Doctor of Engineering

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Engineering Program in Automotive and Energy Engineering Technology


ปรัชญา

ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ในวิชาการขั้นสูงด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน และทํางานวิจัยในระดับมาตรฐาน เป็นผู้นํา และเป็นนักพัฒนาที่สามารถ สรรค์สร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.ด. (เทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์และพลังงาน)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Engineering (Automotive and Energy Engineering Technology)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Engineering (Automotive and Energy Engineering)


ระยะเวลาตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 ระยะเวลา 3 ปี

แบบ 1.2 และ แบบ 2.2 ระยะเวลา 4 ปี


จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 และ แบบ 2.2 จำนวน 72 หน่วยกิต


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.25 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) และมีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่อย่างน้อย 1 เรื่อง

แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)

แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แบบ 1.1 และ แบบ 1.2 ผู้สำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้

(1) สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying exam) ผ่านเป็นที่พอใจ

(2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

(3) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติบนฐานข้อมูล ISI จำนวน 2 ฉบับ และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น จำนวน 1 เรื่อง หรือ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ บนฐานข้อมูล ISI จำนวน 1 ฉบับ และ บนฐานข้อมูล SCOPUS ไม่ต่ำกว่าควอไทล์ 2 (Quartile 2) จำนวน 1 ฉบับ และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น จำนวน 1 เรื่อง

(4) กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติ่ม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด

แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้

(1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)

(2) สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying exam) ผ่านเป็นที่พอใจ

(3) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

(4) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติบนฐานข้อมูล ISI ก่อนการตีพิมพ์ จำนวน 1 ฉบับ และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น จำนวน 1 เรื่อง

(5) กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติ่ม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด