การสร้าง New Google Sites

Google มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา Google Sites ก็เช่นกัน มีการเพิ่มรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ Mobile Device ได้ดีขึ้น ทำให้ Google Sites มีรูปแบบการสร้าง Site อยู่ 2 แบบ สำหรับแบบเก่า ปัจจุบัน เรียกว่า แบบคลาสิก ส่วนที่เพิ่มมาใหม่ ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่ Google เรียกรูปแบบนี้ว่า Google Sites ใหม่ (New Google Sites)

ขั้นตอนที่ 1

เริ่มต้นเข้าพื้นที่สร้าง Sites จุดเริ่มต้นผู้สร้างสามารถเข้าได้ 2 ทาง

ทางที่ 1 เข้าทาง URL

ไปที่ https://sites.google.com/
สำหรับผู้ใช้ GMAIL ให้เข้าทางนี้

ทางที่ 2 เข้าทาง กลุ่ม Google Apps Core Service

ที่อยู่บริเวณมุมขวาด้านบน ใต้ช่อง URL (ใกล้ๆ Account) คลิกที่กลุ่ม Google Apps Core Service (แสดงด้วยรูป จุด 9 จุด) เลือก Icon : Sites

ใช้ได้เฉพาะ Google Workspace for Education Fundamentals

ตรงจุดนี้ จะเข้าได้ 2 ช่องทาง

(1) คลิกปุ่ม Create มีให้เลือก 2 รายการคือ in classic Sites และ in new Sites เลือก in new Sites

(2) คลิกที่ New Google Sites แสดงอยู่ใต้รายการ Google Sites แบบคลาสสิกอยู่

ขั้นตอนที่ 2

คลิกที่ New Google Sites (Google Sites ใหม่) หรือ in new Sites จะพบกับหน้าต้อนรับหน้าแรก

คลิกที่ แถบปุ่ม เริ่มต้นใช้งาน

ขั้นตอนที่ 3

คลิกที่เครื่องหมาย + ที่มุมขวา ด้านล่าง เพิ่ม เริ่มใช้งาน

หรือจะลัดขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมดด้วยการเข้าทาง https://sites.google.com/new

ซึ่งก็ จะพามายังหน้า ภาพด้านบน ทันที เช่นกัน

ขั้นตอนที่ 4

ระบบจะพามาที่หน้าแรก โดยมี ส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้

(1) ส่วนตั้งชื่อของ Sites ของท่าน

(2) สำหรับตั้ง ชื่อหน้าเนื้อหา หรือ หัวข้อเรื่องที่ท่านสร้าง

(3) สำหรับคืนค่า ย้อนกลับ หรือ เพื่อเลือกใช้ค่าเดิม

(4) สำหรับทดสอบ / Preview ตัวอย่างหน้าเว็บ

(5) สำหรับแสดง links ของหน้าที่สร้างขึ้น (คุณลักษณะใหม่ ที่เพิ่มเติม)

(6) สำหรับเพิ่มเงื่อนไข อาทิ แสดงลิงค์ เชิญคนมาเขียน หรือเพิ่มผู้ดูแล site

(7) PUBLISH เป็นส่วนกำหนดให้ SITES ที่สร้างนั้น ทำการออนไลน์เผยแพร่ได้ หรือ งด การเผยแพร่ รวมถึงการตั้งชื่อ SITES ด้วย โดยผู้สร้างต้องกำหนดชื่อลงในช่อง ที่อยู่ของเว็บ ดังภาพด้านล่าง

(สำหรับโดเมนของสถานศึกษา เมื่อทำการคลิกที่เผยแพร่ จะมีหน้าแสดงขึ้นเพื่อให้ท่านกำหนดเงื่อนไขในการแสดงผล ว่าจะให้แสดงผลเฉพาะในโดเมน หรือ สาธารณะ)

(8) จุด 3 จุด หรือ more เป็นส่วนแสดงเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ
8.1 Version history แสดงการเปลี่ยนแปลงของหน้าเว็บ,
8.2 การสำเนาหน้าของ sites (ใหม่),
8.3 Report a problem สำหรับรายงานปัญหา,
8.4 Privacy Policy แสดงรายละเอียดเงื่อนไข นโยบายของ Google ,
8.5 Team of Service เป็นส่วนแสดงรายการช่วยเหลือ แจ้งข่าวสารการพัฒนาเพิ่มเติม,
8.6 Help เป็นส่วนแสดงรายการในการให้ความช่วยเหลือของ Google Sites เป็นต้น
และสุดท้ายคือ
Take a tour สำหรับคำแนะนำการเริ่มใช้งานเบื้องต้น (แต่ดูเหมือนไม่ช่วยอะไรเท่าใดนัก)

(4.9) INSERT / แทรก : สำหรับใช้สร้างรายละเอียดของหน้า site อาทิ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ลิงค์ เป็นต้น

4.9.1 Text box : สำหรับสร้างข้อความ

4.9.2 Images : สำหรับ แทรกรูปภาพ มี 2 ช่องทางในการนำเข้า (1) โดยการ Upload (2) โดยการเลือกหรือ Select จากแหล่งอื่นๆ ซึ่งเมื่อเลือกรายการนี้ จะมีหน้าต่างให้ท่าน เลือกการนำภาพเข้าอีก 4 เส้นทาง คือ ผ่านที่อยู่URL บนเว็บ, จากการค้นหาบนเว็บ, หรือจากอัลบั้มรูปภาพของท่าน และจาก Google Drive

หมายเหตุ : แต่เดิม Upload เป็นช่องทาง 1 ใน 4 ของชุดเครื่องมือพื้นฐานของกลุ่ม Insert แต่ได้ถูกปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2561

4.9.3 Embed : ฝัง Code ลงในหน้าเว็บ

4.9.4 Drive : นำ object จาก Google Drive (ย้ายที่ใหม่)

4.9.5 Layouts : หน้าแม่แบบในการสร้างหน้าเอกสารเว็บ (ใหม่)

4.9.6 Collapsible text :

4.9.7 Table of Content :

4.9.8 Image carousel :

4.9.9 Button : สำหรับสร้างปุ่มลิ้งค์ (ใหม่) ซึ่งสามารถวางได้ทั้งลิ้งค์ภายนอกหรือเลือกจากลิ้งค์หน้าเอกสารเว็บภายใน site ได้โดยง่าย

4.9.10 Divider : ฝัง เส้นคั่นแบ่ง

4.9.11 Placeholder :

4.9.12 YouTube : นำ ลื่อวิดีทัศน์จาก YouTube

4.9.13 Calendar : วางปฎิทินงาน

4.9.14 Map : สำหรับวางแผนที่หรือพิกัด

4.9.15 Google Docs : สำหรับวางข้อมูลจากไฟล์เอกสาร

4.9.16 Google Slide : สำหรับวางข้อมูลไฟล์นำเสนอ

4.9.17 Google Sheets : สำหรับวางข้อมูลไฟล์ตารางข้อมูล

4.9.18 Google Sheets : สำหรับวางข้อมูล Forms

4.9.19 Chart : สำหรับวางแผนูมิ

(4.10) PAGES / หน้า : ส่วนเพิ่มหน้า ซึ่งหากต้องการเพิ่มหน้าให้คลิกที่ Add Page (เครื่องหมาย +) ด้านขวาล่าง ดังภาพ

(11) ธีม (Themes) เป็นชุดรูปแบบของสีและตัวอักษร ที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งให้กับ site

ขั้นตอนที่ 5

ทำการตั้งชื่อ Sites : (ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ รายละเอียดอยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 4.7) ซึ่งจะปรากฏเป็น URL ตัวอย่างเช่น

Account ทั่วไป ท่านจะได้โดเมนเนมเป็น

https://sites.google.com/view/xxxxx

Account สถานศึกษา จะได้โดเมนเป็น

https://sites.google.com/dei.ac.th/xxxxx

dei.ac.th แสดงถึงโดเมนสถานศึกษาที่ใช้อยู่

ส่วน xxxxx คือชื่อของไซต์ที่ท่านตั้ง

ชื่อที่ตั้งตรงส่วนนี้ สามารถตั้งชื่อให้แตกต่างจากการตั้งในขั้นตอนที่ 4.7 ได้ เพื่อขยายความได้ชัดเจนเพิ่มขึ้น

ขั้นตอนที่ 6

ทำการตั้งชื่อหน้า Page ซึ่ง ผู้ใช้ สามารถเพิ่มหน้าเพิ่มได้โดยอิสระ

ขั้นตอนที่ 7

ท่านสามารถเพิ่ม Logo ใสบริเวณนี้ได้ ซึ่ง Google Sites อำนวยความสะดวกในการใส่ Logo ได้ง่าย