กศน.ตำบลย่านรี


กศน.ตำบลย่านรี : ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต


เดิมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลย่านรี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านป่ายางตะวันตก ต.ย่านรี อ.สามเงา จ.ตาก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี โดยมีพระครูพิพิธธรรมนาถ เจ้าอาวาสวัดป่ายางยางตะวันตกให้การสนับสนุนด้านสถานที่และสาธารณูปโภค และได้จัดการเรียนการสอนสายสามัญให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลย่านรีเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2551 ได้มีการย้ายศูนย์การเรียนชุมชน จาก หมู่ 1 บ้านป่ายางตะวันตก มายังหมู่ 5 บ้านท่าปุยตก เนื่องจากสถานที่เดิมมีความคับแคบ ไม่มั่นคง และยากต่อการปรับปรุงต่อเติม จึงได้ปรึกษา นางสาวรสรินทร์ ดุษดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสามเงา ขอทำการย้ายศูนย์การเรียนชุมชน จากนั้นได้มีการประชุมกับผู้นำชุมชน ซึ่งได้รับความเห็นชอบและให้การสนับสนุนในการใช้พื้นที่ศูนย์สาธิตการเกษตรตำบล เป็นศูนย์การเรียนชุมชนแห่งใหม่ มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง อยู่เสมอเพื่อให้มีความเหมาะสมแก่การเรียนการสอน และได้ทำพีเปิดเป็น กศน.ตำบลย่านรี: แหล่งเรียนรู้ราคาถูก เมื่อวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 โดยมีนางรจนา ไชยนิคม ตำแหน่งครู กศน.ตำบลย่านรี เป็นครูประจำตำบลและปฏิบัติหน้าดูแลรับผิดชอบในเขตตำบลย่านรี



การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดหลักการ ดังนี้



1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

2) พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551

3) หลักปรัชญา “คิดเป็น”

วิธีเรียน กศน. เป็นวิธีเรียนที่ผู้เรียน ต้องฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชา รวมทั้งการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามสภาพความพร้อมพร้อมและความต้องการของผู้เรียนโดยมีครูเป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตร พร้อมทั้งมีการให้บริการแนะแนวหรือระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ด้วยการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำและร่วมกับผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ซึ่งวิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังที่กล่าวมาแล้วเรียกว่า “วิธีเรียน กศน.” ซึ่งสามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. ความพร้อม ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน

2. ความพร้อมในการบริหารจัดการของสถานศึกษา

3. ความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน

4. ความยากง่ายของเนื้อหารายวิชา


การจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” และยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ทั้งด้านวัย วุฒิภาวะ ความถนัด ความสนใจ วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนมีการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเอง ตามธรรมชาติ เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ และเรียนรู้อย่างมีความสุข

กศน.ตำบลย่านรี เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านอาชีพ

1. เพื่อตอบสนองต่อการดำรงชีวิตด้วยบูรณาการการเรียนรู้การทำงาน และการดำรงชีวิตของบุคคล

2. เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

3. เพื่อทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

[ชื่อผู้บรรยาย 5]

ความคิด” เกิดจาก “ความรู้” ที่หาได้จากการ “เรียนรู้”

2.หยั่งรู้ หยังคิด ผลิกชีวิตไปในทางที่ดี

3.คนไม่รู้ คือคนไม่ผิด แต่คนที่ไม่รู้จักเรียนรู้ คือคนที่พลาดโอกาสดีดี

4.อย่าให้ใครตราหน้าว่า “โง่” เพราะคน “โง่” ย่อมฉลาดกว่าเมื่อได้เรียนรู้

[ชื่อผู้บรรยาย 8]

ผู้บรรยายคือใคร โปรดเขียนประวัติเพื่อแจ้งรายละเอียดคุณสมบัติของผู้บรรยายและมุมมองที่น่าสนใจซึ่งบุคคลดังกล่าวจะนำเสนอในการประชุม