>> โครงการ <<

หลักการและเหตุผล

การศึกษานับว่ามีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของทุกคน ผลที่ได้รับจากการศึกษาคือมวลประสบการณ์และความรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การศึกษาจึงมีส่วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มีความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจ ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้พร้อมในการดำเนินชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ดังนั้นคนทุกคนในสังคมปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต การศึกษาทำให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นผู้มีจริยธรรมที่ดี สร้างวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนโดยมีครูเป็นผู้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนเพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข การศึกษาของไทยในอดีตครูมีหน้าที่ทั้งสอนหนังสือและสอนคนควบคู่กันไป ครูจะดูแลเอาใจใส่ลูกศิษย์อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างของสังคม ปัจจุบันครูส่วนใหญ่มุ่งเน้นสอนหนังสือมากกว่าการสอนคนทำให้การดูแลเอาใจใส่นักเรียนลดลง อันเป็นผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และสร้าง ภาระปัญหาให้กับสังคม

จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ความเจริญทางเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร สภาพสังคมที่ซับซ้อน มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและก่อให้เกิดสภาวะวิกฤติ เป็นปัญหามากมาย ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ ปัญหาอาชญากรรม ก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ของคนทั่วไปรวมทั้งเด็กๆ ซึ่งเป็นนักเรียนต้องรับผลกระทบดังกล่าวด้วย ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลถึงตัวนักเรียน

ที่สำคัญได้เกิดปัญหาด้านการเรียน นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ขาดเรียน การอ่านหนังสือ ไม่ออก การย้ายถิ่นฐาน ปัญหาด้านสุขภาพกาย การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักส่วนสูงไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน ขาดสารอาหาร สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อยๆปัญหาสุขภาพจิต สมาธิไม่นิ่ง เรียนช้า ก้าวร้าวไม่สุภาพ ปัญหาการขาดระเบียบวินัย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน ปัญหาด้านครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก สภาพครอบครัวขาดการคุ้มครอง ทำให้พบว่ามีนักเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่ อบรมเลี้ยงดู ดังนั้นจึงจำเป็นที่นักเรียนต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีเมื่ออยู่ที่บ้านและจากครูเมื่ออยู่ที่โรงเรียน พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดเมื่อนักเรียนอยู่บ้านและครูโดยเฉพาะครูที่ปรึกษา มีความสำคัญเมื่อนักเรียนมาอยู่ที่โรงเรียนเนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักเรียนและทำหน้าที่ดูแลนักเรียนขณะที่อยู่ในโรงเรียน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนแทบทุกโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะให้บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 จึงจำเป็นที่โรงเรียนซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาโดยตรงให้ความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ให้คืนสู่สภาพปกติเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของสังคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานจึงตระหนักถึงความสำคัญ ที่จะต้องมีการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้มีกระบวนการทำงานเป็นระบบชัดเจน มีการประสานงานความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน รวมทั้งมีวิธีการ กิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ที่มีคุณภาพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อันจะส่งผลให้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ ยังได้น้อมนำกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแผนการเรียนบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน โดยมีเงื่อนไข ความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา เพื่อให้การพัฒนาในทุกระดับให้เกิดความสมดุล ส่งผลให้เกิดความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน ทั้ง 4 มิติในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนวังจันทร์วิทยา จึงได้จัดทำโครงการ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขได้ตามศักยภาพและความต้องการ2.2 เพื่อพัฒนาให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเทคนิค ทักษะ กระบวนการ และความสามารถในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ

2 เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน จากการดูแลนักเรียนของครูที่ปรึกษา

3. เพื่อประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาและพัฒนานักเรียนระหว่าง บ้าน โรงเรียนและชุมชน

4. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถของนักเรียนเต็มตามศักยภาพ

5. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ และเรียนรู้อย่างมีความสุข

เป้าหมาย

1. เป้าหมายเชิงปริมาณ

1.1 คณะครู และบุคลากร ร้อยละ 95 มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1.2 นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ร้อยละ 100 ได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครูอย่างทั่วถึง

1.3 โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ร้อยละ 90

1.4 นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ทุกคนมีสัมพันธภาพที่ดีกับครูและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นไปตามที่กำหนด ร้อยละ 100

2.เป้าหมายเชิงคุณภาพ

2.1 โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ

2.2 นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ทุกคนมีสัมพันธภาพที่ดีกับครูและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นไปตามที่กำหนด

2.3 ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย มีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม


ปฏิทินการดำเนินงาน