วัดอินทาราม (วัดทด)

วัดอินทาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมมีชาวบ้านสองตายาย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตีนนก ตายายคู่นี้ไม่มีบุตรและธิดา พอถึงหน้าแล้งได้เก็บเกี่ยวพืชธัญญาหารเสร็จแล้วก็มีพระธุดงค์มาโปรดและปักกดเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านแถบนี้ไม่มีวัดที่ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ประชุมปรึกษากันและโยนสองตายายมาประชุมด้วย แกจึงยกที่ของแกที่เป็นป่าจาก จำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน แล้วปลูกกุฏิเล็กๆหลังหนึ่งให้แก่ท่านพระธุดงค์ แล้วโยมทั้งสองตายายจึงได้อาราธนานิมนต์ให้อยู่ประจำ ต่อมาชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดกันมาจนถึงในปัจจุบัน

ประวัติวัดอินทาราม

วัดอินทาราม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมมีชาวบ้านสองตายาย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตีนนก ตายายคู่นี้ไม่มีบุตรและธิดา พอถึงหน้าแล้งได้เก็บเกี่ยวพืชธัญญาหารเสร็จแล้ว ก็มีพระธุดงค์มาโปรดและปักกดเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านแถบนี้ไม่มีวัดที่ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ประชุมปรึกษากันและโยนสองตายายมาประชุมด้วย แกจึงยกที่ของแกที่เป็นป่าจาก จำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน แล้วปลูกกุฏิเล็กๆหลังหนึ่งให้แก่ท่านพระธุดงค์ แล้วโยมทั้งสองตายายจึงได้อาราธนานิมนต์ให้อยู่ประจำ พระธุดงค์ท่านก็ไม่ขัดศรัทธา จึงจำพรรษา ได้ทราบว่าพระธุดงค์องค์นี้ชื่อเพชร ประกอบ ชาวบ้านแถบนี้ มีทั้งที่อยู่เดิม และอพยพมาตั้งปักหลักอาศัย ส่วนใหญ่จำเป็นชาวจีนมีทั้งพ่อค้า กรรมกร ชาวนา จึงอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาพระธุดงค์ก็ไม่ไปไหน ได้จำพรรษาอยู่ที่โยมได้ปลูกที่อยู่ให้ นานเข้าชาวบ้านจึงช่วยกันถางป่าจากจนเป็นที่โล่ง และที่ตรงนี้เป็นที่ลุ่ม หน้าน้ำจะมีน้ำท่วมและน้ำเค็ม เข้ามาถึงคล้ายกับน้ำขึ้นน้ำลง ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดดินทำทดกั้นน้ำเค็มไม่ขึ้นไปมากนัก และช่วยกันขยายกุฏิปลูกศาลาทำบุญปลูกกุฏิเพิ่มอีกหลายหลัง และตั้งชื่อว่าวัดทดเพราะมีทดติดอยู่ วัดได้พัฒนาไปไม่เร็วนักตามมีตามได้ สุดแท้แต่เศรษฐกิจปีไหนน่าก็สร้างวัดเพราะวัดอยู่ในที่ลุ่มจึงต้องทำสะพานเดินรอบวัด จนถึง พ.ศ. 2408 ชาวบ้านและผู้นำชุมชนได้ตั้งขอทางราชการให้ถูกต้อง ทางการได้อนุมัติตั้งวัดและตั้งชื่อใหม่ว่าวัดอินทาราม ความหมายคือ การพัฒนา มีเจ้าอาวาส มีก็คนไม่มีหลักฐาน ให้ถึง พ.ศ.2439 ได้ผูกพัทธสีมาอุโอสถหลังแรกเป็นอุโบสถไม้มีปูนผสมบ้างสันนิษฐานว่า อาจเป็นหลวงพ่อมา เพราะเจ้าอาวาสสมัยนั้น ไม่มีความรู้เป็นพระบวช และมีอายุพรรษามากก็เป็นเจ้าอาวาสได้ วัดได้พัฒนาเรื่อยมา เพราะวัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือด้วย เพราะสมัยก่อนการเรียนหนังสือเขาใช้ศาลาวัดเป็นที่เรียน ต่อมามีคนมาเรียนมาก สถานที่ไม่พอ ทางวัด คือหลวงพ่อมาและคณะกรรมการได้จัดสร้างอาคารเรียน ชั้น 1 หลังประมาณ พ.ศ.2488 มีการแบ่งชั้น 1,2,3,4 พอมาถึง พ.ศ.2498 หลวงพ่อและทางวัดสร้างอุโบสถหลังใหม่ และพ.ศ.2499 ศาลาการเปรียญขึ้นใหม่เพื่อให้พอแก่โยมที่มีบำเพ็ญกุศล พอมาถึง พ.ศ.2502 หลวงพ่อมามรณภาพ พระครูเชิด ปสาทิโก ได้เป็นเจ้าอาวาสแทนท่านก็ได้พัฒนามีการขอที่ทำถนนเข้าวัดยาวประมาณ 2 กิโลเมตรกับ 4 เส้น พระครูเชิด ปสาทิโก ได้พัฒนามาถึงปี พ.ศ.2508 พระครูเชิด ได้จัดสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นเป็นคอนกรีดเสริมเหล็กให้ดี เพื่อการศึกษาของเยาวชนและได้สร้างเมรุ พอมาถึงปี พ.ศ.2515 พระครูเชิด ปสาทิโก ก็ได้มรณภาพลง พระครูอนุทัย คณานุกุล เจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดดอนสีนนท์ มารักษาการแทนอยู่ 2 ปี ได้แต่งตั้งพระอธิการวุน จนฺทสาโร มาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2517 พระอธิการวุ่น ได้พัฒนาวัดต่อ สร้างกุฏิเจ้าอาวาส ศาลาและสาธารณูปการ ไฟฟ้า และปรับปรุงสถานที่วัดให้ดีขึ้นจนมา

ปี พ.ศ.2524 เดือนกุมภาพันธ์ พระอธิการวุ่น จนฺทสาโร ได้ลาสิกขาออกไป ทางเจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์จึงได้ แต่งตั้ง พระสำเริง ปริชาโน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส อายุตอนนั้นประมาณ 32 ปี พรรษา 11 ได้จัดการบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาก เช่นสร้าง ศาลา และปรับปรุงสถานที่ให้สะดวกสบายแก่พุทธศาสนิกชนที่มาบำเพ็ญกุศล พ.ศ.2528 ได้รับสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาพ.ศ.๒๕๓๙ ได้เลื่อนขั้นเป็นพระครูสัญญาบัติ ชั้นโท ต่อมาปี พ.ศ.2536 ได้จัดสร้างอุโบสถจัตรมุขหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม ต่อมาปีพ.ศ.2543 ได้ซื้อที่ดินขยายออกอีก 5 ไร่ 2 งาน นายเพลิน อุชุวัฒ ถวายอีก 2 งาน ที่มีอยู่ก่อนโยมถวาย 8 ไร่ 2 งาน เหลือ 6 ไร่ ที่นายชวน นางอ่อง 1 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวาที่มีผู้ถวายไว้ก่อน 2 งาน 43 ตารางวาอีก 1 ไร่ 43 ตารางวา ประมาณ พ.ศ.2548 จัดสร้างวิหารและหอระฆังและซื้อที่ดินขยายเขตวัดอีก 7 ไร่ 2 งาน 21 ตารางวา และได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม เป็นแบบอาคาร 3 ชั้นคอนกรีดเสริมเหล็กในเนื้อที่ที่ซื้อขยายออก ในปีพ.ศ.2555 รวมพื้นที่วัด 22 ไร่ 1 งาน และปีพ.ศ.2547 ได้รับเลื่อนเป็นเจ้าอาวาส ชั้นเอก พ.ศ.2554 เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์ จัดสร้างโรงเรียนแทนโรงเรียนหลังเก่า และพ.ศ.2557 เป็นตำบลชั้นเอก ปีพ.ศ.2556 สร้างเขื่อนและสร้างเมรุ จนถึงปัจจุน บวชมา 49 พรรษา เป็นเจ้าอาวาส 37 ปี ความรู้ทางสามัญ จบป.4 โรงเรียนวัดอินทาราม จบ นธ.เอก สำนักเรียนวัดอินทาราม จบปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดอินทาราม

แผนที่การเดินทาง Google Map

ข้อมูลเนื้อหา/ภาพประกอบ นางสาวสุริษา กิ่งวงค์ษา

เรียบเรียง นางสาวสุริษา กิ่งวงค์ษา

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/hFRlT