PKS Quality Assurance

กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา  กลุ่มบริหารวิชาการ  โรงเรียนเพชรพิทยาคม

สมศ.(พ.ศ.2563-2567).pdf
ความรู้ประกันคุณภาพการศึกษา-64.pdf

ประกาศมาตรฐานฯ และค่าเป้าหมาย ปีการศึกษา 2567

Sharing & Learning

ดร.ธีรพงศ์  จุลสายพันธ์ 

หัวหน้ากลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา
"Excellence is the unlimited ability to improve the quality of what you have to offer." Rick Pitino.

Editor's talk

"...นับตั้งแต่มีการประกาศ กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก ณ วันที่  23 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561...มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปรับใหม่จึงมีจำนวนไม่มาก แนวทางการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาจะเน้นการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพตามบริบทของสถานศึกษา ไม่เพิ่มภาระการจัดทำเอกสาร ปรับกระบวนทัศน์ในการประเมินที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา (Evaluation and development)..." (สำนักทดสอบทางการศึกษา : 2561)"

...กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจง คณะกรรมการดำเนินงาน ตรวจสอบมโนทัศน์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เปรียบเทียบหลักการ วิธีดำเนินงานระหว่างการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 กับรอบ 4 ทำความเข้าใจกฏกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการฯ (6 สิงหาคม 2561) ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกันสู่การดำเนินงานในภาพรวมทั้งองค์กร...

ระหว่างวันที่ 4 - 6 สิงหาคม พ.ศ.2562 เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมเชียงใหม่คุ้มภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

QA News :: 

ประเด็นการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ระหว่างวันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2562)

1. จุดเปลี่ยนและแนวทางการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

2. การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 

3. มาตรฐานของสถานศึกษากับการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 

4. บทเรียนรู้และข้อสังเกตจากการสังเคราะห์ SAR ของสถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่รุ่นแรก 

5. แนวทางการจัดทำ SAR แนวใหม่ และการจัดระดับคุณภาพสถานศึกษา (school grading) 

6. แนวทางการซักซ้อมการประเมิน (Mock assessment) ก่อนเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกของหน่วยงานต้นสังกัด 

7. การสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 

8. แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 

9. บทบาทของศึกษานิเทศก์กับการนิเทศติดตามด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษา

ภาพบรรยากาศการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ โครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน พ.ศ.2562 ณ หอประชุมพระราชปริยัติบัณฑิต

กิจกรรมเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาแนวใหม่

เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน พ.ศ. 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ได้จัดโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขึ้น โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สพม.40 จำนวน 39 โรงเรียน วิทยากรหลักได้แก่ ดร.เบญจวรรณ  อินต๊ะวงษ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ จากสพป.พิษณุโลก เขต 1และผู้ปฏิบัติหน้าที่ Moderator ในการเสวนาวิชาการครั้งนี้ คือ ดร.ธีรพงศ์  จุลสายพันธ์ ครูชำนาญการพิเศษ และหัวหน้ากลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเพชรพิทยาคม ประเด็นในการเสวนา คือ การเตรียมความพร้อมรับการประเมินรอบ 4 การจัดเตรียมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการจัดทำ VTR นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ดังนี้ ผู้เข้าร่วมการเสวนานับจากซ้ายไปขวา 

 (1) ดร.ธีรพงศ์  จุลสายพันธ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเพชรพิทยาคม (Moderator) (2) นายนิมิตร ตันติวโรดม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหนองไผ่  (3) นายสหภัส แร่นาค ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม (4) นางจิรันธนิน คงจีน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.40 (5) นางสุพิชญา  เหล็กแดง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ ร.ร.เพชรพิทยาคม (6) ว่าที่ร.อ.ยุทธศาสตร์ ถนัดพงษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนวังใหญ่วิทยาคม และ (7) ดร.เบญจวรรณ  อินต๊ะวงษ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.พิษณุโลก เขต 1 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 พฤษภาคม 2562) 

พรบ.กศ.ฉบับที่ 4 (2562).PDF

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561) 

กฏกระทรวงการประกัน61.PDF

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (6 สิงหาคม 2561)

มาตรฐานการศึกษาใหม่-6-8-61.pdf

 แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและการรองรับ
การประเมินภายนอกรอบสี่ 

1.  สถานศึกษาแต่ละแห่งต้องจัดให้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2561 โดยมีการ กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ และประเภทการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำาแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) ให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี 

2.  สถานศึกษานำมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจะกำหนดประกาศใช้ ไปเทียบเคียงและจัดทำเป็น “มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา” จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และดำเนินงานตามแผนฯ ตลอดช่วงปีการศึกษา และจัดทำ SAR ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  หลังสิ้นปีการศึกษา แล้วจึงจัดส่ง  SAR  ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา

3.  เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาได้รับ SAR จากสถานศึกษา ก็จะมีการสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการดำเนินงาน และจัดส่ง SAR พร้อมประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการประเมินผลและติดตามตรวจสอบ ให้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (องค์การมหาชน) เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก

4.  การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาและการตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานเป็น ไปตามหลักการตัดสิน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญ (expert judgment) และการตรวจทานผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินในระดับเดียวกัน (peer review) โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ คณะกรรมการประเมินต้องมีความรู้อย่างรอบด้าน และวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในการตัดสิน เพื่อให้ระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะไม่ใช่การให้คะแนนตามความคิดเห็นของคนใดคนหนึ่ง

5.  การประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่ต้องตรวจสอบและประเมินตนเองตามสภาพบริบทของสถานศึกษาที่แท้จริง โดยให้ความสำคัญกับ
การประเมินเชิงคุณภาพ ผนวกกับการประเมินเชิงปริมาณควบคู่กันไป การตัดสินคุณภาพของสถานศึกษาให้ใช้เกณฑ์การให้คะแนนผลงานหรือกระบวนการที่ไม่แยกส่วนหรือแยกองค์ประกอบในการกำาหนดคะแนนประเมิน แต่เป็นการประเมินในภาพรวมของผลการดำเนินงานหรือกระบวนการดำเนินงาน

6.  การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จการดำเนินงานของสถานศึกษา ให้สถานศึกษากำหนดเป้าหมายความสำเร็จ และเกณฑ์การประเมินตามสภาพบริบทของสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจของสถานศึกษา โดยให้ยึดหลักการดำเนินงานเพื่อพัฒนา และสะท้อนคุณภาพการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดตามมาตรฐานของสถานศึกษา

7.  การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เน้นการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา (evidence based) โดยเลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม และสะท้อนคุณภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจน และมีเป้าหมายการประเมินเพื่อการพัฒนา ลดภาระการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารที่ไม่จำเป็นในการประเมิน แต่ข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือ  และสามารถตรวจสอบผลการ
ประเมินได้ตามสภาพบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ

8.  คณะที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ควรศึกษามาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณาที่กำาหนดให้เข้าใจ ถ่องแท้ก่อนดำเนินการประเมินคุณภาพสถานศึกษาของตน หลังประเมิน แล้วให้แจ้งผลการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา สรุปและเขียนรายงานการประเมินตนเอง (self-assessment report)

9.  ในการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สถานศึกษาดำเนินการ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม

10.  ให้สถานศึกษาสรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัด เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ต่อไป

11.  โครงสร้างรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาไม่มีรูปแบบตายตัว  ให้สถานศึกษาจัดทำในสิ่งที่สถานศึกษาต้องการนำเสนอได้ สิ่งสำคัญที่สุดของรายงานการประเมินตนเอง คือ กระบวนการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึง กิจกรรม/โครงการ/งานที่สถานศึกษา ดำเนินการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงหลักการ แนวคิดของผู้บริหารสถานศึกษา การมีเป้าหมาย หรือรูปแบบที่ชัดเจนในการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งทุกกิจกรรม/โครงการ/งานส่งผลถึงการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย ของสถานศึกษา โดยให้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของสถานศึกษา และมุ่งเน้นตอบคำถามดังนี้ คือ  (1)  มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีคุณภาพในระดับใด  (2)  ข้อมูลหลักฐานและเอกสารเชิงประจักษ์สนับสนุนมีอะไรบ้าง และ (3) แนวทางพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างไร

12.  ข้อควรตระหนักในการประเมินคุณภาพภายใน

       12.1)  ผู้ประเมินควรมีความรู้ลึกและเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งในแง่มุมของภาระงาน โครงสร้างเทคนิคต่าง  ๆ  ที่ใช้ในการบริหาร  และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และมีประสบการณ์เพียงพอ เพื่อการช่วยชี้แนะการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็น เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอย่างแท้จริง

        12.2)  ผู้ประเมินควรวิเคราะห์อภิปรายด้วยใจเป็นกลางโดยพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานที่เก็บรวบรวมจากหลาย ๆ ด้าน ทั้งข้อมูลปัจจุบัน และผลการประเมินการดำเนินงานที่ผ่านมา (อาจพิจารณาย้อนหลัง 3 ปี) ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาว่าอยู่ในระดับใด

        12.3)  สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดที่ได้รับจากการประเมินภายในของสถานศึกษา คือ การได้รับข้อชี้แนะ คำแนะนำ แนวทาง การพัฒนาสถานศึกษาที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ดังนั้น ผู้ประเมิน จึงควรรู้ความเคลื่อนไหวของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน

        12.4)  การกำหนดระยะเวลาดำเนินการประเมินภายในของสถานศึกษานั้น ให้สถานศึกษากำหนดได้เองตามความเหมาะสม แต่ควรสอดคล้องกับสภาพและบริบทของการดำาเนินงาน เพื่อความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน เช่น แผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา แผนการเรียนรู้ บันทึกหลังสอนรายงานประชุม เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า เอกสารหลักฐานต่าง ๆ นั้น เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ไม่ใช่การสร้างเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม

        12.5)  การเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนของการสังเกตและสัมภาษณ์นั้น ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง ต้องสร้างความรู้สึกเป็นมิตรมากกว่าการจับผิดหรือการกล่าวโทษ และควรพูดคุยสอบถาม ด้วยความสุภาพ และสร้างความไว้วางใจเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

(สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561: 62-67)

เอกสารอ้างอิง

สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดย ดร.วิษณุ  ทรัพย์สมบัติ 

มาตรฐานการศึกษา ดร.วิษณุ.pdf

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเวบไซต์