- องค์ประกอบที่ 1

องค์ประกอบที่ 1 : การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

“รู้ลักษณ์ รู้ชื่อ รู้จัก”

องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

หลักการ : รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก

สาระการเรียนรู้

กำหนด ขอบเขตพื้นที่ศึกษา สำรวจพรรณไม้ ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น บันทึกภาพพรรณไม้หรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ ตั้งชื่อหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้ ทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ตามแบบ (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๒-๗ ) ทำตัวอย่างพรรณไม้ เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๘) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึกใน ก.๗-๐๐๓ หน้า ๙ – ๑๐ เรียนรู้ชื่อที่เป็นสากล ทำทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕) ตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนพรรณไม้ และจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ เพื่อให้รู้จัก รู้ประโยชน์ของพรรณไม้

ขั้นตอนการจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

1. การกำหนดพื้นที่ศึกษา

2. สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา

3 ทำและติดป้ายรหัสต้น

4. ตั้งชื่อ สอบถามชื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.7-003 หน้า 1)

5. ทำผังแสดงตาแหน่งพรรณไม้

6. ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์

7. วาดภาพหรือบันทึกภาพ

8. ทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง

9. เปรียบเทียบข้อมูลสรุปหน้าที่ 8 กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร

10. จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.7-005)

11. ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

12. ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์

13. การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์