ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การทำข้าวกล้องงอก ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง นครพนม

การทำข้าวกล้องงอก นางนิพาพร แพงคำฮัก เป็นปราชชาวบ้านด้านการทำข้าวกล้องงอก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 2 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การทำข้าวกล้องงอก

นางนิดาพร แพงคำฮัก เป็นปราชชาวบ้านด้านการทำข้าวกล้องงอก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 2 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม

ความเป็นมาของการทำข้าวกล้องงอก

ข้าวเป็นอาหารหลักของผู้คนในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่โบราณ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคน กับ ข้าว ข้าวเป็นวิถีชีวิตไทย ข้าวมีความสำคัญไม่เพียงเฉพาะในเรื่องของการเป็นอาหารหรือพืชเศรษฐกิจของ ประเทศไทยเท่านั้น แต่ข้าวอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ มีข้าวเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพิธีกรรมหรือการสร้างความรู้สึก สร้างความผูกพันในชุมชน

"ข้าวถือว่าเป็นชีวิตของคนไทย” วัฒนธรรมข้าว หรือเรื่องของข้าวในสังคมไทยมีปรากฏให้เห็นมาแต่โบราณกาล ดังที่ปรากฏในหลุมขุดค้นทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ก็จะพบเมล็ดข้าวปะปนอยู่ด้วย เมื่อคนบริโภคข้าว คนก็จะมีความคิดในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของการนำมาปรับใช้ แปรเปลี่ยนให้ผูกพันกับวิถีชีวิตของตน ดังจะเห็นได้จากการมีประเพณีพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องของข้าว หรืออาหารการกิน โดยคนไทยรู้จักการเคารพ นอบน้อม สำนึกบุญคุณ ต่อสิ่งที่มีคุณ วัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลสะท้อนให้เกิดเป็นประเพณีพิธีกรรมของคนในท้องถิ่น ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพาะปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว เช่นการทำขวัญข้าว หรือแม้กระทั่งการจะนำมาบริโภคก็มีการไหว้สำนึกบุญคุณ

ปัจจุบันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจเรื่อง การบริโภคข้าวมากขึ้น ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากกระแสทางด้านการให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวบางพันธุ์มีวิตามินสูง บางพันธุ์มีธาตุเหล็กและทองแดงสูง ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ หรือสร้างจุดขายของแต่ละพันธุ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจการค้าต่อไป

ข้าวกล้องงอกถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้าวกล้องงอก เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก

เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอกจะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้นซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารสูงขึ้นแล้วยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดา จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

ด้วยเหตุผลดังกล่าวที่กล่าวมาจึงเป็นแนวคิดที่ให้นางนิดาพร แพงคำฮัก ได้นำภูมิปัญญาตั้งแต่โบราณมาประยุกต์ใช้ในการทำข้าวกล้องงอก เพื่อไว้บริโภคและจำหน่ายและได้นำความรู้ภูมิปัญญาการทำข้าวกล้องงอกให้ความรู้แก่ชุมชนผู้ที่สนใจเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทำข้าวกล้องงอกบ้านยอดชาดหมู่ที่ 2 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม