสมัยพระพุทธกาล จากนั้นก็จะเต้นรำไปตามจังหวะกลองก้นยาว

อย่างน่าสนุกสนาน ซึ่งการฟ้อนนกและโตนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมฟ้อนและรำในช่วงงานวันออกพรรษา เนื่องจากชาวไทใหญ่มีความเชื่อ ว่า นก โต เป็นสัตว์ที่ได้ร่วมถวายการฟ้อนรำแด่พระพุทธเจ้าในช่วงวันออกพรรษา

กล่าวกันว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการเทศนาธรรมให้แก่พระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงด์มาสู่โลกมนุษย์ หรือที่เรียกว่าวันพระเจ้าเปิดโลกซึ่งตรงกับวันออกพรรษานั้น ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้พากันถวายการต้อนรับ ขณะที่สัตว์น้อยใหญ่ เช่น เสือ สิงห์ ช้าง ลิง นก นกกิ่งนะหร่า กิ่งนะหรี่ โต ก็ได้พากันมาถวายการฟ้อนรำด้วย เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ชาวไทใหญ่ จึงได้ยึดถือเอาเหตุการณ์นั้นนำมาปฏิบัติสืบทอดกันมา

ปัจจุบัน การฟ้อนรำ นก โต ได้เริ่มเผยแพร่เข้าสู่สังคมไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถพบเห็นในงานหรือการเดินขบวนทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดช่วง 10 - 15 ปีมานี้ ในภาคเหนือของไทยมีชนชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น และการฟ้อนรำ นก โต ได้มีการนำเข้าไปสอนตามโรงเรียนหลายแห่งของไทย

การแสดงรูปสัตว์เหล่านี้มาจากพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อครบกำหนด 3 เดือน แล้วจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ เหล่ามนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ชื่นชมยินดีที่จะได้รับเสด็จพระองค์ จึงพากันออกมาร่ายรำเพื่อถวายการรับเสด็จ นับแต่นั้นเป็นต้นมาชาวไตที่มีฝีมือก็จะสร้างหุ่นรูปสัตว์ต่างๆออกมาแสดงกันตลอดช่วงเทศกาลออกพรรษาเป็นระยะเวลา 7-15 วัน

ก้าโตหรือรำโตเป็นการละเล่นอย่างหนึ่ง มีการเชิดคล้ายสิงโตของชาวจีน เป็นการละเล่นที่สนุกสนานมากในการรำโตจะใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งอยู่ส่วนหัวของโต ส่วนอีกคนจะอยู่ด้านหางของโต ในการรำโตจะใช้กลองจังหวะ เป่- ยุบ ในการร่ายรำ การรำโตไม่มีท่าทางการร่ายรำที่ตายตัว ส่วนใหญ่จะคิดค้นและร่ายรำตามทำนองเพลง ในการรำโตจะมีการแสดงในงานเทศกาล หรือฉลองในโอกาสสำคัญ ต่างๆ เช่นในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เทศกาลวันออกพรรษาและประเพณีต่าง ๆ

ก้าโตหรือรำโต เป็นการแสดงของชาวไทใหญ่ที่นิยมเล่นกันมาก เชื่อกันว่า “ โต ” เป็นสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะผสมระหว่างมังกร กับสิงโต มีส่วนหัวคล้ายมังกร มีเขาแตกกิ่งเหมือนกวาง ลำตัวคล้ายสิงโตและมีขนยาวคล้ายจามรี

หุ่นโตมี 2 แบบ คือ “ โตควบ ” คำว่าควบ ภาษาไตหมายถึง “ ครอบ ” ลำตัวโตทำด้วยหวาย หรือไม้ไผ่ ลักษณะโค้งมนคล้ายเปลนอนของเด็ก หรือกระดองเต่า โตแบบนี้จะกลิ้งไม่ได้ เพราะมีโครงลำตัวตายตัว ขยับได้เฉพาะลำคอและส่วนหัวเท่านั้น อีกแบบหนึ่งคือ “ โตกลิ้ง ” แบบนี้เคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิต สามารถยืด หดตัว กลิ้งไปมาและทำท่าอื่น ๆ เหมือนสัตว์มีชีวิตจริง ท่ารำของผู้แสดงโตหรือเชิดโต จะสอดตัวเข้าไปอยู่ในช่วงตอนหน้าและท้ายของโต ทำท่าเดินเลียนแบบสิงโต เคลื่อนไหวได้ทุกท่า วิ่งวนไปมา ม้วนตัว กลิ้ง ส่ายขา เยื้องย่างตามจังหวะกลอง ซึ่งจะใช้กล้องก้นยาวตีประกอบ