ข้อควรระวังในการใช้ภาพจากอินเทอร์เน็ต

สิ่งหนึ่งในการเขียนบทความ ไม่ว่าจะเป็นบทความประเภทใดๆก็ ตาม องค์ประกอบสำคัญ นอกจากข้อความแล้ว ภาพ หรืองานกราฟิก ก็ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ส่งเสริมให้บทความ หรือสาระเรื่องราวที่ท่านเขียนนั้น มีคุณค่า การนำภาพมาใช้ในเนื้อหา บทความหากสร้างภาพเอง หรือถ่ายภาพเอง ก็ คงไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น แต่ หากท่าน นำภาพที่ มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะที่ค้นและเลือกจาก Google แล้ว ต้องระมัดระวัง ในเรื่อง ลิขสิทธิ์ หากจะพูดถึงสิทธิ์ หรือลิขสิทธิ์ของภาพ จริงๆแล้วภาพบนอินเทอร์เน็ต ถือว่า มีลิขสิทธิ์ ทั้งหมด
ลิขสิทธิ์ภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. รูปที่อนุญาตให้ใช้ฟรีหรือฟรีมีเงื่อนไข
ปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายที่เป็นแหล่งรวมรูปภาพใช้ฟรีแบบไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น
https://unsplash.com/ ที่เว็บไซต์นี้ จะเป็นแหล่งรวบรวมภาพที่ฟรี หรือค่อนข้างฟรีอยู่มากมาย แนะนำว่าหากนำภาพจากที่นี่ ไงก็ บอกที่มาและขอบคุณเขาด้วย

2. รูปที่มี(ประกาศ)ลิขสิทธิ์
เป็นรูปที่คุณต้องไปซื้อผ่านทางเอเจนซีต่าง ๆ เช่น Istockphoto Getting image Shutterstock เป็นต้น ซึ่งรูปภาพที่มีลิขสิทธิ์นี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
2.1 Loyalty free
เป็นลักษณะภาพที่ซื้อแล้ว ถือครองสิทธิ์ใช้ได้ตลอด
2.2 Right managed
เป็นลักษณะภาพที่ซื้อได้ แต่การใช้มีกำหนดช่วงเวลา เช่น รายเดือน หรือรายปี ภาพประเภทนี้หากเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ สิทธิ์จะกลับไปสู่เจ้าของเดิม

การประกาศลิขสิทธิ์ (Licensable)
การค้นห้ารูปหากพบว่า มุมล่างด้านซ้าย มีการประกาศว่า
Licensable ภาพนั้น เป็นภาพในแวดวง commercial ที่มีลิขสิทธิ์ หลีกเลี่ยงการนำมาใช้

วิธีเช็คลิขสิทธิ์รูปภาพก่อนนำมาใช้งาน
1. ที่ช่อง url ของ Browser พิมพ์
www.tineye.com จะแสดงข้อมูลดังภาพ

2.ทำการ Upload รูปภาพที่ดาวน์โหลดลงมาเพื่อตรวจสอบ หรือ
3.นำ Links ของรูปภาพวางลงที่ช่อง

4.ถ้าภาพแสดงรายการว่าไม่พบข้อมูล แสดงว่า ไม่มีลิขสิทธิ์

5.แต่ถ้าระบบแจ้งผลการค้นหาแบบภาพด้านบน แสดงว่าภาพนั้นมีลิขสิทธิ์