กลุ่มสมุนไพร 7 พลัง

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาเริ่มก่อตั้งจากความต้องการที่จะสืบสานภูมิปัญญาของ นายอินสวน มนตรา ซึ่งมีความรู้ด้านสมุนไพร เดิมนั้นทำกันภายในครอบครัว ต่อมาในปี 2546 นางมาลัย กันธิมา ซึ่งเป็นบุตรผู้รับสืบทอดภูมิปัญญามาจาก “พ่อ” สู่ “ลูก” ได้เล็งเห็นคุณค่าของสมุนไพรที่จะสามารถใช้ประโยชน์ต่อวิถีชีวิตและสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านได้ จึงได้รวมกลุ่มสมาชิกที่สนใจเข้ามาเรียนรู้และแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบของ “กลุ่ม” โดยรวมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มสมุนไพร 7 พลัง แหล่งเรียนรู้ กลุ่มสมุนไพร ๗ พลัง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๒๒๖ ตำบล หนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง ๑๖ ก.ม. เป็นสถานที่เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านที่หามาจากป่าใกล้บ้าน เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านหลังจากอาชีพหลัก ทางครู กศน.ตำบลหนองหลวงและครูนิเทศได้พานักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้าไปศึกษาดูงานเพื่อศึกษากระบวนการผลิตสมุนไพรและจะได้รู้จักกับตัวสมุนไพรเพื่อที่จะหาอาชีพเสริมให้นักศึกษาต่อไป

สาเหตุการเสียชีวิตที่สูงสุด 10 อันดับแรก เกิดจากโรคร้ายต่างๆ รวมถึงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวน และ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน ตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2561 ประกอบไปด้วย มะเร็ง และเนื้องอกทุก ชนิด อุบัติเหตุ โรคหลอดเลือดในสมอง และความดันเลือดสูง โรคหัวใจ ปอดอักเสบ และโรคอื่นๆ ของปอด โรคเกี่ยวกับไต โรคเกี่ยวกับ ตับ และตับอ่อน โรคภูมิคุ้มกัน บกพร่องเนื่องจากไวรัส การบาดเจ็บจากการฆ่าตัวตาย ถูกฆ่าตาย วัณโรคทุกชนิด (กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์พ.ศ. 2548)สาเหตุของโรคที่ เกิดขึ้นของโรคหลายชนิดเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยอันเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมียาปราบ ศัตรูพืช ในอาหารเช่น ผักผลไม้ที่ขายทั่วไป ซึ่งประชาชนทั่วไปบริโภคโดยขาดความระมัดระวังจึงเกิดการสะสมของ สารเคมีต่างๆในร่างกายของคนเราจึงทา ให้สถิติของโรค มะเร็ง โรคเกี่ยวกับ ระบบต่างๆของร่างกายจึงมีสถิติสูงขึ้น เรื่อยๆ จึงยากแก่การที่จะเยียวยา สมุนไพรพื้นบ้านที่ปลูกแบบธรรมชาติโดยปราศจากสารเคมี ยาปราบศัตรูพืช จึงเป็นทางออกที่จะทำให้คน ไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น พืชผัก สมุนไพรเหล่านั้นนอกจากจะนำมาประกอบเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ที่ปลอดภัยแล้ว พืชผักบางชนิดยังสามารถนา มาเป็นยาสมุนไพรบำบัดอาการ ป้องกัน และรักษาอาการของโรคใช้บำรุงผิวพรรณ ดูแล สุขภาพ ของตนเองคนในครอบครัวแล้ว ยังสามารถนา มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ท้องถิ่นเพื่อเป็นสินค้าของ ชุมชน และสร้างเศรษฐกิจของชุมชนให้มีความมั่นคงต่อไป โครงการแปรรูปสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ช่วย ส่งเสริมให้ความรู้และยกระดับการผลิตพืชสมุนไพรพื้นบ้านครบวงจรเนื่องจากพืช พืชผักเหล่านี้จะนำมาแปรรูป เป็นอาหาร เป็นยาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน บรรเทาอาการของโรคบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคกระเพาะอาหาร สารพิษตกค้างในเลือด เป็นต้น โดยเหล่านี้ประกอบไปด้วยกลุ่ม อสม. แม่บ้าน เกษตรกร กลุ่ม ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักเรียน ฯลฯ โดยกลุ่มดังกล่าวเมื่อผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการ สามารถนา ความรู้ เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้บุคคลเหล่านี้สามารถรวมตัวกัน เป็นกลุ่มผู้ผลิต สมุนไพรขนาด ย่อมเพื่อใช้ในชุมชน ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าของชุมชนได้อย่างมีความมั่นใจ โครงการนี้เมื่อขยายไปครบทั้ง 3 ตำบล ของ ตำบลหนองหลวง ยังสามารถขยายเข้าไปสู่สถานศึกษา ในท้องถิ่นต่างๆได้ย่างดีเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้ มองเห็นความสำคัญคุณค่าของพืชพรรณท้องถิ่น และสมุนไพร ที่สามารถนา มาใช้กับตนเองกับผู้อื่น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นผลิตเพื่อจา หน่ายเป็นรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ตลอดจน เพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทย จากความต้องการดังกล่าวข้างต้น

กศน.ตำบลหนองหลวง จึงได้จัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตรการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน กศน.ตำบลหนองหลวง จำนวน 30 ชั่วโมงขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และฝึกทักษะการแปรรูปสมุนไพรเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาโรคภัยต่างๆ และเกิดความหลากหลายของผลผลิต เป็นการสร้างรายได้ ให้กับกลุ่มเพิ่มขึ้น ด้านการแปรรูป การผลิต การตลาด จัดอบรมกิจกรรมทางเลือกให้กับกลุ่ม เป็นการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพของตนเองและสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้

ผู้บันทึก นายทฤษฎี ตีคำ

ณ วันที่ 15 เดือน.มกราคม.พ.ศ.2565