เอกสารกลุ่มโรคติดเชื้อจากการสัมผัส

รายละเอียดโรค

โรคตาแดง

โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือ โรคตาแดง (Hemorrhagic Conjunctivitis)

เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อ ภูมิแพ้ ถูกสารเคมี เป็นต้น ชนิดที่จะกล่าวถึงที่พบได้บ่อยและติดต่อกันได้ง่ายมาก คือ โรคเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ชนิดที่พบมากที่สุดคือ อดีโนไวรัส (Adenovirus) ส่วนรองลงมาคือ เฮอร์ปีสไวรัส (Herpes virus) เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) และ คอกแซกกี (Coxsackie) ติดต่อทางน้้าตา ผ่านทางการสัมผัสโดยตรงจากมือหรือของใช้ และไปสัมผัสตาของอีกคนหรือถูกน้้าสกปรก เข้าตา ไม่ติดต่อทางการมองหรือทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน โรคนี้พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ซึ่งมักเกิดการระบาด ในชุมชนที่มีคนอยู่ร่วมกัน เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่ท้างาน สระว่ายน้้า เป็นต้น สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กจะระบาดได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่รู้จักวิธีป้องกัน แต่ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคไม่มากและสามารถหายเองได้ 


อาการ

อาการของโรคนี้ พบหลังจากที่มือหรือวัตถุที่มีเชื้อโรคมาสัมผัสตาโดยตรง ประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการเยื่อบุตา ที่คลุมภายในหนังตา และคลุมตาขาว เกิดการอักเสบ บวม เคืองตามาก น้้าตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย อาจเป็นเมือกใสหรือมีสีเหลืองอ่อน เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ยกเว้นจะติดเชื้อพร้อมๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามอีกข้างมักจะติดเชื้อด้วยเนื่องจากไม่ได้ระมัดระวัง การติดเชื้อมักมีอาการมากในช่วง 4 -7 วันแรกแต่จะหายได้เอง ในเวลาประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนการรักษานั้นจะเน้นรักษาตามลักษณะอาการของโรค และจ้ากัดการ แพร่เชื้อจนอาการหายดี เนื่องจากยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง หากมีขี้ตามากรักษาด้วยการหยอดยาปฎิชีวนะและถ้ามีไข้ เจ็บคอรักษาโดยใช้ยาแก้อักเสบร่วมกับยาลดไข้ และยาลดปวด 


การป้องกัน


ประชาชนสามารถป้องกันโรคตาแดงได้ ด้วยการหมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้้าให้สะอาดอยู่เสมอ ก่อนเอามือสัมผัสหรือ ขยี้ตา ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับคนที่เป็นตาแดง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วย ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ไม่ใช้มือแคะ แกะ เกาหน้าตา ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้้าสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้้าสะอาดทันที อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา นอกจากนี้ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดหน้า ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช้สิ่งของเหล่านี้ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงหลีกเลี่ยงการว่ายน้้าในช่วงที่มีตาแดงระบาด


สำหรับผู้ป่วยโรคตาแดงสิ่งส้าคัญที่สุดคือ ควรพบแพทย์ หยุดเรียน หรือหยุดงาน รักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 3 วัน ไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น หากใช้กระดาษ หรือส้าลีเช็ดขี้ตา เช็ดหน้าแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มิดชิดควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองจากแสง งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ พักผ่อนให้เต็มที่ พักการใช้สายตา และล้างมือให้สะอาดหลังจับบริเวณใบหน้าและตาทุกครั้ง ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422


แบบสอบสวนโรคตาแดง (ดาวน์โหลด)

โรคเรื้อน

“โรคเรื้อน” (Leprosy หรือ Hansen's Disease) 

เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium leprae (M.leprae) เชื้อนี้ชอบอาศัยอยู่ในเส้นประสาทและผิวหนัง เมื่อร่างกายพยายามกำจัดเชื้อเส้นประสาทจึงถูกทำลายและทำให้เกิดอาการทางผิวหนังตามไปด้วย หากไม่รีบรักษาจะทำให้เกิดความพิการของมือ เท้า และตา

การติดต่อ 

โรคเรื้อนสามารถติดต่อได้โดยทางเดินหายใจแต่ติดต่อได้ยาก ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโรคเรื้อน คือ ผู้ที่สัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายใน 7 วัน จะไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีก

อาการของโรค

อาการเริ่มแรกของโรคนี้จะเป็นรอยโรคทางผิวหนังสีจางหรือเข้มข้นกว่าผิวหนังปกติ อาจพบขนร่วง เหงื่อไม่ออก ที่สำคัญคือ ในรอยโรคผิวหนังเหล่านี้จะมีอาการชา หยิกไม่เจ็บ ไม่คันโรคเรื้อนชนิดที่เป็นมาก จะมีผื่นนูนแดงหนา หรือมีตุ่มแดงไม่คัน โดยเฉพาะที่ใบหูจะนูนหนา อาจมีขนคิ้วร่วง ไม่ว่าผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น หรือระยะที่เป็นมากแล้วก็ตาม ผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่มีอาการคัน หรือเจ็บปวดเลย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยชะล่าใจ คิดว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงจึงไม่รีบมารับการรักษา

ลักษณะอาการทางผิวหนัง ที่สังเกตได้ง่ายคือ

การดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี หากไม่รักษาตั้งแต่เริ่มเป็น เมื่อเส้นประสาทถูกทำลายจะทำให้เกิดความพิการที่ตา มือ และเท้า

การรักษาโรค

โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยกินยาติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 2 ปี แล้วแต่ชนิดของโรค หากพบว่าทีรอยโรคที่ผิวหนัง มีอาการชา หรือเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังใช้ยากิน ยาทา 3 เดือนแล้วไม่หายให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคเรื้อน ควรรีบไปพบแพทย์

การป้องกันโรค

ประชาชนทุกคนควรหมั่นดูแลผิวหนัง ถ้าเป็นโรคผิวหนังที่ไม่คัน ไม่เจ็บและรักษาไม่หายภายในเวลา 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคผิวหนังที่มีอาการชาร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานบริการใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจรักษาหรือพบผู้สงสัยว่าจะเป็นโรคเรื้อน เช่น

ความจริงเกี่ยวกับโรคเรื้อนที่ควรทราบ


แบบสอบสวนโรค (ดาวน์โหลด)

โรคมือเท้าปาก

มือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease (HFM))

ลักษณะโรค


การวินิจฉัยโรค


สาเหตุ


ความทนทานของเชื้อ enteroviruses


วิธีติดต่อ


ระยะติดต่อ


ระยะฟักตัว


ระบาดวิทยาของโรค


อาการและอาการแสดง


การรักษา


การป้องกันและควบคุมโรค






แบบสอบสวนโรคมือเท้าปากและใบนำส่งตรวจ (ดาวน์โหลด)

โรคเมลิออยโดสิส

เมลิออยโดสิส (Melioidosis)

โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต Melioidosis มีสาเหตุจากเชื้อ Burkholderia (Pseudomonas) pseudomallei ซึ่งเป็นแบคทีเรียฺแกรมลบ ที่ก่อโรคในคนและสัตว์ในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบโรคนี้มากในภาคอีสาน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแตกต่างกันมากตั้งแต่ไม่มีอาการ จนกระทั่งติดเชื้อในกระแสโลหิตแพร่กระจายไปทุกอวัยวะ ผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตเป็นพิษเฉียบพลันจะมีอัตราป่วยตายสูงถึง 40-60% โดยเฉพาะร่วมกับโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ติดสุราเรื้อรัง มักเสียชิวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง 


อาการของโรค

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการหลากหลาย ทั้งการติดเชื้อเฉพาะที่และการติดเชื้อแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการไข้ บางรายมีอาการไม่ต่างจากโรคปอดบวมรุนแรง บางรายมีอาการคล้ายๆ กับวัณโรค อาการสำคัญคือติดเชื้อในกระแสเลือดมีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผู้ป่วยมีอาการเริ่มต้นด้วยอาการไข้คล้ายโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น สครัปไทฟัส มาเลเรีย ไทฟอยด์ไข้เลือดออก ดังนั้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมาก 


การป้องกันโรคเมลิออยด์


แบบสอบสวนโรคเมลิออยโดสิสและใบนำส่งตรวจ (ดาวน์โหลด)

สื่อวีดีโอประชาสัมพันธ์

ความรู้เรื่องโรคเรื้อน โดยแพทย์หญิงสราญจิต วิมูลชาติ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค 

การดูแลตัวเองขณะรับการรักษาในผู้ป่วยโรคเรื้อน เพื่อป้องกันความพิการ โดยน.ส.รุจิรา เพิ่มธัญญกรรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค  

การบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคเรื้อน ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนเเรง โดย นายชำนาญ บุญตาราษฎร์ นักกายภาพบำบัดชำนาญการ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค 

การดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคเรื้อน โดย นางเบญจมาพร ศรีจำปา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชประชาสมาสัย
กรมควบคุมโรค 

การรับประทานยา เเละอาการข้างเคียงของยารักษาโรคเรื้อน โดยภ.ญ.รัชนี วัฒนเรืองรอง เภสัชกรเชี่ยวชาญ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค 

การประเมินพื้นที่ปลอดโรคเรื้อน จังหวัดระนอง

1.1 การพัฒนาองค์ความรู้ให้ผู้รับผิดชอบ

    1.2 การประเมินและสรุปผลการปฏิบัติงาน

    1.3 ระบบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน(ระบบการรายงานผู้ป่วย ระบบการให้คำปรึกษาในการป้องกันควบคุมโรค หรือ ระบบประสานงานเพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยหรือรักษา 

    1.4 ระบบการจัดสรรและสนับสนุนทรัพยากรที่เหมาะสม

1.4.1 ทีมสอบสวนโรค

1.4.2 ระบบบริหารจัดการยา Multi Drug Therapy (MDT) กรณีที่มีผู้ป่วยรายใหม่


2. มาตรฐาน Case Finding

2.1 การดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเรื้อนในผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่

3. มาตรฐานการเฝ้าระวังโรค

  3.1 การให้ความรู้เรื้องโรคเรื้อนในชุมชน

    3.2 ระบบการรายงานผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่

    3.3 แนวทางการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยโรคเรื้อน

    3.4 ความรู้เรื่องโรคเรื้อน การคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อน แนวทางการถาม คู่มือโรคเรื้อนสำหรับเจ้าหน้าที่

    3.5 ทีมแพทย์เชี่ยวชาญจังหวัดระนอง 


ภาพกิจกรรมการประชาสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อจากการสัมผัส

อสม.ตำบลกะเปอร์

แกนนำสุขภาพ

ชมรมผู้สูงอายุ

ประชาชนทั่วไป