วิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม โดยใช้ชุดสื่อการสอน

นามผู้วิจัย นางวันดี เดชอัมมพร

หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

ปีการศึกษา 2562


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดสื่อการสอน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 2.) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนหลังการใช้ชุดสื่อการสอน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ซึ่งได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็ม หลังสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ ชุดสื่อ การสอน

2. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มหลังการเรียนโดยใช้ชุดสื่อการสอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70


ชื่อเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ ค23102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

ชื่อผู้วิจัย นางวันดี เดชอัมพร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมความไม่ใส่ใจในการส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื้อหาที่วิจัยเป็นบทเรียนคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูมที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์

ผลการวิจัยปรากฏว่าพฤติกรรมการไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม 5 อันดับแรกสำคัญจากมากไปหาสำคัญน้อยดังนี้ คือ การบ้านมากเกินไป พื้นฐานเดิมไม่ดี ฟังครูไม่เข้าใจ การบ้านวิชาอื่นมาก และบทเรียนยากเกินไป 5 อันดับสุดท้ายสำคัญน้อยที่สุดไปมาก ครูใจดีเกินไป ครูดุเกินไป ไม่มีหนังสือเรียน ลืมสมุด ไม่มีเวลาทำเพราะต้องช่วยงานบ้านมาก

สรุปผลการวิจัย

จะเห็นว่านักเรียนมีพฤติกรรมความไม่ใส่ใจในการส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม 5 อันดับแรกจากสำคัญจากมากไปหาสำคัญน้อยดังนี้คือ การบ้านมากเกินไป พื้นฐานเดิมไม่ดี ฟังครูไม่เข้าใจ การบ้านวิชาอื่นมาก และบทเรียนยากเกินไป 5 อันดับสุดท้ายสำคัญน้อยที่สุดไปมาก ครูใจดีเกินไป ครูดุเกินไป ไม่มีหนังสือเรียน ลืมสมุด ไม่มีเวลาทำเพราะต้องช่วยงานบ้านมาก ดังนั้นจะเห็นว่าสาเหตุที่นักเรียนไม่ส่งการบ้าน การบ้านมากเกินไป พื้นฐานเดิมไม่ดี ฟังครูไม่เข้าใจ การบ้านวิชาอื่นมาก และบทเรียนยากเกินไป แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ควรเริ่มจากกระบวนในการจัดการเรียนการสอนต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำความเข้าใจกับทบเรียนให้มากยิ่งขึ้นให้ให้นักเรียนพยามยามทำงานในเวลาเรียนเพื่อให้นักเรียนมีภาระงานน้อยลงและการทำงานในชั้นเรียนยังมีข้อดีอีกประการหนึ่งคือเมื่อนักเรียนไม่เข้าใจหรือทำการบ้านไม่ได้นักเรียนยังมีเพื่อนและครูคอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนสามารถส่งงานได้ทันตามเวลาที่กำหนด

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการวิจัยซ้ำแยกตามห้องเรียนสำหรับห้องอ่อนและห้องเก่ง เพื่อหาข้อสรุปที่ชักเจนและใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป

2. ควรมีการวิจัยแยกเป็นภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 เนื่องจากเนื้อหายากง่ายของแต่ละเทอมแตกต่างกัน

3. ควรเพิ่มเวลาเรียนใน 1 คาบให้มีเวลา 60 นาที



ชื่อผู้วิจัย นางวันดี เดชอัมพร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

ชื่องานวิจัย เรื่อง กระบวนการติดตามนักเรียนที่คาดว่าจะไม่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาคณิตศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม ปีการศึกษา 2563

ปัญหา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จำนวน 5 คน ที่คาดว่าจะไม่จบ

การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2563 เนื่องจากมีผลการเรียนเป็น 0

1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

1.2 เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จำนวน 5 คน จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. วิธีการวิจัย

2.1 กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 5 คน

2.2 นวัตกรรมที่ใช้ คือ กระบวนการ PDCA

2.3 การดำเนินการ

2.3.1 จากการจัดการเรียนการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 และห้อง 2 ในปีการศึกษา 2563 พบว่ามี นักเรียนจำนวน 5 คน ที่มีผลการเรียนเป็น 0 ในภาคเรียนที่ 1 คือนายอนุชา แซ่ลิ้ม นายวรวุฒิ ทวีผล นายพงศกร ว่องวัฒนสิริ ม.3/1 นายณัฎฐ์ คำดี นายณัฐภูมิ แซ่อึ้ง ม.3/2 และนักเรียนไม่ดำเนินการแก้ไข อีกทั้งอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 ทำให้มีบางช่วงที่โรงเรียนไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ส่งผลให้ครูไม่สามารถติดตามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมาแก้ไขผลการเรียนได้

2.3.2 ดำเนินการติดตามจากครูที่ปรึกษา ให้ครูที่ปรึกษาเชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อร่วมกันในการแก้ปัญหา ครูมอบหมายงานให้กับนักเรียน โดยมีครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองร่วมรับรู้ว่าครูประจำวิชามอบหมายงานใดบ้างและนัดนักเรียนในการส่งงานและสอบวันสอบซ่อมเพื่อให้คุณครูที่ปรึกษา ครูประจำวิชาและผู้ปกครองร่วมกันในการติดตามนักเรียน

2.3.3 จากการดำเนินการพบว่ายังมีนักเรียนที่ยังไม่ดำเนินการตามที่ครูกำหนดอีก 3 คน คือ นายพงศกร ว่องวัฒนสิริ ม.3/1 นายณัฎฐ์ คำดี นายณัฐภูมิ แซ่อึ้ง ม.3/2 ครูประจำวิชาจึงให้นักเรียนทำงาน และสอนเสริมให้กับนักเรียนในช่วงเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียนโดยติดต่อให้ผู้ปกครองมารับตามเวลาที่ครูกำหนด จากการดำเนินการพบว่ายังมีนักเรียนที่ยังไม่ดำเนินการตามที่ครูกำหนดอีก 2 คน คือ นายพงศกร ว่องวัฒนสิริ ม.3/1 และนายณัฐภูมิ แซ่อึ้ง ม.3/2 ดังนั้นครูจึงใช้วิธีการติดต่อให้ผู้ปกครองมาช่วยครูดูแลนักเรียนในระหว่างที่นักเรียนทำงานหรือเรียนเสริม

2.4 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

2.4.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน

2.4.2 ศึกษาผลการสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

2.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

2.5.1 ครูที่ปรึกษา ครูประจำวิชาและผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือกันในการดูแลนักเรียนจึงจะส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

3. สรุปผลการดำเนินการ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม จำนวน 5 คน ที่คาดว่าจะไม่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องจากนักเรียนไม่มาติดต่อและติดตามแก้ไขผลการเรียน ครูประจำวิชา ครูที่ปรึกษา และผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือกันในการดูแลนักเรียนส่งผลให้การดำเนินการแก้ไขผลการเรียน รวมถึงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของภาคเรียนที่ 2 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักเรียนทั้ง 5 คน สามารถแก้ไขผลการเรียนของภาคเรียนที่ 1 และ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของภาคเรียนที่ 2 โดยนักเรียนทั้ง 5 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินและจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม โดยใช้

ชุดสื่อการสอน

นามผู้วิจัย นางวันดี เดชอัมมพร

หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์

เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดสื่อการสอน 2.) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนหลังการใช้ชุดสื่อการสอน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการบวกลบคูณหารจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็ม หลังสูงกว่าก่อนเรียน

โดยใช้ ชุดสื่อการสอน

2. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มหลังการเรียนโดยใช้ชุดสื่อการสอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

คำสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชุดสื่อการสอน,บัตรเลข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์

เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดสื่อการสอน 2.) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มของนักเรียนหลังการใช้ชุดสื่อการสอน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการบวกลบคูณหารจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็ม หลังสูงกว่าก่อนเรียน

โดยใช้ ชุดสื่อการสอน

2. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็มหลังการเรียนโดยใช้ชุดสื่อการสอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

คำสำคัญ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชุดสื่อการสอน,บัตรเลข