นมัสการวัดอินทาราม(วัดทด)



งานประจำปีวัดอินทาราม ชาวตำบลหนองตีนนกและตำบลใกล้เคียงได้มีการสืบสานประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ชาวบ้านในพื้นที่พาครอบครัวและบุตรหลาน กราบนมัสการและปิดทองหลวงพุทธโสธร พระหยก สักการะพระธาตุ ล้วงไห และมีร้านค้า สินค้าต่างๆอีกมากมาย

วัดอินทาราม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมมีชาวบ้านสองตายาย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตีนนก ตายายคู่นี้ไม่มีบุตรและธิดา พอถึงหน้าแล้งได้เก็บเกี่ยวพืชธัญญาหารเสร็จแล้ว ก็มีพระธุดงค์มาโปรดและปักกดเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านแถบนี้ไม่มีวัดที่ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ประชุมปรึกษากันและโยนสองตายายมาประชุมด้วย แกจึงยกที่ของแกที่เป็นป่าจาก จำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน แล้วปลูกกุฏิเล็กๆหลังหนึ่งให้แก่ท่านพระธุดงค์ แล้วโยมทั้งสองตายายจึงได้อาราธนานิมนต์ให้อยู่ประจำ พระธุดงค์ท่านก็ไม่ขัดศรัทธา จึงจำพรรษา ได้ทราบว่าพระธุดงค์องค์นี้ชื่อเพชร ประกอบ ชาวบ้านแถบนี้ มีทั้งที่อยู่เดิม และอพยพมาตั้งปักหลักอาศัย ส่วนใหญ่จำเป็นชาวจีนมีทั้งพ่อค้า กรรมกร ชาวนา จึงอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาพระธุดงค์ก็ไม่ไปไหน ได้จำพรรษาอยู่ที่โยมได้ปลูกที่อยู่ให้ นานเข้าชาวบ้านจึงช่วยกันถางป่าจากจนเป็นที่โล่ง และที่ตรงนี้เป็นที่ลุ่ม หน้าน้ำจะมีน้ำท่วมและน้ำเค็ม เข้ามาถึงคล้ายกับน้ำขึ้นน้ำลง ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดดินทำทดกั้นน้ำเค็มไม่ขึ้นไปมากนัก และช่วยกันขยายกุฏิปลูกศาลาทำบุญปลูกกุฏิเพิ่มอีกหลายหลัง และตั้งชื่อว่าวัดทดเพราะมีทดติดอยู่ วัดได้พัฒนาไปไม่เร็วนักตามมีตามได้ สุดแท้แต่เศรษฐกิจปีไหนน่าก็สร้างวัดเพราะวัดอยู่ในที่ลุ่มจึงต้องทำสะพานเดินรอบวัด จนถึง พ.ศ. 2408 ชาวบ้านและผู้นำชุมชนได้ตั้งขอทางราชการให้ถูกต้อง ทางการได้อนุมัติตั้งวัดและตั้งชื่อใหม่ว่าวัดอินทาราม ความหมายคือ การพัฒนา มีเจ้าอาวาส มีก็คนไม่มีหลักฐาน ให้ถึง พ.ศ.2439 ได้ผูกพัทธสีมาอุโอสถหลังแรกเป็นอุโบสถไม้มีปูนผสมบ้างสันนิษฐานว่า อาจเป็นหลวงพ่อมา เพราะเจ้าอาวาสสมัยนั้น ไม่มีความรู้เป็นพระบวช และมีอายุพรรษามากก็เป็นเจ้าอาวาสได้ วัดได้พัฒนาเรื่อยมา เพราะวัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือด้วย เพราะสมัยก่อนการเรียนหนังสือเขาใช้ศาลาวัดเป็นที่เรียน ต่อมามีคนมาเรียนมาก สถานที่ไม่พอ ทางวัด คือหลวงพ่อมาและคณะกรรมการได้จัดสร้างอาคารเรียน ชั้น 1 หลังประมาณ พ.ศ.2488 มีการแบ่งชั้น 1,2,3,4 พอมาถึง พ.ศ.2498 หลวงพ่อและทางวัดสร้างอุโบสถหลังใหม่ และพ.ศ.2499 ศาลาการเปรียญขึ้นใหม่เพื่อให้พอแก่โยมที่มีบำเพ็ญกุศล พอมาถึง พ.ศ.2502 หลวงพ่อมามรณภาพ พระครูเชิด ปสาทิโก ได้เป็นเจ้าอาวาสแทนท่านก็ได้พัฒนามีการขอที่ทำถนนเข้าวัดยาวประมาณ 2 กิโลเมตรกับ 4 เส้น พระครูเชิด ปสาทิโก ได้พัฒนามาถึงปี พ.ศ.2508 พระครูเชิด ได้จัดสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นเป็นคอนกรีดเสริมเหล็กให้ดี เพื่อการศึกษาของเยาวชนและได้สร้างเมรุ พอมาถึงปี พ.ศ.2515 พระครูเชิด ปสาทิโก ก็ได้มรณภาพลง พระครูอนุทัย คณานุกุล เจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดดอนสีนนท์ มารักษาการแทนอยู่ 2 ปี ได้แต่งตั้งพระอธิการวุน จนฺทสาโร มาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2517 พระอธิการวุ่น ได้พัฒนาวัดต่อ สร้างกุฏิเจ้าอาวาส ศาลาและสาธารณูปการ ไฟฟ้า และปรับปรุงสถานที่วัดให้ดีขึ้นจนมา


ข้อมูลเนื้อหา/ภาพประกอบ Anan Nawakitbumrung ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม

เรียบเรียง นางสาวสุริษา กิ่งวงค์ษา

ข้อมูล TKP อ้างอิงhttps://shorturl.asia/qX3NH