ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ครูไพบูลย์ พันธ์เมือง

ครูไพบูลย์ พันธ์เมือง ชายพิการที่ต้องพิสูจน์คุณค่าของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า กว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง วิกฤติชีวิตของ

ครูไพบูลย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนเด็ก พ่อตายส่วนเขาป่ายด้วยโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ขาสองข้างไม่เท่ากันและหลังค่อมลง ฐานะที่ยากจนทำให้ต้องดิ้นรนทุกอย่าง เพื่อให้มีโอกาสเรียนต่อ เพราะครูไพบูลย์ตระหนักแล้วว่าการศึกษาจะให้เขามีโอกาสดีๆในชีวิตได้เท่าเทียมกับคนปกติ ครูไพบูลย์ไม่สนใจคำเย้ยหยันดูแคลนของผู้อื่น มานะบากบั่นก้าวไปข้างหน้าอย่างกล้าหาญ ควรค่าการเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

ครูไพบูลย์ พันธุ์เมือง เกิดที่ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบการศึกษาปริญญาตรีศิลปศึกษา วาดเขียนเอก ได้

เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เคยเป็นครูสอนโรงเรียนประถมศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนบ้านดอนทราย อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญที่ลาออกตามโครงการเกษียณราชการก่อนกำหนด เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542

ครูไพบูลย์ พันธ์เมือง มักบำเพ็ญตนช่วยเหลือสังคมเป็นช่างเขียนลายไทยข้างโลงศพ ในจังหวัดพังงานานกว่า 16 ปี วาดภาพเหมือน เป็น

นักเขียนนิยายและเรื่องสั้น ใช้นามปากกา ผกายฟ้า ประกาศิต, พันธุ์ เมืองชุมพร, พร เมืองใต้, เทียน ส่องธรรม และชื่อจริงในผลงาน

ผลงานและรางวัลของครูไพบูลย์ พันธ์เมือง

เขียนเรื่องสั้น “เขาเริ่มต้นที่นี่” ส่งนิตยสารฟ้าเมืองไทย ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2527

พ.ศ.2530 เรื่องสั้น “หมอดู” ประกวดใน น.ส.พ.เดลินิวส์ ได้รับรางวัลชมเชย

พ.ศ.2531 เรื่องสั้น “อบายมุข” และ “บ้านเช่า” เข้ารอบการประกวดที่ฟ้าเมืองทอง

พ.ศ.2542 เรื่องสั้น “เถาวัลย์บนต้นมะม่วง” ได้ “ประดับช่อการะเกด” จาก บก. สุชาติ สวัสดิ์ศรี

พ.ศ.2543 เรื่องสั้น “ชายหลังค่อมในกระจกเงา” เข้ารอบการประกวดในหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

พ.ศ.2545 เรื่องสั้น “ฝุ่น” เข้ารอบการประกวดในหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ รอบที่ 3 เป็น 1 ใน 6 คนและ เรื่องสั้น “มองจากที่สูง” ได้รับรางวัลชมเชย เรื่องสั้นรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2545

พ.ศ.2545 - 2546 เรื่องสั้นประกวดเข้ารอบ 50 คน (ไม่ได้รับการตีพิมพ์) คือประกวดเรื่องสั้นสุภา เทวกุล และ เรื่องสั้นช่อปาริชาต อีก 2 ครั้ง

· มีเรื่องสั้นที่ผ่านการตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ ประมาณ 70 เรื่อง

ผลงานรวมเล่ม พ.ศ. 2531 นิยายเรื่อง “ไม้เท้าสีชมพู” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บางหลวง

พ.ศ.2532 นิยายเรื่อง“จิตรกรเร่” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บางหลวง

พ.ศ.2535 นิยายเรื่อง “เทพเจ้าเขาแมว” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธนบรรณและหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กเรื่อง “คิดไม่ถึง” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นอ้อ

พ.ศ.2542 รวมเรื่องสั้นเรื่อง “ลายข้างโลง” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น

พ.ศ.2543 นิยายเรื่อง “เกาะลอยหมู่บ้านประหลาด” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น

พ.ศ.2544 รวมเล่มเรื่องสั้นเรื่อง “ในวงล้อม” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น

พ.ศ.2545 ได้รับรางวัลชมเชยเรื่องสั้นการเมือง “พานแว่นฟ้า” จากรัฐสภา เรื่อง “มองจากที่สูง”

พ.ศ.2546 ได้รับรางวัลชมเชยบทกวีการเมือง “พานแว่นฟ้า” จากรัฐสภา เรื่อง “ปล่อยผีไปทีเถิด”

พ.ศ.2546 รวมเล่มเรื่องสั้นเรื่อง “ในวงล้อม” ได้รางวัลชมเชย เซเว่นอะวอร์ด

วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๕ ได้รับโล่จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปินดีเด่น จังหวัดชุมพร สาขาวรรณศิลป์ ด้านนัก

เขียนนวนิยาย สารคดี และเรื่องสั้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ , ๒๕๔๙ และ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นวิทยากรอบรมนักเรียนวิชาวรรณศิลป์ และเป็นกรรมการตัดสินการเขียนเรื่องสั้นและสตอรี่บอร์ด ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ สำนักพิมพ์ฉลองบุญจัดพิมพ์รวมเล่มนวนิยายเรื่อง “พรายสึนามิ” และรวมเรื่องสั้นเรื่อง “ม่ายแน่มานอาจจะลีก็ล่าย”(ไม่แน่มันอาจจะดีก็ได้) จัดวางจำหน่ายทั่วประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพมหานครจัดพิมพ์นวนิยายแนวการเมืองและธรรมะเรื่อง “เมืองผีดิบ” จัดจำหน่ายทั่วประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๕ ได้รับโล่จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปิน

ดีเด่น จังหวัดชุมพร สาขาวรรณศิลป์ ด้านนักเขียนนวนิยาย สารคดี และเรื่องสั้น • วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ๗ ของสภาการศึกษาด้านภาษาและวรรณกรรม ปี พ.ศ.๒๕๔๓ สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ได้จัดพิมพ์สารคดีชีวประวัติของนายไพบูลย์ พันธ์เมือง ชื่อเรื่อง "ครูไพบูลย์ เป๋ หลังค่อม ผู้ไม่ยอมจำนนต่อคำเย้ยหยัน จัดจำหน่ายทั่วประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ สำนักพิมพ์บรรณกิจได้จัดพิมพ์นวนิยายภาค ๒ ของ "เมืองผีดิบ" ชื่อ "เมืองเทวดา" จัดจำหน่ายทั่วประเทศ

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า ผู้มีปณิธานย่อมพานพบกับความสำเร็จ ความมุ่งมั่นพยายามของครูไพบูลย์ความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว แล

เชื่อมั่นของเขานั้นเป็นกระจกสะท้อนที่ดีให้กับคนรุ่นหลังที่ใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน

แหล่งที่มา มูลนิธิวิกิมีเดีย ครูไพบูลย์ พันธ์เมือง

รวบรวม ปรียากรณ์ ทองปาน

ภาพโดย ครูไพบูลย์ พันธ์เมือง