เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio) :: ครูวลิดา  จันทรสมบัติ

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน........20....ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

รายวิชา ภาษาอังกฤษ 4 ระดับชั้น ม.5   จำนวน.......18..... ชั่วโมง/สัปดาห์

  ชั่วโมงโฮมรูม นักเรียนที่ปรึกษาชั้น ม.5/5   จำนวน........1.....  ชั่วโมง/สัปดาห์

  กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยช์ ระดับชั้น ม.1     จำนวน........1.....  ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมชุมนุม " ภาษาอังกฤษ "     จำนวน........1.....  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ....9..... ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน......4.......ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน........4.....ชั่วโมง/สัปดาห์

      รวมจำนวนชั่วโมง  37  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทายรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณแบบเป็นขั้นตอนด้วยกิจกรรม Unplugged Coding  รายวิชาวิทยาการคำนวณ  เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   โรงเรียนสตรีศึกษา

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ได้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จากสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่ไม่ได้เน้นให้ลงมือฝึกปฏิบัติโดยผ่านสื่อกิจกรรมที่น่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนขาดทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหาแบบมีลำดับขั้นตอน ซึ่งการคิดเชิงคำนวณนั้นเป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1.   จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศผู้เทศผู้เรียนเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา

2.  จัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด

3.  ออกแบบกิจกรรม Unplugged Coding

4.  นักเรียนศึกษาใบกิจกรรม จากกระดานออนไลน์ Padlet

5.  ทบทวนความรู้เดิม และเพิ่มเติมความรู้ใหม่

6.  สร้างการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการแบ่งกลุ่ม (แบบสุ่ม) และกระตุ้นความสนใจด้วยการจัดการแข่งขัน

7.   ฝึกปฏิบัติกิจกรรม Unplugged Coding เกม แก้วเรียงสีหรรษา

8.  สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน ในกิจกรรมในชั้นเรียน

9.  สรุปผลแข่งขัน และให้นักเรียนส่งผลใบกิจกรรมกลุ่ม

10.  นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจ

3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียน 75 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณแบบเป็นขั้นตอนด้วยกิจกรรม 

Unplugged Coding รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22182 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. โดยมีเกณฑ์ระดับคุณภาพผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด


  3.2 เชิงคุณภาพ

 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 75 คน  มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาแนวคิดเชิงคำนวณ และ

สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Unplugged Coding มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA


คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ

คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ 

ยินดีต้อนรับคณะกรรมการ PA.mp4

คลิปนำเสนอการประเมิน PA - 2567

คลิปขั้นตอนการรับสมัครนักเรียนออนไลน์

สร้างสื่อวีดีโอด้วย Canva และสร้างเว็บ E-Fortfolio ด้วย Google Site - ครูกิ๊ก (06.07.2024)