3.3 การขนส่งและรูปแบบการขนส่ง

3.3 การขนส่งและรูปแบบการขนส่ง

ประเภทการขนส่งสินค้า แบ่งทั้งหมด 5 ประเภท โดยการขนส่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น มีวิธีการขนส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลือกหลายวิธี ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

ประเภทของการขนส่ง สามารถจำแนกการขนส่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation)

คือ การขนส่งทางน้ำ เป็นวิธีการขนส่งเก่าแก่มีมาตั้งสมัยโบราณ โดยการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า รวมถึงการขนส่งทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำนี้เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา เป็นต้นส่วนประกอบของการขนส่งทางน้ำ

  • 1.1 ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ

  • 1.2 อุปกรณ์การขนส่ง คือ เรือ ได้แก่ เรือโดยสาร เรือสินค้าและเรือเฉพาะกิจ เช่น เรือลากจูง เรือประมง ฯลฯ

  • 1.3 ท่าเรือ

  • 1.4 เส้นทางเดินเรือ

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ

  • เส้นทางเดินเรือชายฝั่งทะเล

  • เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ ข้อดี ข้อเสียของการขนส่งทางน้ำ มีดังนี้

    • ข้อดี

      • 1. อัตราค่าขนส่งถูกกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่น

      • 2. ขนส่งได้ปริมาณมาก

      • 3. มีความปลอดภัย

      • 4. สามารถส่งได้ระยะไกล ๆ

    • ข้อเสีย

      • 1. มีความล่าช้าในการขนส่งมาก

      • 2. ในฤดูน้ำลดหรือฤดูร้อน น้ำอาจมีน้อย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง เพราะเรือเกยตื้นได้

      • 3. ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนในการขนส่งได้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ

การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation) จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • 2.1 การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) การขนส่งทางรถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนัก ๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางในระยะเวลาแน่นอนและมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า

2.1 รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้าน เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดดถูกฝน2.2 รถเปิด คือ รถไฟที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดด ถูกฝน

2.3 รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบสำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกปูนซีเมนต์ รถบรรทุกน้ำมัน เป็นต้น – เส้นทางรถไฟ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถไฟ

    • ข้อดี

      • 1. ประหยัด ขนส่งสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด

      • 2. รวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการ

      • 3. สะดวก เพราะมีตู้หลายชนิดให้เลือกเพื่อความเหมาะสมกับสินค้า

      • 4. ปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น

      • 5. ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

    • ข้อเสีย

      • 1. ไม่สามารถขนส่งสินค้าให้ถึงที่ต้องการขนถ่ายได้

      • 2. ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว

      • 3. มีความคล่องตัวน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่น เพราะมีกฏระเบียบมาก

      • 4. ไม่เหมาะสมกับผู้ส่งสินค้ารายย่อย ปริมาณน้อย

  • 2.2 การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation) การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก ถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสร้างถนน ขยายถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ซึ่งการขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุกน้สามารถแก้ปัญหาในด้านการจำหน่ายสินค้าของพ่อค้าได้เป็นอันมา เพราะการขนส่งสินค้าสะดวด รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรงส่วนประกอบของการขนส่งทางรถยนต์หรือรถบรรทุก1) ผู้ประกอบการ อาจเป็นรัฐหรือเอกชนดำเนินงานก็ได้ หรือเป็นการดำเนินงานร่วมกันก็ได้ เช่น รถยนต์รับจ้าง 2) อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ และรถบรรทุก3) ถนนหรือเส้นทางเดินรถข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถยนต์

  • ข้อดี

    • 1. บริการได้ถึงที่โดยไม่ต้องมีการขนถ่าย2. ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า

    • 3. สะดวก รวดเร็ว

    • 4. เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง

    • 5. เป็นตัวเชื่อมในการขนส่งแบบอื่นที่ไม่สามารถไปถึงจุดหมาย ได้โดยตรง

  • ข้อเสีย

    • 1. ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถไฟ

    • 2. มีความปลอดภัยต่ำ เกิดอุบัติเหตุบ่อย

    • 3. ขนส่งสินค้าได้ปริมาณและขนาดจำกัด

    • 4. กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรและดินฟ้าอากาศ

การขนส่งทางอากาศ (Air Tiansportation)

การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศเพราะทำการขนส่งได้รวดเร็วกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ ไม่เสียเวลาในการขนส่งนาน สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น หรือสินค้าต้องการสั่งจองมาด้วยความรวดเร็วแก่การใช้งาน ถ้าล่าช้าอาจเกิดความเสียหายได้ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและสินค้าราคาถูกๆ ไม่รีบร้อนในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งประเภทนี้ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่นส่วนประกอบของการขนส่งทางอากาศ

  • 3.1 ผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัทการบิน ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ

  • 3.2 อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ เครื่องบิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ- เครื่องบินโดยสาร ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร- เครื่องบินบรรทุกสินค้า ให้บริการขนส่งเฉพาะสินค้า- เครื่องบินแบบผสม ให้บริการทั้งผู้โดยสารและสินค้าภายในลำเดียวกัน

  • 3.3 เส้นทางบิน คือ เส้นทางที่กำหนดจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง มี 2 ลักษณะ คือ – เส้นทางในอากาศ- เส้นทางบนพื้นดิน3.4 สถานีในการขนส่งหรือทาอากาศยาน เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบิน ประกอบด้วย- อาคารสถานี- ทางวิ่งและทางขับ- ลานจอด

    • ข้อดี

      • 1. สะดวก รวดเร็วที่สุด

      • 2. สามารถขนส่งกระจายไปทั่วถึงได้อย่างกว้างขวางทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศ

      • 3. สามารถขนส่งไปในท้องถิ่นที่การขนส่งประเภทอื่นไปไม่ถึงหรือไปยากลำบาก

      • 4. เหมาะกับการขนส่งระยะไกลๆ

      • 5. เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่เสียง่าย จำเป็นต้องถึงปลายทางรวดเร็ว

      • 6. ขนส่งได้หลายเที่ยวในแต่ละวัน เพราะเครื่องบินขึ้นลงได้รวดเร็ว

    • ข้อเสีย

      • 1. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงกว่าประเภทอื่น

      • 2. จำกัดขนาดและน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุกจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากไม่ได้

      • 3. บริการขนส่งได้เฉพาะเมืองที่มีท่าอากาศยานเท่านั้น

      • 4. การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

      • 5. การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์สูง

      • 6. มีความเสี่ยงภัยอันตรายสูง

การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation)

เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ประเทศแรกที่ใช้ระบบการขนสงทางท่อ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทเชื้อเพลิง ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ

ส่วนประกอบของการขนส่งทางท่อ

  • 4.1 ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการที่สำคัญ ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)

  • 4.2 อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ ท่อ หรือสายท่อ แบ่งเป็น – ท่อหลัก – ท่อย่อย

  • 4.3 สถานีในการขนส่ง ได้แก่ สถานีต้นทาง สถานีปลายทาง สถานีแยก สถานีสูบดันข้อดีและข้อเสียของการขนส่งทางท่อ

    • ข้อดี

      • 1. ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้ายสินค้า

      • 2. สามารถขนส่งได้ทุกสภาพภูมิอากาศ

      • 3. สามารถขนส่งได้ไม่จำกัดเวลาและปริมาณ

      • 4. มีความปลอดภัยสูงจากการสูญหายหรือลักขโมย

      • 5. กำหนดเวลาการขนส่งได้แน่นอนชัดเจน

      • 6. ประหยัดค่าแรง เพราะใช้กำลังคนน้อย

    • ข้อเสีย

      • 1.ใช้ขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้น

      • 2. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูง

      • 3. ตรวจสอบหาจุดบกพร่องทำได้ยาก

      • 4. ท่อหลักที่ใช้ขนส่งเมื่อวางแล้วเคลื่อนย้ายเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้

      • 5. ไม่เหมาะกับการขนส่งในภูมิประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อย

การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System)

การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นการพัฒนาการขนส่งอีกขั้นหนึ่ง โดยการบรรจุสินค้าที่จะขนส่งลงในตู้หรือกล่องเหล็กขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า คอนเทนเนอร์ แล้วทำการขนส่งโดยรถบรรทุก รถไฟ หรือเครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างทำการขนส่งเที่ยวนั้น ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ต้องสร้างจากเหล็กที่ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถวางไว้กลางแจ้ง ได้โดยปกติจะสร้างให้มีลักษณะแข็งแรงมาก เพื่อให้ทนทานต่อการยกขนถ่ายสินค้าและสับเปลี่ยนบรรทุกระหว่างรถบรรทุก รถไฟหรือเรือ ในการเคลื่อนย้ายตู้นี้จะใช้ปั้นจั่น ในการขนย้าย และจากคุณสมบัติดังกล่าว ตู้คอนเทนเนอร์ จึงสามารถป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดี

ชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้สินค้าที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เป็นตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 20,25,40,45 ฟุต ทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่ได้รับการผนึกอย่างดีกันไม่ให้น้ำเข้าในตู้ได้ ใช้สำหรับบรรทุกสินค้า ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

  • 5.1 ตู้แห้งหรือตู้สินค้าทั่วไป เป็นตู้ทึบไม่มีแผ่นฉนวนอยู่ด้านใน ไม่มีเครื่องทำความเย็นติดตั้งหน้าตู้ ใช้บรรทุกสินค้าแห้งหรือสินค้าทั่วไป

  • 5.2 ตู้ควบคุมอุณหภูมิ แบ่งได้ดังนี้- ตู้ห้องเย็น จะมีเครื่องทำความเย็นในตู้ ภายในระบุฉนวนทุกด้าน เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู้ด้านใน นิยมเก็บผักสด ผลไม้- ตู้ฉนวน ภายในจะบุฉนวนด้วยโฟมทุกด้านเพื่ออป้องกันความร้อนแผ่เข้าตู้ นิยมบรรทุกผัก- ตู้ระบายอากาศ เหมือนกับตู้เย็นแต่มีพัดลมมแทนเครื่องทำความเย็น พัดลมจะดูดก๊าซอีเทอร์ลีนที่ระเหยออกจากตัวสินค้า

  • 5.3 ตู้พิเศษ ได้แก่- ตู้แท็งก์เกอร์หรือตู้บรรจุของเหลว- ตู้เปิดหลังคา- ตู้แพลตฟอร์ม- ตู้เปิดข้าง- ตู้บรรทุกรถยนต์- ตู้บรรทุกหนังเค็ม- ตู้สูงหรือจัมโบ้ประโยชน์ของระบบตู้คอนเทนเนอร์

    • 1. ทำให้ขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็ว

    • 2. ลดความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งและป้องกันการถูกโจรกรรมได้

    • 3. ประหยัดค่าใช้จ่าย

    • 4. สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก

    • 5. การสั่งจองเรือระวางเพื่อขนส่งสินค้าทำได้สะดวก

    • 6. ตรวจนับสินค้าได้ง่าย