การทำพาสาดผึ้งและช่างสิบหมู่การแทงหยวกกล้วย

เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนอีสาน

ความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ความรู้เหล่านี้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันข้าวของของตนให้แก่ผู้อื่น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนเป็นคนดี สอนให้คนเคารพธรรมชาติ รู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคนที่ล่วงลับไปแล้วภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตระกร้าและเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน ด้วย คือ

การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้

การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย

การประยุกต์ คือ การปรับ หรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้คนร่วมมือกันอนุรักษ์ป่า

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นที่รู้จักในเรื่องของ “ ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชนชาติที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรือง เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่นคงในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของ

ชาวอีสานฮีตสิบสอง มาจากสองคำ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ที่หมายถึงธรรม จารีตประเพณี หรือความประพฤติที่ดี และสิบสอง มาจากคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่าฮีตสิบสองจึงหมายถึง ประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแตละปี โดยฮีต (จารีต) แต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนจนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไร นักปราชญ์โบราณได้วางฮีตสิบสองของชาวอีสานไว้ดังนี้

เดือนอ้ายหรือเดือน 1 - บุญเข้ากรรม เดือนยี่หรือเดือน 2 - บุญคูณลาน เดือนสาม - บุญข้าวจี่ เดือนสี่ - บุญพระเวส เดือนห้า - บุญสงกรานต์ เดือนหก - บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด - บุญซำฮะเดือนแปด - บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ - บุญข้างสาก เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

ส่วนคำว่าสิบสี่ นั้นหมายถึง ข้อวัตรหรือข้อปฏิบัติ 14 ประการที่จะต้องปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง ซึ่งที่ประชาชนทุกระดับนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติได้ 14 ข้อ คลองสิสี่อาจสรุปได้ 2 ส่วน คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพระมหากษัตริย์และผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ และสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนอยู่กันด้วยความสงบเรียบร้อย โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นั้นส่วนใหญ่จะยึดตามข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ

ผู้ให้ข้อมูล นายอุบล สีกะมุท บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้สืบทอดการทำพาสาดพึ่ง นายชลสิทธิ์ พาติกบุตร หลานชาย