วัดคานรูดบูรพารามตำบลเกวียนหักอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี แต่เดิมชุมชนแถวนี้เรียกว่าบ้านคานรูด แล้วก็เรียกเพี้ยนกันจนเป็นบ้านคานรูดซึ่งที่นี่เป็นชุมชนเก่าแก่โบราณและเมื่อครั้งพระเจ้าตากเสด็จมารวบรวมไพร่พลเพื่อที่จะยกทัพไปเมืองตราดนั้นพระองค์ท่านใช้เส้นทางนี้เป็นการเดินทาง ต่อมาชุมชนบ้านคานรุดก็มีความแข็งแรงมากขึ้นทำให้ชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อที่จะสร้างที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คนไทยก็สร้างวัด คนจีนก็สร้างศาลเจ้า จึงทำให้เกิดวัดคานรูดขึ้นมา เมื่อปีพุทธศักราช 2418 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ปีพุทธศักราช 2514 ภายในวัดยังมีอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างทับหลังเก่า ซึ่งเป็นหลังเล็กๆ แล้วก็สร้างใหม่ ก็เลยสร้างใหญ่เท่ากับ ซุ้มเสมา ทำให้ใบเสมาอยู่ภายในกำแพงของอุโบสถ

ภายในอุโบสถแห่งนี้ประกอบ ไปด้วยด้านบนองค์เล็กเป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่า ส่วนรองลงมาเป็นพระประธาน อุโบสถหลังมีหลวงพ่อชนะภัยที่ชาวบ้านต่างพากันมากราบไหว้ขอพร อยู่เป็นประจำ วัดคานรูดจึงเป็นสถานที่สำคัญของหมู่บ้านคานรูด เป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวบ้าน ภายในอุโบสถก็ยังมีตู้พระธรรมเก่าสมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดงไว้อีกด้วย ความสวยงามและวิจิตรงดงามของลวดลายที่ละเอียด บ่งบอกถึงความตั้งใจและปราณีตของช่างฝีมือในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นสถานที่อีกที่หนึ่ง เหมาะสมแก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้สืบไป

วัดคานรูดในชื่อปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บ้านคานรูด หมู่ 4 ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันสิ่งของบ้างส่วนที่เก่าแก่ ยังคงสภาพเดิมแต่อาจจะมีชำรุดลงไปบ้าง


และภายในวัดยังมีศาลเจ้าเก่าแก่ ศาลเจ้าแห่งนี้เรียกว่าศาลเจ้าปึงเถ้ากง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของที่นี่ ซึ่งภายในจะมี เทพเจ้าปึงเถ้ากง เป็นเทพเจ้าของชาวจีน ศาลเจ้านี้ในสมัยก่อนเป็นศาลเจ้าไม้และต่อมาได้มีการบำรุงซ่อมแซมจนเป็นปูนในปัจจุบัน


ปัจจุปันวัดคานรูดบูรพารามเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านาน เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้มากมาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมความเชื่อต่างๆ ทางไสยศาสตร์ของชาวพุทธ ซึ่งเป็นความเชื่อของเเต่ละบุคคล


นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีวัดต่างๆ ที่เกิดจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย เช่น วัดจีน ทั้งนี้ก็จะเกิดทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ แต่ข้อเสียคือ ความขัดเเย้งของความคิดและวัฒนธรรมได้ ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทย เราควรช่วยกันทะนุบำรุงรักษาวัดให้มั่นคงอยู่คู่กับคนไทย เพื่อให้คนไทยได้มีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ทั้งในยามทุกข์และยามสุข

ข้อมูล:Threerasak T/YourTube

ภาพ/ตัดต่อ:นายคุ้มเกล้า แสงคำหมี

เรียบเรียง:นายคุ้มเกล้า แสงคำหมี