หน่วยที่ 5
สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21

เนื้อหาเรียนประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ความขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติ

ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ผู้ก่อการร้ายขบวนการอัล เคดา ได้จี้เครื่องบินโดยสารของสหรัฐอเมริกา เข้าพุ่งชนอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และอาคารเพนตากอนที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินและพลเมืองไปกว่า 3,000 คนนับเป็นการถูกโจมตีบนผืนแผ่นดินของตนเองครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

สาเหตุที่สำคัญ

  • ใน ค.ศ. 1998 นายอุซามะ บิน ลาเดน ผู้นำขบวนการอัล เคดาลงนามในฟัตวา (fatwa) ซึ่งเปรียบเสมือนกฎหมายที่ประกาศว่า การฆ่าชาวอเมริกันและพันธมิตรเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคน จนกว่ากองทัพของศัตรูจะออกไปจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาอิสลาม

  • เป้าหมายหลักของขบวนการอัล เคดา คือ การทำจิฮัด (Jihad) หรือการต่อสู้เพื่อศาสนา ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร โดยเฉพาะอิสราเอลและรัฐบาลของประเทศที่ไม่เป็นมุสลิม

ผลกระทบจากเหตุการณ์

-ผู้คนทั่วโลกต่างหวาดกลัวและหวั่นระแวงกลุ่มก่อการร้าย

-สหรัฐอเมริกาเตือนให้ทั่วโลกตื่นตัวและผนึกกำลังกันต่อต้านลัทธิก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศอยู่ใน ภาวะลังเลว่าจะร่วมมือกับสหรัฐอเมริกามากน้อยเพียงใด

-การทำลายล้างและการสังหารผู้คนด้วยวิธีการรุนแรงในที่ต่างๆ บนโลกมีมากขึ้น


ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนคืออะไร อะไรคือสาเหตุของการภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า

ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์

1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า

2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว

3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม

รู้ได้อย่างไรว่าโลกร้อนขึ้น และในอนาคตอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นกี่องศาเซลเซียส

จากการเฝ้าติดตามความผันแปรของอุณหภูมิโลก พบว่า ในระยะ 10 ปี สุดท้าย พ.ศ. 2539 – 2548 เป็นช่วงที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนที่สุด

หากไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะยับยั้งการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจกแล้ว คาดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5-4.5 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100

ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร

จากความผันแปรของภูมิอากาศมีผลต่อลักษณะอากาศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาวสูงกว่าปกติ 1.7 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรอบ 56 ปี ของประเทศ และในเดือนธันวาคม 2549 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส)

ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร

จากการศึกษาข้อมูล 54 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการตรวจวัดข้อมูล พบว่า อุณหภูมิของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย (รูปที่ 1) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย(รูปที่ 2) และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย(รูปที่ 3) ส่วนปริมาณฝนและวันที่ฝนตกมีแนวโน้มลดลง (รูปที่ 4 และ5) ถึงแม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทั้งปริมาณฝนและจำนวนวันฝนตกอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าปกติ มากกว่าที่จะต่ำกว่าปกติก็ตาม

ในปี 2550 นี้ โลกและประเทศไทย มีสภาพอากาศเป็นอย่างไร

การเพิ่มขึ้นของก๊าชเรือนกระจกทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศบริเวณผิวโลกสูงขึ้น คลื่นความร้อนเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาล ปริมาณและการกระจายของน้ำฝนเปลี่ยนแปลงไป ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัว เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติรุนแรงและถี่ขึ้น ในปี 2550 สภาพอากาศทั่วไปของโลก มีการคาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศร้อนจัดอีกปีหนึ่ง

สำหรับประเทศไทยในปี 2550 คาดว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และฤดูฝนจะมาเร็วกว่าปกติ และในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศจะสูงกว่าค่าปกติโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี

หากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนในวันนี้ ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

1. ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก

2. ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิ ฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช

3. สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญๆของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป

4. มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น

คนไทยสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ตามมาตรการดังต่อไปนี้

1. ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมันในกระบวนการผลิตและการขนส่งต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยออกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง

2. ใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล

3. รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าเพิ่มเติม

4. ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช

5. ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน

6. เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิง หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เป็นต้น

วิกฤตการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม

4.1 ปัญหาโลกร้อนและการทำลายชั้นโอโซน

การทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ หมายถึง การที่ก๊าซส่วนน้อย ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน มีเทน และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศและไปทำลายชั้นโอโซนจนเป็นช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตส่องถึงพื้นโลก ปกติโอโซนเป็นก๊าซที่มีปริมาณต่างกันตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 60 กิโลเมตร แต่ในระดับความสูงมีประโยชน์สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วยกรองรังสี UV ไว้ร้อยละ 70 – 90 และทำหน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของโลก

ปรากฏการณ์เอลนีโญ (Ei Nino Phenomena)

เอลนีโญ (El Niño) เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุกๆ 2 – 3 ปี กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน มีผลทำให้เกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรง ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์

ปรากฏการณ์เอลนีโญมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” หรือเรียกอย่างสั้นๆ ว่า ENSO ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยกระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย

อิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิโญ

ปรากฏการณ์ ENSO ไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงใน ประเทศไทย ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นเป็นผลจากปรากฏการณ์จริงแต่ปริมาณน้ำฝนไม่แตกต่างจากปกติมากนักอาจเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงและการกระจายของฝนลดลงกว่าสภาพปกติ

ลานีญา

ความหมายของลานีญา ลานีญา มี สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี

การเกิดลานีญา คือ ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย มีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์นั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำ (upwelling) จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติ

ผลกระทบของลานีญา

ปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง และแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติ บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติ

วิกฤตการณ์พลังงาน

4.2วิกฤตการณ์น้ำมัน

วิกฤตพลังงานในความต้องการน้ำมันมากกว่าความสามารถในการจัดหา ทำให้ไม่สามารถหาพลังงานรูปแบบอื่นมาทดทแทนน้ำมันได้ในระยะเวลาอันสั้น การรับมือกับปัญหาจึงต้องทำ ทั้งหาพลังงานรูปแบบอื่นเพิ่ม โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเน้นประหยัดหรือใช้พลังงานทุกรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการเรียกร้องและสร้างจิตสำนึกให้ประหยัดพลังงานและทรัพยากรทุกชนิดต้องทำอย่างต่อเนื่อง หวังผลได้ในระยะยาว ที่ทำได้ทันทีคือ

รัฐบาลจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงปัญหาการขาดแคลนและราคาพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นนี้ และเสนอแนะวิธีการประหยัดพลังงาน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ทุกคนเสียแต่เนิ่นๆ การปล่อยให้ประชาชนเข้าใจผิดหรือไม่มีการเตรียมตัวรับสถานการณ์จะทำให้เกิดผลร้ายอย่างรุนแรงแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศของเราเป็นอย่างยิ่ง

จะต้องทำให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง คือต้นทุนในการจัดหาบวกต้นทุนสิ่งแวดล้อม พลังงานที่ใช้แล้วมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงก็ควรมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมสูงราคาย่อมน่าจะสูงกว่าพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ไม่ควรที่จะอุดหนุนให้ราคาน้ำมันถูกกว่าต้นทุนในการจัดหาหรือถูกกว่าราคานำเข้า การสนับสนุนด้านราคาอาจทำได้โดยการเอาเงินงบประมาณแผ่นดินเข้าไปอุดหนุน หรือกู้เงินจากกองทุนน้ำมันและใช้คืนในภายหลัง

วิธีแรก เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการนำเงินภาษีอากรของคนทั้งประเทศมาอุดหนุนผู้ใช้น้ำมัน ประเทศไทยไม่เคยทำเพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะทำ

วิธีที่สอง คือการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันซึ่งประเทศไทยใช้มาตลอด โดยเฉพาะปี 2546-2547 ทำให้กองทุนฯ เป็นหนี้มีเงินติดลบเกือบแสนล้านบาท แม้วิธีเป็นหนี้กองทุนฯ จะทำให้ราคาน้ำมันไม่ขึ้นลงเร็วนัก ให้โอกาสประชาชนในการปรับตัว แต่ทำให้เกิดการใช้น้ำมันอย่างไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้ใช้ไม่ทราบราคาที่แท้จริง เมื่อราคาตลาดโลกสูงผู้ใช้ในประเทศไม่ทราบและยังคงซื้อน้ำมันได้ในราคาที่ต่ำกว่าทำให้ไม่สนใจประหยัดเท่าที่ควร

สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนทั่วไปใช้อุปกรณ์เครื่องจักรประหยัดพลังงาน โดยทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาถูกกว่าสินค้าที่ไม่ประหยัดพลังงานโดยการลดภาษีหรือให้เงินอุดหนุนโดยตรง ซึ่งไม่ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรม เพราะการนำเงินภาษีมาใช้ในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์กับประเทศส่วนรวม ทุกคนได้ประโยชน์จากการประหยัด

ส่งเสริมให้ข้าราชการและประชาชนเดินทางให้น้อยที่สุด ซึ่งทำได้โดยการสร้างระบบที่ข้าราชการทำงานและบริการประชาชนจากชุมชนที่ตนอยู่อาศัย ใช้โทรศัพท์ โทรสาร และอี-เมลในการให้บริการประชาชนมากขึ้น และจัดผังเมืองให้บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน ตลาด และโรงพยาบาล อยู่ในระยะที่เดินหรือใช้จักรยานเดินทางถึงกันได้หมดด้วยความปลอดภัย และจัดให้มีระบบขนส่งมวลชนระหว่างชุมชนหรือเมือง


วิกฤตเศรษฐกิจ ค.ศ. 2008

สาเหตุวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงในรอบ 80 ปีที่ทั่วโลกกลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ มีสาเหตุมาจาก 1. นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เข้าบริหารประเทศ เขาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ที่ถดถอยตั้งแต่กลาง ค.ศ.2001 ประธานาธิบดีบุชจึงใช้นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ ประกาศมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ตํ่าลง โดยดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Fund Rate) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2000 อยู่ที่ 6.54 เปอร์เซ็นต์ แต่ในระหว่าง ค.ศ.2001- 2004 ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด (Fed) ปรับลดดอกเบี้ยอ้างอิงลงจนเหลือเฉลี่ยเพียง 1.0 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554 Vol.4 No.1 January - June 2011 53 (Federal Resewe, 2008, 5 October) โดยเน้นให้ประชาชนกู้เงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนเพื่อเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจในอีกทางหนึ่ง ประชาชนส่วนหนึ่งนำเงินกู้ดอกเบี้ยตตํ่าไปซื้อรถยนต์ ใช้จ่ายเพื่อการท่อง เที่ยว รวมถึงการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งก

กำไร ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งราคาปรับตัวสูงขึ้น ประชาชนก็ยิ่งหันไปเก็งก

กำไรในอสังหาริมทรัพย์ด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ใน ค.ศ.2006 และเมื่อรวมกับราคานํ้ามันใน ตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีเดียวกัน จึงเกิดภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องการ แก้ไขปัญหาเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมาอยู่ที่ 5.25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว รูปที่ 1 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Funds Rate) ระหว่าง 1999-2009

กำไรว่า ซับไพรม์ เจาะจงความ หมายคือ ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพตํ่าเป็นหลัก วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา SKRU ACADEMIC JOURNAL 54 จากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ดังกล่าวข้างต้น มีส่วนทให้มาตรการการตรวจสอบสินทรัพย์น้อยลงและปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น ยิ่งส่งผลให้ปริมาณลูกหนี้สินเชื่อซับไพรม์ เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมูลค่าสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ คุณภาพต


ค่าเงินเข้าแก้ปัญหาหนี้เสียจากสินเชื่อซับไพรม์ด้วยการซื้อกิจการ ของธนาคารทั้งสองแห่ง แต่หนี้อสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงเป็นปัญหาทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่อยู่กับสถาบันการ เงินภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 7.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่ง ยังไม่รวมหนี้อสังหาริมทรัพย์ที่แปลงเป็นหลักทรัพย์แล้วอีกกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์(กรณ์ จาติกวณิช, 2551, 25 กันยายน) จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามูลค่าหนี้เสียที่เกิดจากสินเชื่อซับไพรม์โดยรวม มีมูลค่าสูงถึง 14.2 ล้านล้านดอลลาร์ 3. การเก็งกไรของบรรษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ระบบโครงสร้างของสถาบันการเงินหลักของสหรัฐอเมริกาประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วน คือ (1) สถาบันการเงินหรือธนาคาร เช่น แบงค์ออฟอเมริกา (Bank of America) ซิตี้แบงค์ (Citibank) จีอีแคปิตอล (GE Capital International Holding) (2) บริษัทประกันชีวิต เช่น บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชั่นแนล กรุ๊ป หรือ เอไอจี (American International Group : AIG) นิวยอร์ก ไลฟ์ (New York Life) และ (3) บริษัทวาณิชธนกิจเป็นสถาบันการเงินที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมทุนให้กับทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถระดมทุนและกู้ยืมเงินมาลงทุนได้สูงถึง 20-30 เท่าของหลักทรัพย์คประกัน ทั้งที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯกกำหนดไว้ไม่เกิน 12 เท่าของหลักทรัพย์คคํ่าประกัน เนื่องจากเป็นบริษัท เอกชนที่มีอิสระและไม่ถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง จึงทให้มีโอกาสลงทุนผิดพลาดสูง บริษัทเหล่านี้ ได้แก่ บริษัทเลแมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) บริษัทเมอร์ริน ลินซ์ (Merrill Lynch) บริษัท โกลด์แมน แซคส์ (The Goldman Sachs Group, Inc.) และมอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley)