ประเพณีการแห่ข้าวพันก้อน

ประเพณีการแห่ข้าวพันก้อน และเทศมหาชาติ ของชาวตำบลหนองปล้อง

ประเพณีแห่ข้าวพันก้อนของบ้านหนองปล้อง ตําบลหนองปล้อง อําเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตรสันนิษฐานว่า ชาวลาวเวียงที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบนี้ได้นําขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่เรียกว่า“บุญพระเหวด” เข้ามาในท้องถิ่นแล้วสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีบุญผะเหวด สะท้อน ให้เห็นถึงความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่าง เคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้

การจัดงานบุญผะเหวดนั้นอยู่ที่การเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มี จํานวนทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าถ้าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียวและจัดเตรียม เครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถาหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทําให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา จึงทําให้ทุกคนในหมู่บ้านใหความสำคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยจะ มาทําพิธีร่วมกันอีกประการหนึ่งคือเพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บําเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของ พระองค์ก่อนจะเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลังประเพณีการแห่ข้าวพันก้อนชาวอีสานจะจัดในงานบุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ ซึ่งเป็น งานมหากุศล ให้รําลึกถึงการบําเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือประโยชน์ สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติเป็นสําคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจรวมกระทำบําเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลัง ที่ควรเห็นคุณค่า และอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไปนอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดน ไกลสมกับคํากล่าวที่ว่า "กินข้าวปั้นเอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ" ประเพณีแห่ข้าวพันก้อนของบ้านหนองปล้อง ตําบลหนองปล้อง จะจดขึ้นช่วงวันขึ้น ๘ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ หรือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ซึ่งช่วงนี้น้ำเริ่มลดลงข้าวปลา อาหารกําลังอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทําบญุทําทานเล่นสนุกสนานรื่นเริง โดยจัดประเพณีแห่ ข้าวพันก้อน ขึ้นในวันเทศน์มหาชาติ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นประเพณีทําบุญ ที่เกิดความมงคลแก่ผู้ร่วมงาน มีความสําเร็จ ในการประกอบอาชีพ วัตถุประสงค์ของการแห่ข้าวพันก้อน๑. เพื่อเป็นการบูชาธรรม ถือว่าเป็นการบูชาอันสําคัญยิ่ง ๒. เพื่อระลึกถึงพระคุณณของพระพุทธศาสนา ๓. เกิดความเป็นมงคลสําหรับผู้มาร่วมงานที่จะบันดาลใหพบความสุข ความสําเร็จ และ ประกอบอาชีพเจริญรุ่งเรือง ๔. เพื่อเป็นการพบปะกันของชาวบ้านในงานบุญของหมู่บ้าน ๕. เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีของคนระหว่างหมู่บ้านและละแวกเดียวกัน

ประเพณีแห่ข้าวพันก้อนนี้เป็นประเพณีทําบุญอย่างหนึ่งที่ผู้มาร่วมงานเชื่อว่า ในรอบ ๑ ปี จะต้องทําข้าวปลาอาหารมาบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ได้ฟังเทศน์ซึ่งมีจํานวนคาถา ๑,๐๐๐ คาถา พร้อมทั้ง นําข้าวมาร่วมบูชาแล้วส่วนหนึ่งก็จะถูกนํากลับไปเก็บไว้บูชาที่บ้าน และทางวัดก็จะนําข้าวอีกส่วนหนึ่งมาทําขนม เพื่อให้ผู้มาร่วมงานรับประทาน ซึ่งเชื่อว่าการทําบุญนี้ จะส่งผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบ อาชีพ มีโชคลาภ และอธิษฐานขอพรในชาติหน้าด้วยการสืบทอดประเพณีการสืบทอดประเพณีแห่ข้าวพันก้อน นี้ได้ปฏิบัติสืบต่อมาจน ถึงปัจจุบัน โดยผู้เข้าร่วมพิธีส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทําบุญจัดเตรียมเครื่องงสักการะจัด งาน บุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุตมาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัย อันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทําบุญมหาชาติจึงมีการแห่พระอุปคุต ชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องจะมาช่วยกันจัดสถานที่ที่วัดเพื่อจัดการเทศน์มหาชาติ โดยจําลองสถานที่ให้เหมือนป่า ประดับประดาด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และเครื่องบูชาธรรม อย่างละประมาณ ๑,๐๐๐ ได้แก่ ดอกบัวเผื่อน บัวแดง บัวหลวง ธูป เทียน นก ปลา ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือเท่านิ้วก้อยก็ได้ โดยให้มีจํานวน ๑,๐๐๐ ก้อน

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเหมือนฝัน มีสวัสดิ์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวเหมือนฝัน มีสวัสดิ์