ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันใช้แก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่คิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้สั่งสม สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ที่มา : สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ถือว่าเป็นภูมิปัญญาแบบชุมชนเมืองกึ่งชนบท ที่อาศัยการแลกเลี่ยนความรู้ระหว่างซึ่งกันและกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมนั่นเอง จึงทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในตำบลมหาสวัสดิ์เปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่สามารถปรับการเรียนรู้ให้สามารถดำเนินชีวิติกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมกึ่งชนบทให้ได้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อาจจะกล่าวได้ว่าถูกลบเลือนของคนรุ่นลูกรุ่นหลานที่นิยมสังคมสมัยใหม่ แต่ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงเป็นที่เรียนรู้ของคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพราะการยึดมั่นความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชน ความรู้ในการปลูกและให้ความรู้การเพาะปลูกไม้ดอก (ชวนชม) ของ นายบรรจง สิทธิน้อย ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ ที่เป็นความรู้ดั้งเดิมที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ในศูนย์การเรียนรู้การเพาะปลูกไม้ดอก (ชวนชม) และการปลูกเมลอน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ด้านการทำปฏิมากรรมปูนกระดาษรีไซร์เคิล โดยมี นายสุเทพ อนุพันธ์ เป็นผู้ให้ความรู้ ตั้งอยู่ที่ 7 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นยุคใหม่ในการสร้างนวัตกรมที่สามารถลดขยะที่เกิดจากกระดาษได้ โดยการนำขยะที่เป็นกระดาษมารีไซร์เคิลเป็นของใช้ อาทิเช่น สิ่งของประดับสวน กระถางปลูกต้นไม้ ประดับสวนหย่อม เป็นต้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ด้านการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยมี นางสาวกรองทอง แสงแจ่ม แล นางอำภา สถิตมั่นวิวัฒน์ เป็นผู้ให้ความรู้ ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นรุ่นใหม่ที่สามารถนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างได้ชัด จากการที่ได้รับความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ ที่สนับสนุนทั้งวิทยากรและอุปกรณ์ในการฝึกทักษะในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้ประชาชนที่สนใจมาเรียนรู้แล้วนำไปประกอบอาชีพและส่งต่อความรู้แก่คนที่สนใจในชุมชน

การได้มาซึ่งความรู้ด้านการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ถือเป็นนวัตกรรมยุคใหม่ที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน แต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในตำบลมหาสวัสดิ์ ก็ยังคงเป็นการทำสวนผัก และการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นการรักษาอัตตลักษณ์ความเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท ที่คนดั้งเดิมยังคงรักษาไว้อย่างมั่นคง ส่วนคนรุ่นใหม่ที่สามารถยึดความรู้ดั้งเดิมคงมีน้อยลงไปเรื่อย ๆ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อาจสรุปได้ว่า ยังคงยึดมั่นความรู้ของคนดั้งเดิม คือ การเพาะปลูกไม้ดอก (ชวนชม) และการปลูกเมลอน แต่ก็ยอมรับความรู้ใหม่ที่สามารถพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญได้อย่างยั่งยืน คือ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สามารถเป็นอาชีพของประชาชนในชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์ได้อย่างลงตัวกับการเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท โดยการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นยุคใหม่

ผู้เขียน นายทวีศักดิ์ นิลกิจ ครู กศน.ตำบลมหาสวัสดิ์