หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

การตัดสินใจ


การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม

Decision Making

Decision = การตัดสินใจ

Making = การทำ

Decision Making = การตัดสินใจ

นักวิชาการได้ให้ความหมายของการตัดสินใจดังนี้

Barnard การตัดสินใจ คือ เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว

Simon การตัดสินใจ คือ กระบวนการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ หาทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่างๆที่มีอยู่

Moody การตัดสินใจ เป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ซึ่งการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เวลาและค่าใช้จ่าย


Gibson and Ivancevich การตัดสินใจหมายถึง กระบวนการสำคัญขององค์กรณ์ ที่ผู้บริหารจะต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (Information) ซึ่งได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และในกลุ่มองค์การ

uJones การตัดสินใจขององค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะแก้ปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้


บุษกร คำคง การตัดสินใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลพื้นฐานจากเรื่องที่กำลังพิจารณา โดยการใช้ความรู้พื้นฐานและข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับ นำมาผสมผสานกับการสรุปอ้างอิง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย แสดงทิศทางนำไปสู่การตัดสินใจ


มุมมองของนักวิชาการแต่ละคน

สามารถแยกประเด็นหลักที่มองเหมือนกันคือ

1. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก

การรตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม และคิดแบบสร้างสรรค์

2. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ

• บริหารระดับสูง จำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้

• ผู้บริหารระดับกลาง จะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

• ผู้บริหารระดับต้น จะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้

3.การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน

การตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกันผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้


สรุปความหมาย การตัดสินใจ

การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือก หนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้ว ว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การ ตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือ การจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัด องค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม


รูปแบบของการตัดสินใจ

( Models of Decision Making)

-รูปแบบการตัดสินใจแบบคลาสสิก (The classical Decision-Making Model)

-รูปแบบการตัดสินใจเชิงพฤติกรรม (The Behavioral Decision-Making Model)

-รูปแบบการตัดสินใจของวรูมและเยทตัน ( Vroom-Yetton Normative Model)


รูปแบบการตัดสินใจแบบคลาสสิก

(The classical Decision-Making Model)

-นิยามปัญหา

-ขยายตัวเลือก

-ประเมินตัวเลือก

-เลือกจากตัวเลือก

-ตัดสินใจ

-ประเมินการตัดสินใจ


รูปแบบการตัดสินใจเชิงพฤติกรรม

(The Bahavioral Decision-Making Model)

-ความพึงพอใจ (Satisfying)

-เหตุผลตามบริบทและเหตุผลตามวิธีดำเนินการ (Contextual Rationality and Procedural Rationality)

-การใช้หตุผลย้อนหลัง ( Retrospective Rationality)

-การเพิ่มเหตุผล (Incrementalizing)

-รูปแบบถังขยะ (The Garbage Can Model)

-รูปแบบการตัดสินใจของวรูมและเยทตัน (Vroom-Yetton Normative Model)


ผลที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการตัดสินใจ

•ผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ที่น่าตื่นเต้นและตันสินใจภายใต้ความกดดันเนื่องจากการมีเวลาไม่มากนัก ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจึงมีผลดีกว่าการคัดสินใจตามลำพัง หรือแต่ละตัวบุคคล เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การยอมรับ การเข้าใจ การพิจารณาและความเที่ยงตรง

•ผู้บริหารโรงเรียนต้องปฏิบัติหน้าที่ที่น่าตื่นเต้นและตันสินใจภายใต้ความกดดันเนื่องจากการมีเวลาไม่มากนัก ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจึงมีผลดีกว่าการคัดสินใจตามลำพัง หรือแต่ละตัวบุคคล เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การยอมรับ การเข้าใจ การพิจารณาและความเที่ยงตรง

โดยสรุปการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ในการตัดสินใจมีดังนี้

1. คุณภาพการตัดสินใจ

2. ความคิดสร้างสรรค์จากการตัดสินใจ

3. การยอมรับการตัดสินใจ

4. ความเข้าใจในการตัดสินใจ

5. การพิจารณาการตัดสินใจ

6. ความแม่นยำในการตัดสินใจ


ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ


ทฤษฎีหมวก 6 ใบ กลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ

ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของผู้บริหารที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ การตัดสินใจ ซึ่งต้องกระทบด้วยความรอบคอบ เพราะการตัดสินใจใดๆ อาจส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบได้ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำทฤษฎีหมวก 6 ใบ ของ ดร. เอ็ดวาร์ด เดอ โบโน มาประยุกต์ใช้โดยให้มีการพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ในหลายมุมมองตามหมวก 6 ใบที่มีสีสันต่างๆ กันเพื่อแทนความคิดในมุมมองนั้นๆ

หมวกสีขาว เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่ ตัวเลขและข้อมูลต่างๆ ที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือความคิดเห็นใดๆ

หมวกสีแดง เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใดๆ

หมวกสีฟ้า เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมดหรือมุมมองในทางกว้างที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งซึ่งเปรียบเหมือนท้องฟ้า ผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก

หมวกสีเหลือง การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการคิดในเชิงบวก การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ประโยชน์ การคิดก่อที่ให้เกิดผล หรือทำในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ การคิดแบบหมวกเหลืองเกี่ยวข้องกับการประเมินค่าทางบวก

หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดที่เกี่ยวข้องกับความคิดใหม่ๆและวิธีการใหม่ๆในการมองสิ่งต่างๆดั้งนั้นหมวกสีเขียวจึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบหมวกเขียวเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำชี้ให้เราเห็นความผิดปกติ สิ่งใดไม่สอดคล้อง สิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราไม่ให้เสียเงินและพลังงาน ป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา และผิดกฎหมายหมวกดำเป็นหมวกคิดที่มีเหตุผลเสมอ


ความสำคัญ ขั้นตอนการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพ

1. ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ

2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ

3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผล ที่อาจเกิดตามมาด้วยเทคนิคการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการตัดสินใจ


เทคนิคการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการตัดสินใจ

1. การระดมสมอง

2. การใช้เกณฑ์ของกลุ่ม

3. เทคนิคเดลฟาย

4. การแสดงบทบาทของผู้ร้าย

5. การสืบค้นโดยการสนทนา


การระดมสมอง (Brain Storming)

เป็นความคิดที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาลักษณะเด่นคือ มีการแยกแยะความคิดต่างๆ

กฎเกณฑ์ในการใช้เทคนิคนี้คือ

•อย่าประเมินหรืออภิปรายตัวเลือก

•กระตุ้นให้มีการหมุนเวียนความคิด

•กระตุ้นและยอมรับความคิดให้มาก

•กระตุ้นให้ทุกคนเป็นเจ้าของความคิด

การใช้เกณฑ์ของกลุ่ม

•เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งเป็นการนำเอาบางส่วนมาจากวิธีการระดมสมอง มีกระบวนการ 6 ขั้นตอน

•การนำความคิดมาแสดงอย่างเงียบๆ

•บันทึกแนวคิดของสมาชิกทุกคน

•อภิปรายแนวความคิด

•เริ่มลงคะแนนข้อที่สำคัญ

•การอภิปรายเพิ่มเติม

•การลงคะแนนครั้งสุดท้าย

เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique)

•ผู้พัฒนาเทคนิคนี้คือ บริษัทแรนด์ ลักษณะเด่นคือ ผู้ที่ร่วมคิดหรือลงความคิดเห็นไม่ต้องมีการเผชิญหน้ากันในการอภิปรายข้อมูล เป็นการลงความเห็นโดยการตอบแบบสอบถามแล้วส่งกลับมา

ประโยชน์ที่ได้จากเทคนิคเดลฟาย

1. ขจัดปัญหาควาสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

2. เป็นการช่วยผู้เชี่ยวชาญให้สามารถจัดสรรเวลาของตนเอง

3. ใช้เวลาในการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

4. แนวคิดเชิงปริมาณที่หลากหลาย

5. สะดวกในการนำผลมาพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต

การแสดงบทบาทของผู้ร้าย (Devil' Advocacy)

เป็นเทคนิคของการปรับปรุงคุณภาพของการให้กลุ่มตัดสินใจ โดยเริ่มต้นจากการเสนอข้อขัดแย้งไปจนถึงกระบวนการตัดสินใจ วิธีนี้ช่วยให้ผู้เสนอทางเลือกหลุดพ้นจากอิทธิพลของกลุ่ม

การสืบค้นโดยการสนทนา

เป็นเทคนิคที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสถานการณ์การคิดของกลุ่ม โดยจะแยกกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะประชุมแยกกันแล้วจึงนำผลการจัดอันดับทางเลือกมาอภิปรายร่วมกัน

ประเภทของปัญหา

1. ปัญหาวิกฤต (Crisis Problem) เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น

จะส่งผลเสียต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

2. ปัญหาไม่วิกฤต(Non-Crisis Problem) เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไข

แต่ไม่เร่งด่วน มีเวลาเตรียมการตัดสินใจแก้ไขปัญหาค่อนข้างมาก

3. ปัญหาที่เป็นโอกาส(Opportunity Problem) เป็นปัญหาที่ไม่วิกฤตประเภทหนึ่ง

ปัญหาประเภทนี้จะแฝงไว้ด้วยศักยภาพและโอกาสแห่งความสำเร็จขององค์กร

สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ1. การตัดสินใจภายใต้ความที่แน่นอนเป็นการตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์การตัดสินใจล่วงหน้าอย่างแน่นอนแล้วว่า ถ้าเลือกทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลอย่างเพียงพอ และทราบถึงผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก
ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแน่นอนคือเกือบไม่มีการเสี่ยงใด ๆ เลย และจะเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด 2.การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง


การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง คือ การตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจน้อยกว่าการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน แต่พอจะคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้ตัดสินใจมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจไม่เพียงพอ
การตัดสินใจอยู่ภายใต้ความเสี่ยงคือผู้ตัดสินใจจะต้องคาดคะเนถึงโอกาสหรือความน่าจะเกิดขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ร่วมด้วย และจะพิจารณาเลือกทางเลือกที่ผลตอบแทนสูงสุดและโอกาสที่จะเกิดขึ้นของทางเลือก 3.การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน เป็นการตัดสินใจที่ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์และโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้น การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนจะมีลักษณะใหญ่ๆดังนี้คือ



1. ผู้ตัดสินใจไม่ทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือก เพราะไม่มีข้อมูลที่จะใช้ประกอบ


2. ผู้ตัดสินใจไม่ทราบถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้


3. มีสภาวะนอกบังคับ หรือตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ หรือตัวแปรที่ผู้ตัดสินใจไม่อาจคาดเดาได้ ซึ่งมิอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างยิ่ง