แหล่งเรียนรู้

การเลี้ยงหนูพุก

ความรู้

  • ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์หนูพุก การดูเพศ
  • วิธีการเลี้ยงและการขยายพันธุ์
  • การดูแลรักษา/อาหาร
  • การขาย/การแปรรูป

คุณธรรม

  • ความเสียสละ มุ่งมั่น
  • ความขยัน อดทน ตรงเวลา
  • ความรับผิดชอบ

หนูพุก หรือหนูแผง มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าหนูนา หรือหนูพุกเล็ก อาหารที่เราใช้เลี้ยงหนูคือข้าวโพดเม็ด หญ้าหรือพืชผักทั่วไปที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่น มีการให้อาหารหมูเล็กเสริม ใช้เวลาในการเลี้ยงสามเดือนหนูนาก็จะโตเต็มวัย สามารถผสมพันธุ์และจับขายได้ ตอนนี้เรามีหนูที่เลี้ยงทั้งหมด 60 ตัว มีเลี้ยงทั้งหมด 6 บ่อ และเลี้ยงในวงท่ออีก 6 บ่อเราจะปล่อยหนูตัวผู้และตัวเมียรวมกัน ในแต่ละบ่อคือ ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 4 ตัว เพื่อให้มีการผสมพันธุ์กันเองเมื่อตัวเมียตัวใดออกลูกก่อนเราจะจับตัวผู้และตัวเมียที่เหลือออ เราจะให้แม่หนูกับลูกหนูอยู่ด้วยกัน เราเลี้ยงหนูมาได้เป็นเวลา 4 เดือน ออกลูกแล้ว 2 ตัว

ในการเลี้ยงหนูนาต้องอาศัยความอดทน ความขยัน ความรับผิดชอบ และรักษาความสะอาด เราเลี้ยงเลยจำนวน 60 ตัวก็มีความเหมาะสมกับพื้นที่ในการเลี้ยงและอาหารที่เราจะหาได้ในท้องถิ่น ไม่ทำให้เราลำบากในการดูแล เราเลี้ยงหนูพุกเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอาชีพ ในการขายพ่อแม่พันธุ์ และขายเนื้อ พวกเราต้องมีการวางแผน และแบ่งหน้าที่กันดูแล และให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อหนูพุกโตเต็มที่เราจะได้หนูพุกที่พร้อมเป็นพ่อแม่พันธุ์ สามารถนำไปขาย ทำให้เรามีเงินมาใช้หมุนเวียนในกิจกรรม เราได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การดูแลและรักษาความสะอาดของโรงเลี้ยงทำให้ปลอดภัยและลดการเกิดโรค ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหนูพุกที่เราเลี้ยงนำมาทำอาหารบริโภคได้ เป็นอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นที่มีมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีการบริโภคอย่างแพร่หลาย มีการแปรรูปหนูนาหลายอย่าง

คู่มือแหล่งเรียนรู้

คู่มือแหล่งเรียนรู้หนูพุก

เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงหนูพุก

  • ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์หนูพุก การดูเพศ
  • วิธีการเลี้ยงและการขยายพันธุ์
  • การดูแลรักษา/อาหาร
  • การขาย/การแปรรูป


ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงหนูพุก สายพันธุ์ วิธีการดูแล การให้อาหาร การขายพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเป็นรายได้จากการขายผลผลิต
  • ฝึกการทำงานร่วมกัน การสอดแทรกคุณธรรมความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นในการทำงาน การมีน้ำใจช่วยเหลือกัน
  • การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน และมีอาชีพในท้องถิ่น
  • บริเวณโดยรอบสะอาดปลอดภัย ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้

ภาพกิจกรรม/ผลิตภัณฑ์