เหตุการณ์สำคัญ

จดหมายเหตุดิจิทัล โรคติดต่อและภัยสุขภาพ จังหวัดระนอง

จดหมายเหตุดิจิทัล โรคติดต่อและภัยสุขภาพ จังหวัดระนอง เป็นการดำริของ นายแพทย์นรเทพ อัศวพัชระ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง    ที่มีความประสงค์ให้รวบรวมบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ในจังหวัดระนอง ทั้งโรคติดต่อ ภัยสุขภาพ การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในทุกๆเหตุการณ์ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นข้อมูลให้ได้ศึกษา และเป็นองค์ความรู้และการดูแลจัดการกรณีเกิดสถานการณ์ลักษณะเดียวกันขึ้นในอนาคต 

เหตุการณ์สำคัญ และภัยสุขภาพจังหวัดระนอง

ปี พ.ศ. 2567

วันที่ 18 มีนาคม 2567 

การประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2567 กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน

           ได้รับแจ้งจาก โรงพยาบาลระนอง กรณีลูกเรือประมง 2 ราย เป็น ชาวไทย 1 คน และชาวเมียนมา 1 คน มีอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากกินไข่ปลาปักกะเป้า จนมีอาการช็อกหมดสติ ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 02.00 น.ของวันที่ 18 มีนาคม 2567 หลังนำไข่ปลาปักเป้าหลังเขียว มาทำเป็นอาหารรับประทานและมีอาการ ชาตามปาก อาเจียน หมดแรง หายใจหอบ ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระนอง อาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตกลับบ้าน วันที่ 20 มีนาคม 2567


วันที่ 22-23 มกราคม 2567

การประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2567 กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน

จังหวัดระนองได้กำหนดสถานที่ประชุมครม. สัญจร เป็นที่หอประชุมจังหวัดระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมจากทุกภาคส่วน โดยได้แบ่งคณะทำงานออกเป็น 14 คณะ ครอบคลุมการเตรียมพร้อมต้อนรับการประชุม คณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ซึ่งในวันที่ 22 มกราคม 2567 จะเป็นการคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และในวันที่ 23 มกราคม 2567 จะเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของจังหวัดระนองในการนำเสนอเรื่องราว ผลิตภัณฑ์ การดำเนินงานจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาจังหวัดระนองต่อไป 

ปี พ.ศ. 2566

วันที่ 10 กันยายน 2566

พบผู้ป่วยเมียนมา ยืนยันฝีดาษวานร ในพื้นที่อำเภอเมือง 1 ราย

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร จำนวน 1 ราย เพศชาย อายุ 33 ปี สัญชาติเมียนมา โรคประจำตัวภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย อาชีพรับจ้าง อาศัยในพื้นที่ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ก่อนป่วย 14 วัน มีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่พบเพื่อนเมียนมาที่กรุงเทพมหานคร เริ่มป่วยวันที่ 2 กันยายน 2566 ด้วยอาการ คันผิวหนัง บริเวณแขน วันที่ 4 กันยายน 2566 เริ่มมีผื่น ตุ่มหนองลักษณะบุ๋มตรงกลาง ขึ้นบริเวณหลัง/สีข้าง แขน ทวารหนัก/รอบทวารหนัก วันที่ 9 กันยายน 2566 เดินทางจากจังหวัดระนอง ไปยัง กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระรามเก้า แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เก็บตัวอย่าง Lesion swab ส่งตรวจหา Monkeypox Virus ด้วยวิธี Real-time PCR ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการตรวจ วันที่ 10 กันยายน 2566 พบเชื้อ Monkeypox Virus 

ปี พ.ศ. 2561 - 2565

วันที่ 24 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2565

เหตุการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 

พาแรงงานชาวเมียนมา เดินทางกลับมาจากทัวร์บุญไหว้วัดที่จ.ชุมพร เกิดยางแตก เสียหลักพลิกคว่ำลงร่องน้ำเกาะกลางถนนเพชรเกษม กม.695  ฝั่พลิกคว่ำอยู่ที่ร่องน้ำเกาะกลางถนน  ฝั่งขาเข้าเมืองระนอง   โดยชาวบ้านในละแวกที่เกิดเหตุ ได้ช่วยกันนำผู้บาดเจ็บที่เป็นแรงงานหญิงชาวเมียนมาเป็นส่วนใหญ่ และมีเด็กลูกหลานแรงงาน อีกจำนวนหนึ่งขึ้นจากร่องน้ำมานั่งริมถนนเกาะกลาง หน่วยกู้ชีพกู้ภัยได้เข้าปฐมพยาบาลและจำแนกผู้บาดเจ็บทั้งหมดได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลระนอง ยอดจำนวนผู้บาดเจ็บเป็นแรงงานชาวเมียนมาทั้งสิ้น จำนวน  38  ราย  บาดเจ็บเล็กน้อย 25 ราย บาดเจ็บสีเหลือง 12 ราย และบาดเจ็บสาหัส 1 ราย โดยแรงงานหญิงชาวเมียนมาระบุ  ทำงานอยู่แถบ อ.สุขสำราญ และ อ.กะเปอร์  จ.ระนอง  ในช่วงวันหยุดก่อนเทศกาลปีใหม่ เดินทางกลับมาจากทำบุญ เข้าปฐมพยาบาล ก่อนนำส่ง ตึกอุบัติเหตุ รพ.ระนอง คาดอุบัติเหตุเกิดจากการบรรทุกผู้โดยสารจำนวนมากและยางรถเสื่อมสภาพ   

วันที่ 28 ธันวาคม 2565

เหตุการณ์อุบัติเหตุรถสองแถวกะเปอร์ - ระนอง 

พาแรงงานชาวเมียนมา เดินทางกลับมาจากทัวร์บุญไหว้วัดที่จ.ชุมพร เกิดยางแตก เสียหลักพลิกคว่ำลงร่องน้ำเกาะกลางถนนเพชรเกษม กม.695  ฝั่พลิกคว่ำอยู่ที่ร่องน้ำเกาะกลางถนน  ฝั่งขาเข้าเมืองระนอง   โดยชาวบ้านในละแวกที่เกิดเหตุ ได้ช่วยกันนำผู้บาดเจ็บที่เป็นแรงงานหญิงชาวเมียนมาเป็นส่วนใหญ่ และมีเด็กลูกหลานแรงงาน อีกจำนวนหนึ่งขึ้นจากร่องน้ำมานั่งริมถนนเกาะกลาง หน่วยกู้ชีพกู้ภัยได้เข้าปฐมพยาบาลและจำแนกผู้บาดเจ็บทั้งหมดได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลระนอง ยอดจำนวนผู้บาดเจ็บเป็นแรงงานชาวเมียนมาทั้งสิ้น จำนวน  38  ราย  บาดเจ็บเล็กน้อย 25 ราย บาดเจ็บสีเหลือง 12 ราย และบาดเจ็บสาหัส 1 ราย โดยแรงงานหญิงชาวเมียนมาระบุ  ทำงานอยู่แถบ อ.สุขสำราญ และ อ.กะเปอร์  จ.ระนอง  ในช่วงวันหยุดก่อนเทศกาลปีใหม่ เดินทางกลับมาจากทำบุญ เข้าปฐมพยาบาล ก่อนนำส่ง ตึกอุบัติเหตุ รพ.ระนอง คาดอุบัติเหตุเกิดจากการบรรทุกผู้โดยสารจำนวนมากและยางรถเสื่อมสภาพ   

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565

เหตุการณ์ซุ่มยิงเข้าใส่ลานกิจกรรมโรงเรียน

                  อ้างไม่พอใจทำกิจกรรมเสียงดัง                       

ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ระนอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่พอใจให้ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน แม้ว่าวันเกิดเหตุจะเป็นวันอาทิตย์ แต่มีนักเรียนไปทำกิจกรรม โชคดีที่เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บ

วันที่ 2 สิงหาคม 256

เหตุการณ์พายุกระหน่ำระนอง ทำบ้านเรือนเสียหายกว่า 30 หลัง  

กิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักลมพัดแรงจากอิทธิพลพายุโซนร้อนซินลากู  ลมกระโชกแรงในเขตพื้นที่ปากน้ำ และหลายพื้นที่ใน จ.ระนอง นานกว่า 1 ชั่วโมง ทำให้บ้านเรือนประชาชนเสียหายจำนวนกว่า 30 หลังคาเรือน และมีต้นไม้ล้มทับบ้านเรือนประชาชน  ในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองระนอง อำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ และ อำเภอสุขสำราญ โดยเฉพาะที่ อำเภอสุขสำราญ บริเวณชุมชนบ้านเรือนที่อยู่ทางทะเลบ้านบางกล้วย และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สำหรับสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่จังหวัดระนองที่เกิดขึ้น มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 21 ตำบล 51 หมู่บ้าน 240 ครัวเรือน ประกอบด้วย  อำเภอเมืองระนอง 9 ตำบล 20 หมู่บ้าน 151 ครัวเรือน อำเภอกระบุรี 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน 17 ครัวเรือน  อำเภอละอุ่น 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน 7 ครัวเรือน อำเภอกะเปอร์ 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน 7 ครัวเรือน อำเภอสุขสำราญ 2 ตำบล 13 หมู่บ้าน 58 ครัวเรือน  ซึ่งได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยพิบัติภัยอย่างเร่งด่วน

วันที่ 13 พฤษภาคม 2563

เหตุการณ์ ขาดอากาศหายใจจากการทำงานล้างถังบรรจุน้ำเสีย   

วันที่  13  พฤษภาคม  2563  เวลาประมาณ  17.00 น. เกิดเหตุลูกจ้างชาวเมียนมาและบุตรของร้านรับซื้อขี้ยางพารา บ้านทุ่งมะพร้าว  ตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี  จังหวัดระนอง  เสียชีวิต  2 ราย  และบาดเจ็บ 1 ราย  จากการทำงานในที่อับอากาศ ขณะด้ลงไปทำความสะอาดล้างถังบรรจุน้ำยางพารา บนรถบรรทุก 6 ล้อ สาเหตุของการเสียชีวิตเกิดจากภาวะขาดออกซิเจน แต่ไม่สามารถระบุก๊าซพิษชนิดอื่นที่อยู่ในถังบรรจุน้ำเสีย  บ่อพักน้ำเสีย และบ่อทิ้งน้ำเสียที่เกิดเหตุได้ ข้อสังเกตน่าจะเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือก๊าซไข่เน่า ที่เกิดจากการหมักหมมของน้ำเสียเป็นเวลาหลายวัน (3วัน)  อาจทำให้เกิดการทำปฏิกิริยาของสารเคมี ขณะสูบน้ำเสียบรรจุลงไปในถังและบรรทุกไปปล่อยทิ้ง  จึงทำให้ก๊าซดังกล่าว ซึ่งมีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศ ได้เกิดการฟุ้งกระจายของก๊าซมาแทนที่ออกซิเจน ในอากาศบริเวณก้นถัง  ปริมาณออกซิเจนซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว มีปริมาณลดลงมากขึ้น และอาจจะมีก๊าซพิษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น มีเทน ทำร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ เมื่อผู้เสียชีวิตได้ทำการลงไปล้างทำความสะอาดถังส่งผลให้เกิดอาการเป็นลมหมดสติและเสียชีวิตได้ 

วันที่ 25 กันยายน 2562

เหตุการณ์ เรือรับส่งพนักงานชนเรือบรรทุกปูนกลางทะเลอันดามัน 

บริเวณเยื้องบี.ซี บดินทร์รีสอร์ท ปากแม่น้ำกระบุรี ใกล้ท่าเรือ จุดข้ามฟากจังหวัดระนอง -จังหวัดเกาะสองเมียนมาร์  ผู้ประสบเหตุทั้งหมด 45 คน บาดเจ็บ 30 คน รับการรักษาที่โรงพยาบาลระนอง 25 คน ชาย 9 ราย หญิง 16 ราย แพทย์อนุญาติกลับบ้าน 3 คน ชาย 1 หญิง 2 ผู้ป่วยอาการหนัก 2 ราย ส่งตัวไปโรงพยาบาลชุมพร เนื่องจากมีภาวะเลือดออกเยื่อหุ้มสมอง เรือที่เกิดเหตุเป็นเรือรับส่งพนักงานของโรงแรมแกรนด์อันดามัน กำลังกลับเข้าสู่จังหวัดระนอง และก่อนที่จะถึงท่าเรือได้ชนกับเรือไม้บรรทุกปูนซีเมนต์ที่กำลังจะเดินทางออกจากท่าเรือฝั่งระนองไปยังจังหวัดเกาะสอง ประเทศเมียนมา เมื่อเกิดเหตุแล้วเรือบรรทุกปูนลำดังกล่าวได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดเกาะสอง 

ปี พ.ศ. 2556 - 2560

วันที่ 3 พฤษจิกายน 2560 

เหตุการณ์อุบัติเหตุรถพยาบาล 

ชนต้นไม้ไหล่ทางขณะกำลังเดินทางกลับจากรีเฟอร์ผู้ป่วย รพ.วชิระภูเก็ต บริเวณบ้านห้วยปลิง ม.7 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยมีผู้เสียชีวิต เป็นพยาบาล 1 ราย ผู้บาดเจ็บสาหัสรวม 3 ราย  กรณีนี้เกิดจากการส่งต่อผู้ป่วยทางสมองจาก รพ.ระนอง ไปยัง รพ.วชิระภูเก็ต การเดินทางใช้เวลาไปกลับ 8 ชั่วโมง โดยอุบัติเหตุเกิดตอนเช้ามืด ซึ่งมีผู้บาดเจ็บหลายคน แต่พยาบาลบาดเจ็บหนักและส่งรักษาตัวที่ จ.ชุมพร แต่อาการสาหัสจนเสียชีวิต 

วันที่ 29 พฤษภาคม 2560

เหตุการณ์แก๊สแอมโมเนียรั่วไหลจากภายในโรงน้ำแข็ง 

บริเวณสี่แยกประปากลางเมืองระนอง ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณส่งผลกระทบกับประชาชนที่สูดดมเข้าไปจนใจไม่ออก ปวดแสบตา และแสบจมูก  โดยที่เกิดเหตุพบประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณสี่แยกตลาดเก่า ถนนท่าเมือง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง ประมาณ 10 ครัวเรือน ซึ่งอยู่ด้านหลังโรงน้ำแข็ง ได้รับผลกระทบโดยตรง จากแก๊สแอมโมเนียหรือแก๊สไข่เน่า ซึ่งเป็นสารหล่อเย็นสำหรับใช้ทำน้ำแข็งฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณและเข้าไปอบอวลภายในตัวบ้าน ชาวบ้านหลายลังบ้านต้องรีบปิดบ้านแล้วย้ายคนชราและผู้พิการออกทันที บางบ้านต้องออกมาอยู่หน้าบ้านเพื่อหายใจและเปิดประตูบ้านเพื่อให้อากาศไหลเวียนระชาชนที่อยู่ในละแวกที่เกิดเหตุ กล่าวว่า ขณะนั่งรับประทานข้าวภายในบ้านมีกลิ่นเข้ามาในตัวบ้าน ทุกบ้านต้องรีบออกมาหน้าบ้านและพาคนในบ้านออกไปทันที และมีหลายบ้านได้พาผู้สูงอายุไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว 

วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 

เหตุการณ์รถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพ–ภูเก็ต พลัดตกไหล่ทาง  

เวลา17.56 น. เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพ–ภูเก็ต  ทะเบียนกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่จังหวัดภูเก็ต พลัดตกไหล่ทาง ไถลพลิกตะแคง บริเวณทางกลับรถใต้สะพานห้วยบ้าน กิโลเมตรที่ 560 หมู่ที่ 2 ตำบลบางใหญ่ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ณ จุดเกิดเหตุพบผู้โดยสารรวมคนขับรถ และพนักงานบนรถ จำนวน 24 ราย บาดเจ็บ 7 ราย แบ่งเป็นสีเหลือง 3 ราย สีเขียว 4 ราย นำส่งโรงพยาบาลกระบุรี โดยทีมกู้ชีพในพื้นที่อำเภอกระบุรี 

วันที่ 1 มีนาคม 2559 

เหตุการณ์ ระนอง พบหมึกบลูริงพิษร้ายแรง

ชาวบ้านตำบลจ.ป.ร. อำเภอกระบุรี ไปซื้อหมึกสายจากแม่ค้าเร่ ทำอาหารกินที่ตลาดนัดทุ่งมะพร้าว เมื่อกลับถึงบ้าน พบว่ามีหมึกสายลักษณะแปลก ๆ มีจุดสีน้ำเงินปะปนมาด้วย 1 ตัว ลักษณะคล้ายกับหมึกพิษที่กำลังเป็นข่าวในห้างใหญ่นำไปวางขาย หมึกดังกล่าวเป็นหมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง พบได้ทั้งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งเป็นหมึกที่มีพิษร้ายแรงมาก หากถูกกัดจะเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที พิษของเจ้าหมึกชนิดนี้เป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า เรียกว่า Tetrodotoxin (TTX) พิษชนิดนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยจะเข้าไปขัดขวางการสั่งงานของสมองที่จะไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิต คนที่ถูกพิษจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต การปฐมพยาบาลต้องหาวิธีนำอากาศเข้าสู่ปอด เช่น เป่าปาก เป็นต้น จากนั้นต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าช่วยชีวิตเป็นผล ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง เว้นแต่ว่าจะขาดอากาศนานเกินไปจนสมองตาย 

วันที่ 30 เมษายน 2559 

เหตุการณ์ กระบะยางแตกเสียหลักข้ามเลนพุ่งชนคนงานพม่า

โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยออกเวรขับรถกลับบ้านเสียหลักพุ่งลงร่องเกาะกลางวิ่งข้ามเลนมาอีกฝั่งถนน ชนคนงานชาวพม่าที่กำลังยืนรอรถอยู่บริเวณเกาะกลางถนนสะพานปลา พบผู้ได้รับบาดเจ็บนอนอยู่บริเวณถนนและร่องกลางถนนหลายราย  มีผู้บาดเจ็บทั้ง 9 ราย เสียชีวิตที่เกิดเหตุ 3 ราย เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย เป็นเพศหญิง สัญชาติพม่าทั้งหมด (พนักงานโรงงานสยามชัย)เร่งนำผู้บาดเจ็บทั้งหมดส่งโรงพยาบาลระนอง

วันที่ 11 เมษายน 2557

 เวลา 05.30น. เกิดอุบัติเหตุ รถทัวร์สองชั้น บ.เอ็กซ์เพรส (กรุงเทพ-ภูเก็ต) ชนรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง เสียหลักพลิกคว่ำที่ถ.เพชรเกษม อ.กระบุรี จ.ระนอง เสียชีวิต 1 บาดเจ็บ 41 คน 

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 

เหตุรถกระบะเสียหลักพุ่งชนรถบรรทุกพ่วง เสียชีวิต 5 ราย 

       เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนรถกับรถพ่วงบรรทุกน้ำมันปาล์ม ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ พบรถยนต์กระบะ สีดำ ชนกับรถบรรทุกพ่วง ในสภาพที่รถกระบะพังยับเยิน ล้อหลุด โดยบริเวณดังกล่าวเรียกโค้งกองทราย หลัก กม.669-670 บนถนนเพชรเกษม ม.5 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 4 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 คน นำส่งโรงพยาบาลระนอง ซึ่งต่อมาก็เสียชีวิตเช่นกัน รวมอุบัติเหตุครั้งนี้เสียชีวิต 5 ราย คนขับรถพ่วงบรรทุกน้ำมันปาล์มแจ้งว่า ตนขับรถมาจากระนอง เพื่อมาเอาน้ำมันปาล์มดิบที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา มาถึงจุดเกิดเหตุซี่งมีฝนตกลงมาพรำๆ เห็นรถกระบะคันดังกล่าวเข้าโค้งมาและเสียหลักเข้ามาชน ส่วนรถยนต์กระบะผู้รอดชีวิตแจ้งว่ามาจาก ต.บ้านนาเพื่อไปรับบุญาติที่บางหิน และขับรถกลับจนประสบอุบัติเหตุดังกล่าว โดยผู้เสียชีวิตเป็นชาวต.บ้านนาอ.กะเปอร์ และเป็นญาติกันทั้งหมด นอกจากนี้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ข้อมูลด้วยว่า บริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่ถนนลื่น และเมื่อมีฝนตกมักจะเกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีรถเสียหลักและหมุนหลุดออกจากถนนมาแล้ว 3-4 ครั้ง จนมาประสบอุบัติเหตุดังกล่าวและมีผู้เสียชีวิต

วันที่ 29 สิงหาคม 2556 

เหตุการณ์รถสิบล้อห้องเย็นเสียหลักชนประสานงารถทัวร์ปรับอากาศ 

ขณะนำผู้โดยสารเดินทางเข้า กทม. ดับ 2 เจ็บ 18 ราย ที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 557 +100 ใกล้กับแยกทางเข้าน้ำตกบกกลาย ต.ลำเลียง อ.กระบุรี จ.ระนอง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากจากการตรวจสอบรถทัวร์คันที่ถูกชนพบว่า บริเวณด้านหน้าของรถถูกชนพังยับเยิน ขณะที่รถบรรทุกสิบล้อห้องเย็น มีสภาพพังเสียหายบริเวณด้านหน้าเช่นเดียวกัน โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิกู้ภัยระนอง เร่งนำร่างผู้บาดเจ็บออกมานอกรถ และรีบนำส่งโรงพยาบาลอำเภอกระบุรี ซึ่งพบว่ามีผู้เสียชีวิต 2 รายส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บมีจำนวน 18 ราย 

ปี พ.ศ. 2551 - 2555

วันที่ 22 กรกฎาคม 2555 

เหตุการณ์ก๊าซแอมโมเนียโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเมืองระนองรั่ว  

เกิดเหตุที่ หมู่ที่ 5 ต.บางริ้น อ.เมือง ระนอง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกุ้งแช่แข็งส่งออก ได้เกิดเหตุท่อแก๊สแอมโมเนียสำหรับทำความเย็น และผลิตน้ำแข็งเกิดรั่วไหล ผู้ป่วยมีอาการช็อก ตัวเกร็งแขนเกร็ง ในรายที่สูดดมแก๊สแอมโมเนียเข้าไปมาก และให้ออกซิเจนเพิ่มเติม ส่วนที่ตาจะแสบและมีน้ำตาไหล ต้องล้างหน้าและน้ำผ้าชุบน้ำคอยเช็ดหน้า เบื้องต้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 14 ราย ส่งเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยภายใน 4 ราย และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ จำนวน 10 ราย ตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบภายในโรงงานมีกลิ่นแก๊สแอมโมเนียลอยฟุ้งกระจายอยู่ภายในอาคารซึ่งมีพนักงานทำงานอยู่ประมาณ 30 คน หลังจากได้รับกลิ่นแก๊สพิษ ต่างก็ชุลมุนวิ่งออกมาหน้าโรงงาน และพบว่า มีคนงานได้รับสารพิษบริเวณตา ปาก และจมูก ขณะเกิดเหตุ แก๊สแอมโมเนียเกิดการรั่วไหลออกจากท่อลำเลียงแก๊ส มีกลิ่นฟุ้งกระจายเข้าไปในห้องทำงานของพนักงานภายในโรงงาน พนักงานของบริษัทได้เข้าไปทำการปิดวาล์วจนสามารถควบคุมการรั่วไหลของแก๊สแอมโมเนียได้ ด้านสาธารณสุข ผู้บาดเจ็บที่สูดดมเอาแก๊สแอมโมเนียเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ มีการมึนเวียนศีรษะ และอาจจะเป็นลมได้ แต่ยังไม่มีผู้ป่วยที่อาการหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้นอนรอดูอาการภายในห้องฉุกเฉินว่าหายใจเองได้หรือไม่ ส่วนคนที่รับแก๊สแอมโมเนียเข้าไปในปริมาณมาก อาจจะไปทำลายเนื้อเยื่อระบบหายใจ ผู้บาดเจ็บทั้งหมดที่เข้ามารักษามีทั้งสิ้น จำนวน 14 ราย รับไว้เป็นผู้ป่วยภายใน 4 ราย ส่วนที่เหลือ 10 ราย แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้าน

วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 

ทหารพม่าจับ100คนไทยชายแดนระนอง

เกิดเหตุทหารพม่าประมาณ 2 กองร้อยได้เข้าปิดล้อมที่บ้าน คลองกระใน หมู่ 9 ต.จปร อ.กระบุรี จ.ระนอง และประกาศให้คนชาวบ้านที่อาศัยอยู่กว่า 100 คน ออกมาร่วมตัวกันที่ถนนหมู่บ้านพร้อมกับจับมัดมือไพล่หลังเมื่อเวลา 04.00 น. โดยมีชาวบ้านส่วนหนึ่งหลบหนีเข้าป่าหนีการจับกุม 

ด้าน นายธนิต กุลสุนทร นายอำเภอกระบุรี ได้เรียกประชุม กำนันผู้ใหญ่บ้านตำรวจ และทหาร โดยชาวบ้านคนหนึ่งที่รอดออกมาได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่มีอาวุธปืนไม่ยอมมอบตัวและได้ต่อสู้กับทหารพม่าทำให้ถูกยิงเสียชีวิตประมาณ 10 คน ส่วนทหารราบจากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 25  ค่ายรัตนรังสรรค์ จ.ระนอง จำนวน 1 กองร้อยได้เดินทางโดยรถ จีเอ็มซีจำนวน 4 คันได้เข้าเสริมกำลังบริเวณชายแดน อ.กระบุรี เพื่อตรึงกำลังในพื้นที่ชายแดนแล้ว 

สำหรับบ้านคลองกระใน หมู่ 9 ต.จปร.เป็นชายแดนไทย-พม่า ที่มีชาวบ้านจาก จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร และระนอง เข้าไปจับจองพื้นที่ปลูก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมาก จำนวนประมาณ 100 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่  มีรถกระบะจำนวน 80 คัน รถแบคโฮจำนวน 8 คันโดย พื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านยังเข้าใจว่าเป็นเขตแดนฝั่งไทย ส่วนทหารและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยอมรับว่าเป็นเขตแดนฝั่งพม่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีการเจรจาตกลงระหว่างทหารพม่ากับชาวบ้านในการเข้าทำสวนบริเวณดังกล่าว โดยแลกกับผลประโ


วันที่ 9 เมษายน 2551 

เหตุการณ์ รถห้องเย็นมรณะ แรงงานดับสยอง  54 ศพ 

เกิดเหตุการณ์ชวนให้ตระหนกสำหรับสังคมไทยที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นที่ไม่ถูกกฎหมายของแรงงานข้ามชาติระดับล่าง มีการพบศพแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายจำนวน 54 คน เป็นชาย 17 คน และหญิง 37 คน รวมถึงมีผู้บาดเจ็บอีก 21 คน จากจำนวนแรงงานข้ามชาติจากพม่าทั้งหมด 121 คน ในรถบรรทุกสิบล้อที่ดัดแปลงเป็นรถตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้มีนายหน้าพาลักลอบเดินทางมาจากแพปลาแห่งหนึ่งในจังหวัดระนอง เพื่อเดินทางไปทำงานที่จังหวัดพังงาและภูเก็ต ระหว่างที่รถได้แล่นมาถึงบริเวณบ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง พบว่าแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ต่างเบียดเสียดอย่างแออัดอยู่ในพื้นที่แคบๆ ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากขาดอากาศหายใจนานกว่า 1-2 ชั่วโมง 

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 

เหตุการณ์ รถทัวร์ กทม. - ระนองคว่ำ ตาย  4 เจ็บ 27 คน 

เหตุเกิดบนถนนเพชรเกษมระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 537-538 ม.3 ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนองเป็นเหตุให้ผู้โดยสารเสียชีวิตคาที่ 4 ศพ เป็นชาวระนองทั้งหมด  มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 27 คน ในจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส 3 รายถูกนำตัวส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลระนอง และนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลกระบุรี 5 คน ส่วนที่เหลือแพทย์พยาบาลให้การรักษาแล้วอนุญาตให้กลับบ้านได้ พนักงานขับรถ ให้การว่า ตนรับช่วงขับรถจากคนแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุรถเกิดส่ายไปมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ตนพยายามเบรกแต่ไม่สามารถควบคุมรถได้ ประกอบกับจุดดั่งกล่าวเป็นทางโค้ง ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำแล้วไถลไปฟาดกับราวเหล็กที่กั้นไหล่ทางเป็นระยะทางประมาณ 20 เมตร 

ปี พ.ศ. 2546 - 2550

วันที่ 22 ธันวาคม 2550  

เหตุการณ์เรือล่มในทะเลอันดามัน ตาย 22 คน 

ที่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะช้าง หมู่ที่ 2 ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง ใกล้ชายแดนน่านน้ำพม่า ห่างจากฝั่ง จ.ระนอง ประมาณ 20 กม. ได้พบศพแรงงานข้ามชาติจากพม่าลอยอยู่ในทะเลอันดามันจำนวน 22 คน เป็นชาย 11 คน หญิง 7 คน เด็ก 4 คน จากจำนวนแรงงานที่เดินทางจากเกาะสอง ประเทศพม่ามายัง จ.ระนอง รวมทั้งหมด 50 คน ซึ่งเรือประมงที่ลักลอบพาแรงงานหลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมายได้เกิดอุบัติเหตุล่มลงในทะเลอันดามัน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวในทะเลเกิดคลื่นลมแรงพัดเรือไปกระแทกกับโขดหินทำให้เรือที่บรรทุกคนมาเต็มลำเกิดล่มลง ซึ่งช่วงเกิดเหตุอยู่ในช่วงกลางคืนไม่มีใครเห็น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

วันที่ 26 ธันวาคม 2546  

เหตุการณ์ของการเกิดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน 

คลื่นสึนามิครั้งที่รุนแรงมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ มีผู้คนเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเป็นภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติ ที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลน พัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300,000 คน และภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหว ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 255,000 คน คลื่นสึนามิดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นที่จุดกำเนิดของแผ่นดินไหว นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แล้วเคลื่อนตัวแผ่ขยายไปทั่วทะเลอันดามัน จนถึงชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและเกาะศรีลังกา บางส่วนของคลื่นยังเคลื่อนตัวไป ถึงชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาด้วย รวมประเทศที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ และมีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้น ๑๑ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก แก่ประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า ยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทย จำนวน 5,309 ราย จำแนกเป็น สัญชาติไทย 1,728 ราย ชาวต่างชาติ 1,240 ราย ไม่ระบุ 2,341 ราย สำหรับ จังหวัดระนอง พบผู้เสียชีวิต 159 ราย จำแนกเป็น สัญชาติไทย 157 ราย ชาวต่างชาติ 2 ราย ผู้บาดเจ็บ 246 ราย สูญหาย 12 ราย

โรคระบาดในจังหวัดระนอง

วันที่ 15 มกราคม 2563

เหตุการณ์ พบผู้ป่วยโรคเรื้อน(Leprosy) อำเภอละอุ่น 1 ราย

        วันที่ 15 มกราคม 2563 รพ.ละอุ่น พบผู้ป่วยโรคเรื้อนจำนวน 1 ราย เพศชาย อายุ 23 ปี สัญชาติไทย ปฏิเสธโรคประจำตัว ไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ อาชีพเกษตรกรรม เริ่มป่วยประมาณ 4- 5 เดือนที่ผ่าน มีอาการมือบวม หน้าบวม ปวดหัวบ่อย มีประวัติเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวี และโรงพยาบาลธนบุรีชุมพร ด้วยอาการ มือบวม เท้าบวม จมูกบวม หน้าบวม มีผื่นที่แขน ตามตัว กำมือไม่สุด แพทย์วินิจฉัยสงสัยโรคเรื้อน จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตรวจห้องปฏิบัติการ Slit Skin smear : Positive 4 ตำแหน่ง (หูขวา หูซ้าย มือ หน้า) แพทย์วินิจฉัยโรคเรื้อน (Lepromatous leprosy) จากการสังเกตอาการปัจจุบันผู้ป่วยมีลักษณะมือบวม เท้าบวม จมูกบวม หน้าบวม ผมร่วง ขนบริเวณคิ้วหลุด มีผื่นบริเวณแขนขา นิ้วผิดรูป ประวัติการเดินทางผู้ป่วยปฏิเสธการเดินทางออกนอกพื้นที่ อาศัยอยู่ตำบลในวงเหนือเประมาณ 4 ปี ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดสกลนคร การค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านเพิ่มเติม จำนวน 5 ราย อาการปกติ


วันที่ 12 มกราคม 2559

เหตุการณ์ ลูกเรือเสียชีวิต 6 ราย เหตุภาวะขาดวิตามินบี 1

เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้รับแจ้งว่ามีลูกเรือประมงเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ 4 ราย สงสัยเสียชีวิตจากภาวะขาดวิตามินบี 1  ผลการสอบสวน พบลูกเรือมีอาการป่วย 32 ราย (กัมพูชา 25 ราย ไทย 7 ราย) จากลูกเรือประมงทั้งสิ้น 115 คน บนเรือประมง 6 ลำ (อัตราป่วยร้อยละ 27.8) เป็นผู้ป่วยยืนยัน 24 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 5 ราย และผู้ป่วยสงสัย 3 ราย มีเสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยเป็นเพศชายทั้งหมด ผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยในสัดส่วนสูงสุด ตามมาด้วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอก ชา ปวดกล้ามเนื้อและบวม ผลการตรวจเลือดผู้ป่วย 24 ราย พบภาวะขาดวิตามินบี 1 ทั้งหมด ส่งตัวอย่างอาหารและน้ำ 25 ตัวอย่าง ตรวจสารโลหะหนักประเภทตะกั่ว สารหนู แคดเมียมและปรอทพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นยาเส้นมีสารแคดเมียมสูงกว่ามาตรฐาน การตรวจชันสูตรศพทางนิติเวช จำนวน 6 ราย แพทย์สรุปสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากลักษณะห้องหัวใจขยายตัวกว่าปกติซึ่งเข้าได้กับภาวะขาดวิตามินบี 1 จำนวน 5 ราย และจากกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ 1 ราย ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า การป่วยและเสียชีวิตของลูกเรือประมงครั้งนี้ เกิดจากภาวะขาดวิตามินบี 1 โดยคาดว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการป่วย คือ การได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอขณะอยู่กลางทะเลนานกว่า 9 เดือน โดยไม่ได้กลับเข้าฝั่ง พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1 และการทำงานที่ใช้พละกำลังเป็นหลัก ทำให้ความต้องการวิตามินบี 1 มากกว่าปกติ ดังนั้น ในกลุ่มลูกเรือประมงที่ออกทะเลโดยไม่กลับเข้าฝั่งตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ควรมีการให้วิตามินบี 1 เสริมเพื่อป้องกัน รายงานการสอบสวน

ปี พ.ศ.2552

เหตุการณ์ การระบาดของไข้ชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา จากข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยาจำนวน 52,057 ราย จาก 58 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 82.58 ต่อแสนประชากร จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรกคือ จังหวัดนราธิวาส ภูเก็ต พัทลุง สงขลา และปัตตานี คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 1,145.58, 1065.52,  778.81, 739.81 และ 711.19 ตามลำดับ จังหวัดระนอง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา  จำนวนทั้งสิ้น 425 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย   233.58  ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคืออำเภอกระบุรี  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  148  ราย  รองลงมาคือ  อำเภอกะเปอร์,  อำเภอเมือง,  อำเภอละอุ่น และอำเภอสุขสำราญ จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  129,129,16 และ 3 ราย ตามลำดับ

วันที่ 26 ตุลาคม 2539

เหตุการณ์ อาหารเป็นพิษจากการดื่มยาดอง (น้ำมนต์แช่รากไม้)

ผู้ป่วยเป็นชาวบ้านตำบล จปร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ในวันที่ 26 ตุลาคม 2539 ชาวบ้านประมาณ 220 คนจากหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้ร่วมกันมาทำบุญตักบาตรเทโวที่วัดใน ตำบลจปร. หลังจากถวายอาหารเพลแด่พระสงฆ์แล้ว ได้มาร่วมกันตื่มยาดอง(น้ำมนต์แช่รากไม้) ซึ่งตามปกติ ตั้งอยู่ในศาลาวัด โดยใช้แก้วน้ำใบเล็กใบเดียวตักยาดองจากขวดโหลเวียนกันดื่มต่อๆ ไป หลังจากนั้นประมาณ 15 นาที ก็เริ่มอาการป่วย เป็นเฉพาะผู้ที่ดื่มยาดอง มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 50 ราย มีอาการหนักเบาแตกต่างกัน จะมีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ ร้อนวูบวาบตามใบหน้า แสบตา แสบจมูกชาลิ้นทชาปาก หายใจไม่สม่ำเสมอ แน่นหน้าอก คลื่นใส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายชักเกร็งช็อค หมดสติ
      ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการนำส่งมารักษาต่อ เป็นเพศชาย อายุ 29 ปี มีอาการ หลังจากดื่มยาดองประมาณ 5 นาที มีอาการไม่รู้สึกตัว ชักเกรื่งกระตุกทั้งตัว และ ใบหน้า มีน้ำลายฟูมปาก
    ผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลชุมพร เป็นเพศหญิง อายุ 42 ปี มีอาการหลังดื่มยาดองประมาณ 10 นาที มีอาการไม่รู้สึกตัว ซักเกร็งกระตุกทั่วตัว ปัสสาวะราด ถ่ายเหลวมีเลือดปน ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ เสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม 2539 และผู้ป่วยอาการหนักพักรักษาตัวห้อง ไอซียู จำนวน 2 ราย และรับการรักษาอาการทั่วไป จำนวน 5 ราย  ผลการตรวจตัวอย่าง พบว่า มีสารระเหยปนเปื้อน ตรวจพบ Chloroform 4.46 g/100 ml ตรวจพบ Etharol 23.94 % ในน้ำแช่รากไม้ รายงานการสอบสวน

วันที่ 14 พฤษภาคม 2560

เหตุการณ์ อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ด

วันที่ 14 พฤษภาคม 2560 อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ด  เวลา 09.00 น. มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกระบุรี  จำนวน  7  ราย  โดยมีอาการเหมือนกัน คือ คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  ถ่ายเหลว หลักจากรับประทานเห็ดที่เก็บได้จากสวนอ้อย หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำจืดน้อย อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และมีประวัติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปรุงจากเห็ดร่วมกัน จำนวน 7 ราย  มีการการดังกล่าว จำนวน  7  ราย  แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ด (Mushroom poisoning)  และให้ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจำนวน 2 ราย เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลกระบุรี ส่วนผู้ป่วย จำนวน 5 ราย แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านเนื่องจากมีอาการเล็กน้อยและไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน 

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในจังหวัดระนอง

สถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล

เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์