ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป
...........ทั้งนี้คนจำนวนมากต้องพบกับความเครียดที่เกิดจากปัญหาการดำเนินชีวิตประจำวันจาก การทำงาน และสิ่งแวดล้อม ความเครียดทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบแก่บุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ โดยส่งผลให้คุณภาพชีวิต และศักยภาพในตัวบุคคลลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ขาดสมาธิ ขาดวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่มีความพึงพอใจในชีวิต หากบุคคลมีความเครียดในการปฏิบัติงานจะส่งผลให้เกิด ความสูญเสียต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร แต่ละคนมีกลไก การปรับตัวไม่เหมือนกัน บางคนไม่เคยประสบกับสภาวะกดดัน ปัญหา หรือความทุกข์ จึงเกิดความเครียดได้ง่าย ส่งผลให้มีการตอบสนองที่รุนแรง เช่น มีอาการทางกาย ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นไข้ หรือมีการแสดงกิริยาไม่ดีใส่คนรอบข้าง เป็นต้น ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อ การเผชิญความเครียด ทักษะในการรับมือกับการปรับตัว ทำให้บุคคลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับอาการของโรคจิตเภท รวมถึงความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และผลกระทบของความเครียดอาจจะเด่นชัดในช่วงวัยรุ่น (Reising et al., 2017)
แบบไหนถึงจะเรียกว่าเครียด?
            เมื่อเกิดความเครียด บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ รวมทั้งด้านพฤติกรรม แต่เมื่อเวลาผ่านไป และความเครียดเหล่านั้นคลายลง ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
ความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง?
            ผลจากปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อความเครียด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านร่างกาย ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร ฯลฯ
2. ด้านจิตใจและอารมณ์  จิตใจของบุคคลที่เครียดจะเต็มไปด้วยการหมกมุ่นครุ่นคิด ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย  ขาดสมาธิ ฯลฯ
3. ด้านพฤติกรรม  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังที่กล่าวในข้างต้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดเพี้ยนไป แต่ยังทำให้พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลเปลี่ยนแปลงด้วย ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่เครียดมากๆ บางรายจะมีอาการเบื่ออาหารหรือบางรายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองหิวอยู่ตลอดเวลาและทำให้มีการบริโภคอาหารมากกว่าปกติ มีอาการนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกัน ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม ฯลฯ
              ความเครียดเป็นสภาวะของอารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ เกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดันหลายครั้งที่หลายคนมักจะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะคนเรามักจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดไม่เหมือนกัน เพราะเมื่อเกิดความเครียดเราจะแสดงออกมาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม บางคนหงุดหงิดง่าย บางคนป่วยง่าย บางคนนอนไม่หลับ หากเรารู้วิธีจัดการ และบรรเทาความเครียดต่างๆ เหล่านั้นได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเครียดได้มากขึ้น มาดูวิธีจัดการความเครียดง่ายๆ กันว่ามีอะไรบ้าง
1. ออกกำลังกาย คลายเครียด
2. นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด
3. จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน
4. ผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง
5. ปรับเปลี่ยนความคิด

เทคนิคดูแลความเครียดในวัยรุ่น: https://www.thaihealth.or.th/
5 วิธีจัดการความเครียดง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้ : https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/
ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด : https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/
การจัดการความเครียด : https://www.nupress.grad.nu.ac.th/