จากสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย ปี 2560 พบว่า จำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กว่า 55.9 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่กว่า 10.7 ล้านคน หรือ 19.1% ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันจำนวนผู้สูบบุหรี่ประจำจะลดน้อยลง แต่จำนวนผู้สูบเป็นครั้งคราวกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการให้ทุกโรงเรียนดำเนินการป้องกัน ค้นหา เฝ้าระวัง และบริการจัดการ ผ่าน 7 มาตรการ ได้แก่ ให้ทุกโรงเรียนดำเนินการตาม พ.ร.บ.ยาสูบและเหล้าอย่างเข้มงวด, ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่, ครูและผู้บริหารต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง, ห้ามนักเรียนสูบบุหรี่, สอดแทรกความรู้ในการเรียนการสอน, รณรงค์ผ่านกิจกรรมภายในโรงเรียน และสุดท้าย ต้นสังกัดต้องสนับสนุนงบประมาณในการทำสื่อรณรงค์ นอกจากนี้ ต้องปลูกฝังความเชื่อให้เด็กใหม่ ว่าทำอย่างอื่นก็เท่ได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งบุหรี่
....และเนื่องจากบุหรี่เป็นสิ่งเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และการสูบบุหรี่ เป็นจุดเริ่มต้นของ การติดสิ่งเสพติดชนิดอื่น ๆ ผู้สูบบุหรี่มักไม่ค่อยตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาจากการสูบบุหรี่ มากนัก การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิติก่อนอันควรถึง 15 ปี ร้อยละ 50 ของผู้สูบบุหรี่ มักจะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก พบว่า ร้อยละ 12 เกิดจากการสูบบุหรี่ และร้อยละ 14 เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอด นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตที่เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อที่มีการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุร่วมด้วย โดยคิดเป็น ร้อยละ 5 ของผู้เสียชีวิตทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 7 เสียชีวิตจากโรควัณโรค ร้อยละ 12 เสียชีวิตเนื่องจาก การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (WHO, 2017) ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ประกอบด้วยผลกระทบต่อสุขภาพ คือ หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น มีกรดในกระเพาะอาหาร มากขึ้น มีกลิ่นปาก และการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ โป่งพอง โรคถุงลมโป่งพอง ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดลม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น การสูบบุหรี่ตั้งแต่เป็น วัยรุ่นเป็นเหมือนการฝึกปฏิบัติที่จะนำไปใช้ในการใช้เสพยาเสพติดอื่น ยาสูบเป็นประตูด่านแรกของการติดยาเสพติดหรือที่เรียกว่า Gate Way Drug โดยผู้ที่ติดยาเสพติดเกือบทั้งหมด เริ่มมาจาก การเสพติดบุหรี่ก่อน เยาวชนที่สูบบุหรี่มีการใช้ยาเสพติดชนิดอื่นมากกว่าเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 17 เท่า (อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์, 2558) 

หยุดบุหรี่แล้วมีประโยชน์อะไร :

1) ลดความเสี่ยง โรคหัวใจ โรคปอดโรคไต โรคติดเชื้อ และมะเร็ง
2) ลดภาวะกระดูกพรุน
3) บุหรี่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น งดบุหรี่แล้ว จะดูอ่อนเยาว์ขึ้น
4) การสูบบุหรี่ทำให้เซ็กเสื่อม งดบุหรี่แล้ว สมรรถภาพทางเพศจะดีขึ้น

ควรจะเริ่มต้นอย่างไรถ้าอยากงดบุหรี่:
สามารถช่วยท่านเริ่มต้นขั้นตอนการงดบุหรี่
S = กำหนดวันที่จะเริ่มงดสูบบุหรี่
T = บอกสมาชิกในครอบครัว , เพื่อนและคนรอบข้างว่าท่านวางแผนจะงดบุหรี่
A = คิดและวางแผนล่วงหน้าถึงช่วงเวลายากลำบากที่ต้องเผชิญ
R = นำบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆ ออกจากบ้าน , รถและที่ทำงาน
T = เล่าให้แพทย์ประจำตัวของท่านทราบว่าท่านจะงดบุหรี่ เพื่อให้ความช่วยเหลือ

ถ้าคุณอยากงดบุหรี่ แค่
1) กำหนดวันที่จะเริ่มงดบุหรี่
2) บอกครอบครัวเพื่อนและคนรอบตัวถึงความตั้งใจนี้
3) กำจัดบุหรี่และอุปกรณ์การสูบทุกอย่างออกจากชีวิต
4) เตรียมใจ ที่จะต้องผ่านช่วงเวลารู้สึกไม่สบายจากการงดบุหรี่
5) ปรึกษาแพทย์ของคุณ ให้ช่วยเหลือ

อาการที่อาจเกิดขึ้นขณะงดบุหรี่|
– หลับยาก
– ขี้หงุดหงิด
– ขี้โมโหโกรธง่าย
– ขาดสมาธิ
– ซึมเศร้า

คำแนะนำเลิกบุหรี่|
1)  การออกกำลังกาย ช่วยทำให้การอดบุหรี่ประสบความสำเร็จมากขึ้น|
2)  เก็บหมากฝรั่ง หรือลูกอมลูกกวาดไว้ในกระเป๋า สามารถใช้ลดความรู้สึกอยากบุหรี่ได้
3)  อยู่ห่างจากคนที่สูบบุหรี่หรือสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่อยู่ หาคนที่อยู่ใกล้ตัวคุณยังสูบบุหรี่ ชักชวนให้เขาร่วมกันพยายามเลิกบุหรี่ด้วยกัน
4)  อย่าละความพยายาม ในการเลิกบุหรี่ แม้คุณจะล้มเหลวในครั้งแรก คนจำนวนมากสามารถ ละเลิกการสูบบุหรี่ได้ในครั้งต่อมา
แนวทางการเลิกบุหรี่ในปัจจุบัน
- กำลังใจอย่างเดียว ในการเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองโดยอาศัยกำลังใจอย่างเดียว พบว่าส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จน้อยและมักกลับมาสูบอีก
- วิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้พฤติกรรมบำบัด การทำกิจกรรมกลุ่ม การใช้น้ำยาบ้วนปาก (ซึ่งทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป) การสะกดจิตและการฝังเข็ม หลักฐานที่จะนำมาสนับสนุนผลความสำเร็จของวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ยังขาดอยู่มาก
- การใช้ยาในการรักษาการติดนิโคติน การใช้ยาสามารถช่วยลดความทรมานจากการติดทางร่างกายได้ ทำให้เราสามารถทุ่มเทกำลังใจในการต่อสู้กับการติดทางจิตใจได้เต็มที่ ในปัจจุบันมีการใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่

อ้างอิง :
อยากเลิกบุหรี่ทำอย่างไรดี : https://www.synphaet.co.th/
ลดละเลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า...อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม : https://www.bangkokhospital.com/content/tobacco-harm-ecigarettes
ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร.5 วิธี พร้อมเลิกบุหรี่ : https://chulalongkornhospital.go.th
บุหรี่ : https://www.nupress.grad.nu.ac.th/