ยินดีต้อนรับเข้าสู่ E - PORTFOLIO แฟ้มสะสมผลงาน การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครู 

นายสหรัฐ แก้วในหิน

1.ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน

1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ( 1 ตุลาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567) จำนวนวันลาในรอบการประเมิน  19 วัน

1.3 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ ( 1 ตุลาคม 2566 – 31 มีนาคม 2567)

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

2.รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 1 

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

ภาระงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

       รายวิชา วิทยาศาสตร์ 6    จำนวน  9 ชั่วโมง  10 นาที/สัปดาห์

       รายวิชา ฟิสิกส์ 2   จำนวน  5 ชั่วโมง  30 นาที/สัปดาห์

       รายวิชา ฟิสิกส์ 4     จำนวน  2 ชั่วโมง  45 นาที/สัปดาห์

  รายวิชา ดาราศาสตร์ 6       จำนวน  1  ชั่วโมง 55 นาที/สัปดาห์

  รายวิชา แนะแนว   จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

  กิจกรรมชุมนุม   จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

  กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี   จำนวน  55 นาที/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

       จำนวน 55 นาที/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

       จำนวน 3  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู 

ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้

1.1 การสร้าง หรือพัฒนาหลักสูตร 

      📒 ประชุมเพื่อปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปี 2566-2568 

1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

lv_0_20231108134313.mp4
ฟิสิกส์งาน2 (1).mp4

1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ 

👨‍💻 การสร้างสื่อการเรียนรู้

👉  สื่อการเรียนรู้ เรื่อง เฟสของดวงจันทร์  และปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก

👉 สื่อการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องวัดมุมในการวัดมุมเงย และพิกัดขอบฟ้า

1.ครูผู้สอนแนะนำการเรียนรู้ รายละเอียด การวัดประเมินในรายวิชา

2.ครูผู้สอนมีการเตรียมการสอน

3.ครูผู้สอนมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม กับการเรียนการสอน

4.ครูผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาที่สอน

5.ครูผู้สอนตรงเวลา และมีความสม่ำเสมอในการเข้าสอน

6.เนื้อหาที่สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

7.ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน 

8.ครูผู้สอนติดตามการสอน ติดตามภาระงาน อยู่สม่ำเสมอและมีช่องทางให้นักเรียนสามารถติดต่อได้ง่าย

9.ครูผู้สอนมีการนำสื่อ เทคโนโลยี ที่หลากหลายและทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

10.การวัดและประเมินผลมีความยุติธรรม นักเรียนสามารถตรวจสอบได้

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

📝 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินชิ้นงาน 

📝 การติดตามส่งงาน เช็คภาระงาน และคะแนนระหว่างเรียน

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้  

📝 การวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

📝 การการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาของนักเรียน

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน 

👨‍💻 กิจกรรมการทำเขตรับผิดชอบ

👨‍💻 กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

2.2 ดําเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

 📂 กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

📂 การประชุมผู้ปกครอง

2.3 ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา

👨‍💻 ประธานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

👨‍💻 หัวหน้างานความปลอดภัยในสถานศึกษา

👨‍💻 ครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3

👨‍💻ชมรมดาราศาสตร์ โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร

👨‍💻KMPFutsalClub

2.4 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย

👨‍💻 เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ปีการศึกษา 2566

      

    กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วันที่ 27 มกราคม 2567 มีการเลือกเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  มีการสร้างกลุ่มสำหรับการติดต่อ ระหว่างครู กับผู้ปกครอง เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสาร จากครู รับข่าวสารจากครูผู้ปกครอง เพื่อใช้แก้ไขปัญหาของนักเรียน

👨‍💻 เครือข่ายงานความปลอดภัยในสถานศึกษา : สถานีตำรวจภูธรอำเภอแก่งหางแมว

        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถานีตำรวจภูธร อำเภอแก่งหางแมว ว่าด้วยการร่วมมือด้านการขับขี่และส่งเสริม ความปลอดภัยบนท้องถนน โดยมีข้อสรุปดังนี้ ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการขับขี่ปลอดภัย ให้แก่ ครู บุคลากร และนักเรียน จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยวินัยในการขับขี่ให้กับครูและนักเรียน ร่วมกันประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม ให้ครู นักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครอง ปฏิบัติตามวินัยจราจร พัฒนาสมรรถนะของครูและนักเรียนให้ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุ

👨‍💻 เครือข่ายเครือข่ายงานความปลอดภัยในสถานศึกษา : ชมรมรถรับส่งนักเรียนอำเภอแก่งหางแมว


         ชมรมรถรับส่งนักเรียนอำเภอแก่งหางแมว ได้มีการตรวจสภาพรถรับส่งนักเรียนในชมรมทุกคัน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยมีรองผู้อำนวยการ นางสาวเกศนี สุขประสิทธิ์ และนายสหรัฐ แก้วในหิน ตัวแทนจากงานความปลอดภัยในสถานศึกษา เข้าร่วมการตรวจสภาพรถด้วย เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนในการใช้บริการรถรับส่งนักเรียนในช่วงเปิดภาคเรียน

👨‍💻 เครือข่ายการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมดาราศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ

         เข้าร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เป็นตัวแทนนำเสนอผลงานกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน กิจกรรมดาราศาสตร์ ในหัวข้อ Stargazing on Loy Krathong Day and Dark sky photography at Khao Sip Ha Chan national park  ในการประชุมกิจกรรมดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ Astronomy Day in Schools 2023 December : December Solistice 2023    จัดโดย International Astronomical Union ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566

    

        จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ร่วมกับหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จัดกิจกรรมดูดาวในวังปีที่ 2 เพื่อให้บริการประชาชนที่สนใจมาดูดาว ในวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ วังสวนบ้านแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

        กิจกรรมค่ายดาราศาสตร์ สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ปี 2567 (NAS) ระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม 2567  ณ  หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษาจังหวัดฉะเชิงเทรา  อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

          


             กิจกรรมค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน  ในรูปแบบ Online ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2567   ณ โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร จังหวัดจันทบุรี

        


        การประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาครูโรงเรียนเครือข่าย โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาดาราศาสตร์ ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2567 ณ โรงเรียน  ศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี

3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาและ  พัฒนาการจัดการเรียนรู้

📝 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาของนักเรียน

📝 การนิเทศติดตาม การนำผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไปจัดการเรียนการสอน

3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทาย 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ POLARIS MODEL ในรายวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

                  ในการจัดการเรียนรู้รายวิชา ฟิสิกส์ ที่ผ่านมานั้น ที่เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการสร้างองค์ความรู้ที่ยั่งยืน นักเรียนจะเน้น  การเรียนแบบ “ท่องจำ แล้วนำไปสอบ” ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร และทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อรายวิชา ฟิสิกส์ อีกด้วย ดังนั้นดังนั้นครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการศึกษา ค้นคว้า และหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยแก้ปัญหาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนในรายวิชา ฟิสิกส์ด้วยเจตคติที่ดี สร้างองค์ความรู้ และทักษะกระบวนการ ด้วยตนเอง นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ดีและเป็นไปตามค่าเป้าหมายของโรงเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ POLARIS MODEL(PDCA) ในรายวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

2. รายงานความสำเร็จจากวิธีการดำเนินให้บรรลุผล 

ขั้น PLAN ; P (การวางแผน)

          2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร พุทธศักราช 2561 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รายวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  

           📒 วิเคราะห์หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ฟิสิกส์ 4

          2.2 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

                📒 แผนการจัดการเรียนรู้

          2.3 ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา

          2.4 ครูผู้สอนปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ ตามข้อเสนอแนะ


ขั้น OBJECTIVE ; O (การวางเป้าหมาย)

          2.5 ครูผู้สอนสร้างเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน และมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ POLARIS MODEL


ขั้น LEADER ; L (การสร้างผู้นำและผู้ตาม)

          2.6 จัดกลุ่มในการเรียนรู้ การทำกิจกรรม การทดลองต่าง ๆ ในรายวิชา ฟิสิกส์ ให้กับนักเรียน โดยสลับให้นักเรียนเป็นหัวหน้ากลุ่ม เพื่อฝึกภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม


ขั้น ACT ; A (การลงมือทำ)

          2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเน้นกิจกรรมที่เป็น Active Learning เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สร้างองค์ความรู้และทักษะด้วยตนเอง ทักษะที่เน้นเป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 เน้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากสิ่งใกล้ตัว เริ่มจากทัศนคติเชิงบวก นำไปสู่การสร้างผลสัมฤทธิ์

ขั้น REVIEW ; R (ขั้นสะท้อนผล)

          2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลงใน Google sheet ครูจะสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ติดตามเป็นระยะ ซึ่งนักเรียนสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ ติดตามภาระงานผ่านทาง Google sheet หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะใช้กิจกรรมการสอนซ่อมเสริม เพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด

                 📒 Google Sheet สำหรับติดตามภาระงาน คะแนน และเช็คเวลาเรียน ของนักเรียน


ขั้น IMPROVE ; I (การพัฒนา)

          2.9 ครูใช้สารสนเทศในการเรียนของนักเรียนมาใช้ปรับปรุงแก้ไข สำหรับนักเรียนที่ยังมีผลสัมฤทธิ์ไม่ถึงค่าที่กำหนด ด้วยวิธีการสอนซ่อมเสริมและเพิ่มกิจกรรมให้หลากหลายขึ้น และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์นำมาส่งเสริม พัฒนาให้ไปในระดับที่สูงขึ้น

ขั้น SUSTAIN ; S (ความยั่งยืน)

          2.10 สร้างความยั่งยืนขององค์ความรู้ที่นักเรียนสร้างได้ โดยใช้กิจกรรมเพื่อนติวเพื่อน โดยมีการส่งเสริมให้นักเรียนในห้องสอนทบทวนเนื้อหาบทเรียนให้กับเพื่อนในห้องเรียน และครูมีการเสริมแรงทางบวกสำหรับกิจกรรม

📒 กิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน

📒 กิจกรรมพี่ติวน้อง

3. รายงานผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                 3.1 เชิงปริมาณ

                              นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมทธิ์ในรายวิชา ฟิสิกส์ สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน 

                 3.2 เชิงคุณภาพ

                              นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สร้างมารถสร้างองค์ความรู้และทักษะด้วยตนเอง สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับเพื่อนในห้องเรียน และสามารถนำทักษะที่ได้มาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ 

 3.รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 2

การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

3.1 งานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน

👨‍💻 ประธานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

👨‍💻 หัวหน้างานความปลอดภัยในสถานศึกษา

👨‍💻 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

👨‍💻 ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3

👨‍💻 ผู้กำกับลูกเสือ - เนตรนารี ม.1

👨‍💻 ผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

👨‍💻 ที่ปรึกษาชมรมดาราศาสตร์ โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร

👨‍💻 ผู้ฝึกสอนทีมฟุตซอล โรงเรียนแก่งหางแมวพิทยาคาร

👨‍💻 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย

3.2 งานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภายนอก

👨‍💻 คณะกรรมการตัดสินเครื่องบินพลังยาง ประเภทบินนานสามมิติ การแข่งขันศิลปะหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา 

 4.รายละเอียดประกอบการประเมินองค์ประกอบที่ 3

การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ