ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้าน

ชุมชมบ้านแม่ละเมาสามัคคี ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้าน เกิดจากการรวบรวมการเล่นดนตรีของผู้สูงอายุเมื่อ พ.ศ. 2550 มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ภายในหมู่บ้านบ้างคนเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านหรือเครื่องดนตรีไทยเป็น เครื่องดนตรีอาทิเช่น ซึง ขลุ่ย จะเข้ กลอง ซอ ฯลฯ เมื่อเกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้สูงอายุจึงเกิดการรวมตัวของศิลปะการแสดงดนตรีสะลอซอซึงขึ้น โดยคนรุ่นลูกรุ่นหลานเห็นถึงความสำคัญของการรวบรวมภูมิปัญญาให้คงอยู่จึงเป็นผู้ประสานงานและรวมให้ผู้สูงอายุนำมาเผยแพร่และสืบสานศิลปะการแสดงสะล้อซอซึง เมื่อหน่วยงานต่างๆเห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงดังกล่าว เช่นหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ สาธารณสุขตำบล พะวอ และโรงเรียนบ้านด่านแม่ละเมา ส่งเสริมและสนับสนุนให้เผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมในตำบลพะวอและตำบลใกล้เคียงรวมถึงต่างจังหวัดด้วยการประกวดการแข่งขันงานประเพณี วัฒนธรรมทุกปี ตรงกับวันที่รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุซึ่งเมื่อมีผู้พบเห็นจึงเกิดความชื่นชมเป็นอย่างมาก

ศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้านของตำบลพะวอ การจัดตั้งโดยผู้สูงอายุป็นชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ 1บ้านพะวอและหมู่ที่ 2 บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และโรงเรียนบ้านแม่ละเมา หมู่ที่ 2 บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมการแสดงดนตรีพื้นบ้านและมารวมตัวกันของหลายหมู่บ้านโดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุขตำบลพะวอ องค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ และผู้เป็นลูกหลานในตำบลพะวอเป็นผู้รวบรวมและถ่ายทอดให้ศิลปะการแสดง สะลอซอซึงพื้นบ้านสืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป เป็นการรักษาศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้าน ดั้งเดิมแสดงออกถึงภูมิภาควัฒนธรรมทางภาคเหนือที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้านไม่ให้สูญหายไปจากวิถีชุมชนความเป็นอยู่ของชุมชนก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนหันมาสืบสานอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมของตัวเอง

ผู้สูงอายุทุกหมู่บ้านแม่ละเมาสามัคคีที่มีความสามารถด้านศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้าน จะมีการรวมตัวกันและนัดหมายการแสดงรวมกันก่อนงานประเพณีต่างๆ จะเริ่ม เป็นการแสดงถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของภาคเหนือ ตลอดจนแสดงออกถึงความร่วมมือร่วมแรงกันของภูมิปัญญาที่มีในชุมชนหรือถิ่นฐานที่ตนเองอาศัยอยู่และแสดงออกถึงความสามัคคีในหมู่คณะเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นผู้นำและผู้ตามของคนในชุมชน และการเห็นความสำคัญของศิลปะการแสดงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้าน ที่ลูกหลานในชุมชนให้ความสำคัญและร่วมมือกันอนุรักษ์

ผู้เขียน นางสาวภคอร ชัยกิตติเถกิงเดช

ผู้ถ่ายภาพ นางสาวภคอร ชัยกิตติเถกิงเดช