วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

1.วัคซีนโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก(Tdap) โรคไอกรนพบสูงขึ้น การได้วัคซีนไอกรนจะกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์โรคไอกรนในผู้ใหญ่ สามารถใช้แทนวัคซีนคอตีบ และบาดทะยักได้ (dT) แนะนำ Tdap ในวัยรุ่น 1 ครั้ง และให้ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ 1 ครั้ง


2.วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ (influenza vaccine) ป้องกันโรคได้ประมาณร้อยละ 70-80 ควรฉีดกระตุ้นทุกปีเพื่อครอบคลุมเชื้อสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดในช่วงที่ผ่านมา แนะนำฉีดในผู้สูงอายุ ละผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มันบกพร่อง ผลข้างเคียง ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้หรือปวดเมื่อยตามตัว

ข้อห้ามในการฉีด แพ้ไข่แบบรุนแรง เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วแพ้แบบรุนแรง

3.วัคซีนป้องกันไว้รัสตับอักแสบบี(Heppatitis B vaccine) ติดต่อได้ทางเลือด การสัก การเจาะหู ทางเพศสัมพันธ์และการฝังเข็ม แนะนำในกลุ่มเสี่ยง โดยแนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด ฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน

4.วัคซีนปอดอักเสบไอพีดี มี 2 ชนิด ได้แก่

วัคซีนนิวโมคอคคัส แบบคอนจูเกต 13 สายพันธ์

วัคซีนนิวโมคอคคัส แบบโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธ์ โดยฉีดอย่างละ 1 เข็ม ในผู้สูงอายุแนะนำให้ฉีดห่างกัน 1 ปี

วัคซีนทั้ง 2 ชนิดสามารถครอบคลุมสายพันธุ์ ที่ก่อโรครุนแรงในประเทศไทย ได้ประมาณร้อละ 68-78 แนะนำในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการข้างเคียงส่วนใหญ่จะมีปวด บวม บริเวณที่ฉีด และหายได้ภายใน 2-3 วัน

5.วัคซีนงูสวัด แนะนำฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี เพราะภูมิต้านทานจะลดต่ำ ทำให้ไวรัสที่ซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทแบ่งตัว ทำให้เส้นประสาทอักเสบ มีผื่น และอาการปวดตามแนวเส้นประสาท ฉีดเพียง 1 เข็มสามารถให้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า เคยเป็นสุกใส หรืองูสวัดมาก่อน สามารถลดอัตราการเกิดโรคได้ร้อยละ 51 ลดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้ ร้อยละ 67 ในผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังเกิดงูสวัด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดบวมแดง บริเวณที่ฉีด

ข้อห้ามในการฉีด คือแพ้ยานิโอมัยซิน หรือเจลาติน หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง