วัฒนธรรมประเพณี

ก๋วยสลาก

ชุมชมบ้านแม่ละเมาสามัคคี หมู่ที่ 9 ตำบลพะวอ

อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ชุมชมบ้านแม่ละเมาสามัคคี หมู่ที่ 1 บ้านพะวอ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ชาวบ้านมักจะชอบทำบุญและมีประเพณีและวัฒนธรรมของหมู่บ้านคือ ประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตนี้เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทางภาคเหนือ ที่ แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ก๋วยสลาก”

ซึ่งจะสานจากไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก (ชะลอม) ข้างในกรุด้านข้างด้วยใบตอง สำหรับบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน ตกแต่งให้สวยงาม โดยชาวบ้านจะนำก๋วยสลากของแต่ละคนไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา ชาวชุมชมบ้านแม่ละเมาสามัคคี ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเหนือ คนลำปาง คนลำพูน คนเชียงใหม่และพม่ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สอด มักจะมีกิจกรรมและประเพณีจะจัดงานตานก๋วยสลากในช่วงที่ทำนาเสร็จแล้ว เป็นช่วงที่ได้หยุดพักผ่อนกัน พืชพันธ์ผลไม้ต่างๆ ก็ออกลูกออกผล พระสงฆ์เองก็ยังอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ประจวบกับในช่วงเวลานั้น ชาวบ้านที่ขัดสน ข้าวที่เก็บเกี่ยวเอาไว้ในยุ้งฉางก็เริ่มลดน้อยลง จึงมีการจัดงานตานก๋วยสลากจึงเป็นการฝึกตนให้รู้จักการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังเคราะห์คนยากคนจนและเป็นการแจกจ่ายอาหารให้ชาวบ้านในพื้นที่

ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แล้วนำมาจัดใส่ก๋วยสลาก (ชะลอมไม้ไผ่) ที่กรุด้วยใบตอง เมื่อใส่ของลงไปในก๋วยสลากแล้วก็จะมัดปากให้เรียบร้อย จากนั้นก็จะเหลาไม้ไผ่เป็นก้านเล็กๆสำหรับเป็นยอด ก๋วยสลาก เอาไว้สำหรับเสียบสตางค์ กล่องไม้ขีดไฟ หรือบุหรี มากน้อยตามฐานะและศรัทธา นำไปรวมกันที่หน้าวิหารที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา หลังจากนั้นก็จะนำเส้นสลากจากญาติโยมมาแจกแบ่งให้กับพระภิกษุแต่ละรูป พระภิกษูจะอ่านเรียกชื่อเจ้าของสลาก และพระภิกษุที่ได้สลากของญาติโยมคนใดก็จะให้ศีลให้พรกับเจ้าของสลาก และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ชาวชุมชมบ้านแม่ละเมาสามัคคีจากทุกหมู่บ้านต่างมารวมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลและแบ่งปันอาหารให้ผู้อื่นที่ฐานะยากจน นอกจากนี้ยังเป็นเป็นการสืบสานประเพณีทำบุญสลากภัตหรือตานก๋วยสลากให้คงอื่นสืบไปและเป็นการสอนคนรุ่นหลังให้รู้จักประวัติความเป็นมาของในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตามตำนานที่เล่าสืบๆ กันมาของปู่ย่าตายายถึงนางยักษ์ตนหนึ่งที่เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเกิดเสื่อมใสศรัทธา กลับเนื้อกลับตัว ที่เคยใจคอโหดเหี้ยมก็กลายเป็นผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่คนทั่วไป จนผู้คนพากันชื่นชมในน้ำใจของนางยักษ์ตนนั้นจนนำสิ่งของต่างๆ มาแบ่งให้เป็นจำนวนมาก นางยักษ์จึงนำข้าวของที่ได้รับมานั้นมาทำสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์ สามเณรจับสลาก โดยของที่นำมาทำสลากภัตนั้นมีทั้งของมีค่าราคาแพง และราคาไม่แพง เพื่อเป็นธรรมทานให้แก่ทุกคนในตลอดที่ยังมีชีวิตให้หมั่นรักษาศีลและทำบุญอยู่เสมอ



ผู้เขียน นางสาวภคอร ชัยกิตติเถกิงเดช

ผู้ถ่ายภาพ นางสาวภคอร ชัยกิตติเถกิงเดช