รายวิชาภาษาไทย.6

๑. คำอธิบายรายวิชา

การอ่าน

อ่านได้คล่องและเร็วเข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร การเปรียบเทียบใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องสมุด การแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความ ตีความ สรุปใจความสำคัญ หาคำสำคัญในเรื่อง โดยใช้แผนที่ความคิดหรือแผนภาพความคิด พัฒนาการอ่าน นำความรู้ความคิดการอ่านไปใช้ในการแก้ปัญหา และตัดสินใจใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนและค้นคว้าเพิ่มเติม อ่านในใจและอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้คล่อง รวดเร็วถูกต้องตามลักษณะของคำประพันธ์และอักขรวิธี ท่องจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางความคิดและความงดงามทางภาษา อธิบายความหมายและคุณค่าของบทร้อยกรอง เลือกหนังสืออ่านตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีนิสัยรักการอ่านและมีมารยาทในการอ่าน

การเขียน

เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย เขียนอธิบาย เขียนชี้แจง การปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับโอกาส เขียนเรื่องราวจากจินตนาการ จดบันทึกข้อมูลความรู้ ประสบการณ์เพื่อนำมาพัฒนางานเขียน มีนิสัยรักการเขียนและมีมารยาทในการเขียน

การฟัง การดู และการพูด

จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปความ วิเคราะห์เรื่อง เข้าใจ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของเรื่อง ผู้พูด เข้าใจถ้อยคำ น้ำเสียงที่แสดงออก กิริยาท่าทางรับสารจาก การฟัง และการดูโดยการสังเกต สนทนาโต้ตอบ พูดวิเคราะห์เรื่องราว พูดรายงาน มีมารยาทในการฟังและการพูด

หลักการใช้ภาษา

อ่านและเขียนสะกดคำ ในวงคำศัพท์ที่กว้างขวาง ใช้คำ กลุ่มคำ ตามชนิดและหน้าที่มาเรียบเรียงเป็นประโยค ใช้ประโยคสื่อสารได้ชัดเจน ใช้คำที่มีความหมายโดยตรง ใช้ภาษาในการสนทนาเชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจงด้วยถ้อยคำสุภาพ ใช้คำราชาศัพท์ รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูดและเขียน ลักษณะของคำไทย คำภาษาถิ่น และคำภาษาต่างประเทศ ที่ปรากฏในภาษาไทย แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอนแปด กลอนสุภาพ เล่านิทานและตำนานพื้นบ้าน ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียน การแสวงหาความรู้และการดำรงชีวิต การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องสมุด บอกระดับของภาษา ลักษณะของภาษาพูดและภาษาเขียนอย่างถูกต้อง มีคุณธรรมและเหมาะแก่สถานการณ์ ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน

วรรณคดีและวรรณกรรม

อ่านนิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง บทละคร ใช้หลักการพิจารณาคุณค่าของหนังสือเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้

สาระที่๑ การอ่าน

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร

๓. อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลาย โดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๔. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

๕. อธิบายการนำความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

๖. อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม

๗. อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ

๘. อ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ

๙. มีมารยาทในการอ่าน

สาระที่๒ การเขียน

๑. คัดลายมือตัวบรรจง เต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด

๒. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม

๓. เขียนแผนภาพ โครงเรื่อง และแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน

๔. เขียนเรียงความ

๕. เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

๖. เขียนจดหมายส่วนตัว

๗. กรอกแบบรายการต่างๆ

๘. เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์

๙. มีมารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดูและการพูด

๑. พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจ จุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู

๒. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล จากเรื่องที่ฟังและดู

๓. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล

๔. พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟังการดู และการสนทนา

๕. พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย

๑. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

๒. ใช้คำได้เหมาะสม กับกาลเทศะและบุคคล

๓. รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

๔. ระบุลักษณะของประโยค

๕. แต่งบทร้อยกรอง

๖. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็น คำพังเพยและสุภาษิต

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

๑. แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดี หรือวรรณกรรม ที่อ่าน

๒. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้าน ของท้องถิ่นอื่น

๓. อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

รวมทั้งหมด 34 ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้