- องค์ประกอบที่ 3

องค์ประกอบที่ 3 : การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ

รู้การวิเคราะห์ เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก

องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ

หลักการ : รู้การวิเคราะห์ เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก

สาระการเรียนรู้

รู้วิธีการวิเคราะห์เบื้องต้น รู้วิธีการจำแนก รู้ความต่าง รู้ความหลายหลาก

๓.๑ การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้

- การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน บันทึกในเอกสาร ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๑

- การศึกษาข้อมูลพรรณไม้ บันทึกใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๒-๗

- การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้ คือ การตรวจสอบ การบันทึกข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๘ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์

-การสืบค้นข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ตรวจสอบการบันทึก ข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓หน้า ๙

๓.๒ การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ- การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วน

- กำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช คือ พิจารณาพื้นที่ศึกษาจากการวิเคราะห์ และกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืชศึกษา เช่น สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิว เนื้อ

- เรียน รู้แต่ละเรื่องแต่ละส่วนของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือการศึกษา สังเกต บันทึกข้อมูลด้านรูปลักษณ์ ในแต่ละเรื่อง แต่ละส่วน ของแต่ละองค์ประกอบย่อย

-นำข้อมูลเปรียบเทียบความต่างแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน

ขั้นตอน

1. การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้

1.1 การมีส่วนร่วมของผู้ศึกษา

1.2 การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน

1.3 การศึกษาข้อมูลพรรณไม้

1.4 การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

1.5 การสืบค้นข้อมูลพฤกษศาสตร์

1.6 การบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม

1.7 การตรวจสอบผลงานเป็นระยะ

1.8 ความเป็นระเบียบ ความตั้งใจ

2. การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ

2.1 การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด

2.2 การกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช

2.3 การเรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย

2.4 การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน