🏫ห้องเรียนออนไลน์

ห้องเรียนคู่ขนาน สำหรับบุคคลออทิสติก


โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม)


✏️แนวทางการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสําหรับบุคคลออทิสติกในสถานศึกษา

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบุคคลออทิสติกที่เข้าเรียน การจัดการเรียนการสอนสําหรับบุคคลออทิสติก จะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สําคัญคือการมีส่วนร่วมจากพ่อ-แม่ผู้ปกครอง แพทย์ พยาบาล ผู้นําชุมชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานทางการศึกษาระดับพื้นที่ซึ่งได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา นักวิชาชีพ ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา มีส่วนร่วมและช่วยกันพัฒนาบุคคลออทิสติก แต่จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา/ประจําจังหวัด และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

✏️การจัดการเรียนการสอน ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้สถานศึกษาดําเนินการ 

1. สถานศึกษาให้ครูผู้สอนประจําห้องเรียนคู่ขนานสําหรับบุคคลออทิสติกจัดทําแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด โดยการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในห้องเรียนคู่ขนานสําหรับบุคคลออทิสติก ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนและสหวิชาชีพอื่นๆ

2. สถานศึกษาให้ครูผู้สอนประจําห้องเรียนคู่ขนานสําหรับบุคคลออทิสติกจัดทํา แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IP) ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และนําแผนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไป ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้

3. สถานศึกษาให้ครูผู้สอนประจําห้องเรียนคู่ขนานสําหรับบุคคลออทิสติก ดําเนินการวัดและประเมินผลบุคคลออทิสติก ตามเกณฑ์ที่กําหนด และนําผลการวัดและประเมินผลของบุคคลออทิสติก แจ้งครูประจําชั้นห้องเรียนทั่วไปที่บุคคลออทิสติกมีรายชื่ออยู่ เพื่อส่งให้ฝ่ายทะเบียนการวัดและประเมิน ของสถานศึกษาได้ดําเนินการออกผลการเรียนต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

📝การเชื่อมต่อ ส่งต่อ ถ่ายโอนออทิสติก 

📚การเชื่อมต่อ

เมื่อสถานศึกษาประเมินทักษะพื้นฐานที่จําเป็นของผู้เรียนทั้ง ๕ ด้าน ประกอบด้วยด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ด้านสังคม ด้านการรับรู้และการเคลื่อนไหว และด้านการดูแลช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน โดยมุ่งเน้นสังเกต ตรวจสอบ และประเมิน พัฒนาการ และความพร้อมของผู้เรียน ตามผลการเรียนรู้ที่กําหนด เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนจัด การศึกษา เพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 

🗂️การส่งต่อ 

มื่อสถานศึกษาประเมินผลการเรียนรู้ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพ โดยการตรวจสอบ และประเมินพัฒนาการ และความพร้อม ของผู้เรียน ตามผลการเรียนรู้ที่กําหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ รวมทั้ง พิจารณา ความสามารถในการเรียนรู้ทักษะวิชาการและ ทักษะอาชีพของผู้เรียนว่ามีความสามารถใกล้เคียงกับระดับชั้นเรียนปกติ 

📋การถ่ายโอน 

เมื่อสถานศึกษาประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนรวมในชั้นเรียน ปกติหรือปฏิบัติกิจกรรมในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง โดยการตรวจสอบ และประเมินพัฒนาการและความพร้อมตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ซึ่งสถานศึกษาควรกําหนดให้มีการประเมินผลที่ยืดหยุ่น พิจารณาเทียบเคียงความรู้และประสบการณ์ ของผู้เรียนเป็นรายปี ตามเป้าหมายระยะยาว เพื่อเป็นข้อมูลที่สะท้อนผลการพัฒนาที่แสดงถึงความสามารถ และทักษะของผู้เรียนในด้านต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาสามารถพิจารณาให้ผู้เรียนที่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ให้ได้รับการเลื่อนขั้น หรือเข้ารับการศึกษาต่อ หรือได้รับพัฒนาเข้าสู่การประกอบ อาชีพ และสามารถพิจารณาเทียบความรู้ และประสบการณ์เป็นรายปี เพื่อการจบการศึกษาภาคบังคับหรือ จบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------