ข้อมูลตำบล

๑. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งและความเป็นมา

องค์การบริหารส่วนตำบลตูม ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอศรีรัตนะ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นชุมชนพื้นเมืองที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีการจัดตั้งบ้านเรือนมาแต่ดั้งเดิม วัฒนธรรมแบบเผ่าส่วย,เผ่าลาว (นิยมพูดภาษาส่วย,ลาว) มีหมู่บ้านในการปกครอง 12 หมู่บ้าน

1.2 สภาพภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลตูม มีลักษณะเป็นที่ราบสูง เป็นลูกคลื่นลอนเตี้ยสลับกันไปมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 140 เมตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติตามหมู่บ้านต่างๆ ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับทำนา ทำไร่ เนื้อที่โดยเฉลี่ย 40.73 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำน้ำและหนองห้วย ซึ่งกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ได้แก่ ลำห้วยระวี ลำห้วยหมากยาง ร่องสน หนองกันจง หนองรุง หนองทีม ฯลฯ เป็นต้น สำหรับแหล่งน้ำเหล่านี้ยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ตลอดปี ส่วนใหญ่จะตื้นเขินในฤดูแล้ง

1.3 อาณาเขตของตำบลตูม มีดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศใต้ ติดกับตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันออก ติดกับตำบลสระเยาว์-ตำบลเสื่องข้าว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันตก ติดกับตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลตูมมีหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านตูม ผู้ใหญ่บ้าน นายสุทอง สิมศรี

หมู่ที่ 2 บ้านตูมพัฒนา ผู้ใหญ่บ้าน นายสิรวิชญ์ เบ้าเงิน

หมู่ที่ 3 บ้านศรีพะเนา ผู้ใหญ่บ้าน นางอรัญญา มะตูม

หมู่ที่ 4 บ้านหนองกันจง ผู้ใหญ่บ้าน นายสมนิตย์ ขุนพรม

หมู่ที่ 5 บ้านโนนสวน ผู้ใหญ่บ้าน นายสุริยัน วิลา

หมู่ที่ 6 บ้านไฮ ผู้ใหญ่บ้าน นายพิมพ์ อภัยศิลา

หมู่ที่ 7 บ้านโนนสะอาด ผู้ใหญ่บ้าน นางทองใส จันทา

หมู่ที่ 8 บ้านบก ผู้ใหญ่บ้าน นายสมเกียรติ ลีลาศ

หมู่ที่ 9 บ้านตูมกระแซงราษฎร์ ผู้ใหญ่บ้าน นางชรินรัตน์ ลาวเมือง

หมู่ที่ 10 บ้านสามสิบเอ็ดพัฒนา ผู้ใหญ่บ้าน นายทองใสย์ เดชแพง

หมู่ที่ 11 บ้านศรีพะเนาใต้ ผู้ใหญ่บ้าน นายจำเนียน ส่วงเมา

หมู่ที่ 12 บ้านศรีพะเนาตะวันออก ผู้ใหญ่บ้าน นายสุวิทย์ เรื่อเรือง (กำนัน)

2.2 การเมืองท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูม แบ่งการปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตูม จำนวน 24 คน คณะผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 4 คน ทำหน้าที่บริหารระบบสภาท้องถิ่นบทบาทอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาฯนั้นยังขาดความรู้ความสามารถโดยเฉพาะความรู้ในข้อกฎหมายพื้นฐานเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เช่น พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า

ด้วยการประชุม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง การจัดทำงบประมาณ การเสนอโครงการต่างๆ ธรรมเนียมปฏิบัติในสถานที่ประชุม ตลอดจนความรู้ในการปฏิบัติตนในฐานะตัวแทนของชุมชน