ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีวิไล หมู่ที่ 8 ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

เศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่9 ชี้แนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นตนเอง ครอบครัว ชุมชน เป็นรากฐานของชีวิตให้มี ความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารนั่นเองสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป ให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลาง ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังที่จะนำหลักวิชาการในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

นายสมมาตร บุญฤทธิ์ เล่าว่าเดิมเป็นคนจังหวัดนนทบุรี เรียนจบการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตพระนครเหนือกรุงเทพ ทำงานบริษัทอยู่ประมาณสิบกว่าปีมีความคิดว่าอยากเป็นเจ้าของกิจการตัวเองจึงมองหลายๆอาชีพ จนสุดท้ายมีความคิดว่าอยากเข้าสู่อาชีพของการเป็นเกษตรกร หลังจากไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณสิบกว่าวัน ได้สัมผัสชีวิตคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่คนที่ทำงานบริษัทจะมีรายได้คงที่ ระดับฐานะปานกลางแต่ถ้าคนมีอาชีพเป็นเกษตรกรก็จะมีฐานะค่อนข้างเป็นเศรษฐี ร่ำรวย จึงมีความคิดหลังจากกลับมาเมืองไทยว่าน่าจะผลันชีวิตสู่อาชีพการเกษตร ประมาณปลายปี พ.ศ. 2540 จึงลาออกจากงานกลับมามาประกอบอาชีพการเกษตรที่จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ขนาด 30 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว มีการปลูกชมพู่ ฝรั่ง และผักเพียงเท่านั้น ซึ่งมีการนำสารเคมีมาใช้เกือบทุกกระบวนการผลิต การใส่ปุ๋ยการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ แต่ประสบความล้มเหลวในการประกอบอาชีพไม่สามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างอย่างที่คาดหวังได้ ช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2548 หยุดอาชีพการเกษตรไปช่วงหนึ่ง ผลันชีวิตไปสู่อาชีพการเมือง เป็นนักการเมืองท้องถิ่นเพราะเข้าใจว่าเป็นการทำงานให้กับชุมชนสิ่งแรก คือ ต้องเสียสละและพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นดีขึ้น แต่ชีวิตไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังต้องประสบปัญหาในเรื่องการเงิน และไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานด้านนั้นไปด้วย แต่ในการดำเนินชีวิตต้องมีค่าใช้จ่ายตลอด งานที่เป็นงานประจำก็ไม่ทำเพราะว่าเรามัวแต่เป็นทุกข์อยู่ตรงนั้น เลยทำให้เราเป็นหนี้ค่อนข้างมากชีวิตจึงไปไม่รอด จึงได้หันมาน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่ความพอเพียงซึ่งเป็นทางรอดที่ค้นหาและสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างอย่างถูกต้องแล้วได้เปลี่ยนจากพื้นที่ทำการเกษตรแบบปกติเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่าถาวร

ศูนย์เรียนรู้พอเพียงบ้านศรีวิไล ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 8 ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ทำเกษตรแบบผสมผสานโดยมีการทำนา ปลูกข้าว และผลิตอาหารหลักให้พอกินในครัวเรือนใช้ อาศัยหลักวิธีการทำเกษตรแบบธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนการเกษตร ปลูกมะม่วง ลำไย ข้าวโพดและพืชหลากหลายชนิดหมุนเวียนกัน ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การเลี้ยงไส้เดือน ผลิตฮอร์โมนใช้เอง การเลี้ยงกบ และการเลี้ยงจิ้งหรีดซึ่งเป็นการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศในการประกวดผลงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงาน กพร ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เข้ามาร่วมบูรณาการในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเกษตรกร ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนการศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงจากหน่วยงานราชการเป็นประจำ หยุดเสาร์-อาทิตย์การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสิ่งสำคัญคือ การลดต้นทุนการผลิต

นอกจากจะเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้ว ยังให้ความรู้เรื่องการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่อันเป็นศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรของอำเภอไทรงามอีกด้วย

การให้ความรู้ในศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีวิไล เรียกว่าฐานเรียนรู้ เป็นการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาหลากหลาย ฐานที่ 1 เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน การวิเคราะห์ดิน หลังจากเรามีความเข้าใจสามารถในเรื่องดิน การใช้ประโยชน์ของดินได้แล้ว จะให้ความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต มีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่มีอยู่ในครัวเรือนให้ได้ผลประโยชน์ ฐานที่ 2 เรื่องปุ๋ยน้ำหมักจากไส้เดือนดิน

สามารถนำปุ๋ยน้ำหมักจากไส้เดือนดินมาผสมน้ำสำหรับปลูกผักไร้ดินที่เรียกว่า ระบบไฮโดรโปนิกส์ ผสมน้ำหมักที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือนไว้เลยทำให้ผลผลิตในการปลูกผักมีคุณภาพดีผักมีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยต่อสารพิษด้วย ฐานที่ 3 เรื่องการเพาะพันธุ์กล้วยที่ไม่เป็นเชิงการค้าแต่เป็นรายได้เสริม ฐานที่ 4 เรื่องการเพาะเลี้ยงจริ้งหรีด เพื่อมีรายได้และเป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์ที่เราเลี้ยงด้วยเช่นเรามีฐานเลี้ยงกบ ใช้จริ้งหรีดที่ไม่ได้คุณภาพที่ไม่สามารถจำหน่ายได้นำมาเป็นอาหารเลี้ยงกบ ฐานที่ 5 เรื่อง การเลี้ยงกบ ฐานที่ 6 เรื่องการลดต้นทุนการเกษตรในการผลิตสารชีวะภัณฑ์ เช่น เชื้อราที่กำจัดเชื้อราด้วยกันเองก็คือเชื้อราไตรโคโลมาหรือเชื้อราเขียว เชื้อราบิวเวอร์เรียเชื้อราขาว ใช้ในการกำจัดแมลง แบคทีเรียที่ใช้ในการกำจัดหนอน เช่น บาซิลลัส มีการฝึกอบรมให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ฐานที่ 7 เรื่องเผาถ่านเก็บน้ำส้มควันไม้ เป็นกรรมวิธีที่ต่อยอดจากผู้คนที่เข้ามาแล้วสนใจ แล้วแนะนำจุดไฟเผาถ่านควันไฟที่เคยไปสร้างมลพิษที่ไม่เกิดประโยชน์ก็สามารถดึงกลับมามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแปลงปลูกพืชไร่ พืชสวน ได้อีกด้วย การไล่แมลงการใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ฐานที่ 8 เรื่องการปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผล การผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ขาย การผลิตเอาเมล็ดพันธุ์พืชขายและเพื่อให้ความรู้ ฐานที่ 9 เรื่อง การผลิตน้ำยาอเนกประสงค์เน้นใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก ฐานที่ 10 เรื่อง การแปรรูปผลผลิตเรามีการปลูกกล้วยเยอะไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้ากล้วยหอมกล้วยไข่ผลผลิตที่ส่งตลาดไม่ทันจะนำส่วนหนึ่งมาแปรูปแล้วก็จำหน่ายกันในกลุ่มของเราเองซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจ ฐานที่ 11 เรื่อง การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการเรียนรู้การจดบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆจากการลงทุนประกอบอาชีพจากการใช้จ่ายในครัวเรือนเพื่อควบคุมรายจ่ายไม่ให้ฟุ่มเฟือยในสิ่งที่ไม่จำเป็นช่วยในการออมเพื่อให้มีฐานะมั่นคงยิ่งขึ้น

นอกจากจะเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้ว ยังให้ความรู้เรื่องการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่อันเป็นศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรของอำเภอไทรงามอีกด้วยและเป็นกลุ่มวิสาหกิจนาแปลงใหญ่มีสมาชิกอยู่อย่างน้อย 60 ราย และมีการหมุนเวียนกันอยู่ในนี้ด้วย