อาชีพท้องถิ่น

อาชีพท้องถิ่นหลังจากฤดูทำนา

หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวในการทำนา เกษตรกรชาวบ้านยอดชาด มีอาชีพปลูกมันฝรัง

ชาวบ้านยอดชาดหมู่ที่1 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนมได้ปลูกมันฝรั่ง หลังทำนาเสร็จก็ปลูก โดยมีอุตสาหกรรมโรงงานที่ใช้มันฝรั่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอย่าง “เลย์” มีการประกันราคา ทำให้เกิดความมั่นใจ จึงตัดสินใจปลูกมันฝรั่งส่งขายให้เป็นเวลา 5 กว่าปีมาแล้ว การปลูกมันฝรั่งเพื่อป้อนเข้าโรงงาน แตกต่างจากการปลูกมันฝรั่งเพื่อเป็นหัวพันธุ์ ที่“ขนาด” โดยการปลูกมันฝรั่งเพื่อป้อนเข้าโรงงานมันฝรั่งทอดกรอบนั้น จะปลูกเป็นพันธุ์ที่ใช้ทำอาหารทั่วไป หลากหลายพันธุ์ ขนาดที่ได้ จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 4 เซนติเมตรครึ่ง ถึง 9 เซนติเมตรครึ่ง ถึงจะรับซื้อได้ในราคากิโลกรัมละ 10.60 – 14 บาท ซึ่งถือเป็นราคาประกันที่สูงกว่าราคาประกันขั้นต่ำที่รับบาลกำหนดแต่หากเป็นหัวพันธุ์มันฝรั่ง ทางเลย์ จะเป็นคนนำพันธุ์มาให้ปลูกให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 6.5 เซนติเมตร ซึ่งมันฝรั่งที่เลย์นำมาให้ เป็นพันธุ์แอตแลนติก และพันธุ์ FL2215 กับ FL2207 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่คิดค้นและวิจัยโดยเลย์ มีปริมาณแป้งสูง ต้านทานโรค เมื่อปลูกได้ตามขนาดที่ต้องการ ราคาประกันที่เลย์ให้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 21 บาท จะได้หัวพันธุ์ประมาณ 15 หัว ซึ่งเป็นปริมาณ

“อุปสรรคในการปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่ง ก็เหมือนกับการปลูกพืชทั่วๆไป เช่นเรื่องของโรค เรื่องของแมลง ยังพอแก้ไขปรับปรุงได้ แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรที่ปลูกมันฝรั่งเลยคือ “สภาพอากาศ” เพราะมันฝรั่งเป็นพืชเมืองหนาว ยิ่งหนาวผลผลิตก็ยิ่งดี แต่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แต่ก็ใช่ว่าอากาศมันจะเป็นแบบเดิมทุกปี บางปีฝนตกหน้าหนาว ผลผลิตก็ไม่ได้คุณภาพ ราคาตก หรือไม่ก็นำไปขายเป็นอาหารให้วัวนม เมื่อปลูกหัวพันธุ์ส่ง หักต้นทุนแล้ว กำไรอยู่ที่หลักหมื่นบาทต่อไร่ แต่หากเป็นการปลูกเพื่อส่งโรงงานอาจจะลดหลั่นลงมาเหลือทุนที่ 24,000 – 30,000 บาท กำไรก็จะได้ประมาณ 8,000 – 14,000 บาทต่อไร่” นายทำนอง แสนสุริวงค์ ผู้ใหญ่บ้านยอดชาดหมู่ที่ 1 ตำบลยอดชาด ได้กล่าว