บทเห่ชมปลา-เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง)

บทเห่ชมปลา-เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง)

นักเรียนได้ฟังบทเห่ชมปลา จากการอ่านวรรณคดีหน้า2 บทสนทนาของ ชาลีและมะปราง ที่พูดเกี่ยวกับปลาในขณะที่ทั้งสองได้ให้อาหารปลาในบ่อเลี้ยงปลา จากจุดนี้ อาจารย์จึงนำได้บทเห่ขมปลาของเจ้าฟ้ากุ้งมาให้นักเรียนได้ศึกษาและเห็นความ งดงามของวรรณศิลป์ และสะท้อนให้เห็นถึงสังคม และธรรมชาติในยุคนั้น พร้อมทั้งปลานำ้จืดหลายชนิด

บทเห่ชมปลา ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บทและกาพย์ยานี ๑๔ บท กล่าวถึงปลา ๑๕ ชนิดเป็นสื่อความรำรึกคิดถึงนาง ได้แก่ ปลานวลจันทร์ ปลาตะเพียน ปลาหางไก่ ปลาแมลงภู่ ปลาคาง เบือน ปลากระแห ปลาน้ำเงิน ปลาสร้อย ปลาหวีเกศ ปลาเนื้ออ่อน ปลาแก้มช้ำ ปลากราย ปลาเสือ ปลาชะแวง ปลาชะวาด

คุณค่าของกาพย์เห่ชมปลา จะเห็นได้ว่า ในยุคสมัยนั้น ผู้หญิงที่งามต้องมีลักษณะอย่างไร เช่น

สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยว กับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง มารยาท ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา

คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย

เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย

กระแหแหนห่างชาย ดังสายสวาทคลาดจากสม

คำถามท้ายเรื่อง

1. ในบทเห่ชมปลานี้มีปลาทั้งหมดกี่ชนิด และมีชื่ออะไรบ้าง

2. นักเรียนชอบปลาชนิดใดมากที่สุด บอกเหตุผลตามบทร้องหรือเน้ือเรื่อง