ส่วนที่ 1   บทสรุปสําหรับผู้บริหาร

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีการศึกษาที่จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประกอบด้วยการสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายในการอาชีวศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2561

         ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา พ.ศ. 2561 ใน 5 ด้าน โดยกำหนดค่าน้ำหนักการให้คะแนน ดังนี้

         ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับค่าคะแนน ดังนี้

         ประเด็นที่ 1.1 การดูแลผู้เรียน

                     ค่าคะแนน   2 ระดับคุณภาพ  ปานกลาง

         ประเด็นที่ 1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 1.3 ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 1.4 ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย 

                     ค่าคะแนน   2 ระดับคุณภาพ  ปานกลาง

         ประเด็นที่ 1.5 ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ

                     ค่าคะแนน   2 ระดับคุณภาพ  ปานกลาง

         ประเด็นที่ 1.6 ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 1.7  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V- NET)  

                     ค่าคะแนน   -   ระดับคุณภาพ  -

         ประเด็นที่ 1.8 การมีงานทำและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน    4    ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน    -    ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน    -    ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน    3   ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน    -    ประเด็น

         ด้านที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ได้รับค่าคะแนน ดังนี้

         ประเด็นที่ 2.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย

         ประเด็นย่อยที่ 2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ

                     ค่าคะแนน   3 ระดับคุณภาพ  ดี

   ประเด็นย่อยที่ 2.1.2 ร้อยละของสาขาวิชา หรือสาขางานที่มีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ   

   หรือปรับปรุงรายวิชา ปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยียม  

         ประเด็นที่ 2.2 การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย

         ประเด็นย่อยที่ 2.2.1 ระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ 

                     ค่าคะแนน   5     ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นย่อยที่ 2.2.2 ร้อยละของครูที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็น

         สำคัญ และนำไปใช้ในการ

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ด้านที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน   3     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน   1     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน   -     ประเด็น

         ด้านที่ 3 ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ได้รับค่าคะแนน ดังนี้

         ประเด็นที่ 3.1 ครูผู้สอน ประกอบด้วย

         ประเด็นย่อยที่ 3.1.1 การจัดการเรียนการสอน 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นย่อยที่ 3.1.2 การบริหารจัดการชั้นเรียน 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นย่อยที่ 3.1.3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่  3.2 ผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย

         ประเด็นย่อยที่ 3.2.1 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นย่อยที่ 3.2.2 การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา 

                     ค่าคะแนน   4 ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ด้านที่ 3 ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน   4     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน   1     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน   -     ประเด็น

         ด้านที่ 4 การมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา ได้รับค่าคะแนน ดังนี้

         ประเด็นที่ 4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 4.2 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 4.3 การบริการชุมชน และจิตอาสา

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ด้านที่ 4 การมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน   3     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน   -     ประเด็น

         ด้านที่ 5 ปัจจัยพื้นฐาน ได้รับค่าคะแนน ดังนี้

         ประเด็นที่ 5.1 อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการหรือโรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 5.2 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน 

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 5.3 แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานสารสนเทศภายในสถานศึกษา

                     ค่าคะแนน   5 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม

         ประเด็นที่ 5.5 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

                     ค่าคะแนน   4 ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ด้านที่ 5 ปัจจัยพื้นฐาน

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน   4     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน   1     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน   -     ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน   -     ประเด็น

         สรุปผลการประเมินคุณภาพ ทั้ง 5 ด้าน

         ระดับคุณภาพ 5   “ยอดเยี่ยม”       จำนวน   18   ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 4   “ดีเลิศ”            จำนวน    2   ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 3   “ดี”                จำนวน    1    ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 2   “ปานกลาง”      จำนวน    3    ประเด็น

         ระดับคุณภาพ 1  “กำลังพัฒนา”    จำนวน    -   ประเด็น

จุดเด่น

1. สถานประกอบการ หน่วยงาน หรือสถานศึกษา มีความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหนองแค

2. สถานศึกษาได้ดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม

3. สถานศึกษาได้ตระหนักและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัด

4. สถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร และผู้เรียนในการจัดโครงการ/กิจกรรมการบริการและวิชาชีพ โดยสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ

5. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี

6. คณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามหน้าที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องส่งผลต่อการพัฒนาวิทยาลัยฯ

7. สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรจัดการด้านอาคารสถานที่ ด้านครุภัณฑ์ และด้านฐานข้อมูลสารสนเทศ

8. สถานศึกษาได้จัดอบรมการทำแผนการเรียนรู้ทำให้ครูผู้สอนมีการทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะวิชาชีพและบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ปรัชญาและคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชาที่สอน

9. มีการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชาอย่างต่อเนื่อง

10. สถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนจัดทำโครงการสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

11. สถานศึกษา มีการจัดทำโครงการเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

12. สถานศึกษาให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม ของครู บุคลากรทุกฝ่ายในวิทยาลัย และผู้เรียน ทุกคน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ

13. สถานศึกษา ให้ความสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ความรู้แก่ครู บุคลากรทุกฝ่าย และผู้เรียน ได้นำไปใช้ประโยชน์ มีแผนงาน/โครงการในการบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากรทุกฝ่ายและผู้เรียน

14. สถานศึกษาได้จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผลการประเมินคุณภาพภายใน และผลการประเมินคุณภาพภายนอก

15. สถานศึกษาได้จัดให้ความรู้ และมีการจัดการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

16. สถานศึกษามีการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบรักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

17. สถานศึกษา ให้ความสำคัญในการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศและการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

18. สถานศึกษามีการบริหารจัดการเพื่อการบริการชุมชน บริการวิชาชีพ บริการวิชาการ และจิตอาสา รวมทั้งเสริมให้มีนวัตกรรมเพื่อนำไปสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

19. สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียน นักศึกษา ดำเนินกิจกรรมด้านศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา อย่างต่อเนื่อง

21. สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนให้น้อยลงเพราะจะมีผลต่อร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเทียบกับนักเรียนแรกเข้า

2. วิทยาลัยฯ ควรนำหลักสูตรฐานสรรถนะรายวิชาที่พัฒนาเรียบร้อยแล้วไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้ครบทุกสาขางานที่เปิดสอน

3.  วิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนผลิตผลงานจากการเรียนรู้และผลงานเหล่านั้นมีมูลค่าสามารถคืนเงินค่าวัสดุฝึกได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนเงินค่าวัสดุฝึก

4. วิทยาลัยฯ ควรจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการค้นคว้า วิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรือการประกวด จัดแสดง นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของงบดำเนินการ

5. วิทยาลัยฯ ควรจัดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการใช้ทักษะวิชาชีพให้แก่ผู้เรียนเพื่อสร้างเสริมทักษะวิชาชีพให้สูงขึ้น

6. วิทยาลัยฯ ควรดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานในทุกด้าน และควรส่งข้อมูลรวบรวมให้งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาส่วนหนึ่ง เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น สามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง

ข้อเสนอแนะหรือแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา

1. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ควบคู่กับแผนการแนะแนวเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงผู้เรียน ผู้ปกครองระดับมัธยมศึกษา เพื่อเพิ่มจำนวนและระดับคุณภาพผู้เข้าเรียน ซึ่งจะช่วยให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ ลดจำนวนนักเรียนออกกลางคัน เพิ่มผลสัมฤทธิ์ผู้สำเร็จการศึกษา

3. จัดทำข้อเสนอแนะในทุกตัวบ่งชี้ตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม มาพิจารณาทำแผนปฏิบัติงานประจำปี เพื่อการปรับปรุงพัฒนาการทำงาน เป็นการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของวิทยาลัยฯ

4. จัดทำแผนการบริหารงบประมาณเพื่อการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการวิชาชีพแก่ชุมชน       

5. จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการสร้างงานสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมหรือวิจัยทั้งของครูผู้สอน และผู้เรียน พร้อมทั้งส่งเสริมการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ จัดแสดง ประกวด แข่งขัน ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ

6. จัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ให้มีกิจกรรมที่หลากหลายอันเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กีฬาและนันทนาการ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

2. การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

         สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาครูในสถานศึกษาในด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ จัดหาทุนการศึกษา ทุนวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ส่งเสริม ให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กับสถานศึกษาอื่นหรือหน่วยงาน องค์กรภายนอกตรงกับสาขาวิชาชีพ  มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม และ ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่อง

      สถานศึกษามีการสร้างความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศแลต่างประเทศ ในการจัดการศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวน  การเรียนรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนหรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ และเผยแพร่   สู่สาธารณชน สามารถสร้างผู้เรียนจนได้รับรางวัลระดับชาติ

3. การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่บรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด

         วิทยาลัยการอาชีพหนองแคมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยทำการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ระบบปกติ ระบบเทียบโอนความรู้ประสบการณ์ ระบบทวิภาคี ระยะสั้น และทวิศึกษา การศึกษาในระบบเป็นการจัด การศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษา ในสถานศึกษา โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธี การศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

      การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม และการศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถาน ศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันและเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากาลังคน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน สามารถจัดการศึกษาตามวรรคหนึ่งในหลายรูปแบบรวมกันก็ได้ ทั้งนี้วิทยาลัยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในประเภทอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

4. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

โครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix it Center

1. หลักการและเหตุผล

         ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) โดยให้สถาบันอาชีวศึกษาให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชน ให้รู้วิธีการใช้ การดูแลรักษาและพัฒนาทักษะช่างชุมชนให้สามารถซ่อมบำรุงเครื่องมือ อุปกรณ์การประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ในครัวเรือน ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะหน่วยงานหลักที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ในระยะที่ 1 และ 2 (พ.ศ. 2548-2549) จึงดำเนินการปรับรูปแบบการดำเนินงานและบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ให้กว้างขวางครอบคลุมและให้ความสำคัญในการยกระดับฝีมือช่างชุมชนรวมทั้งการเสริมสร้างการรวมกลุ่มของช่างชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ และการสร้างเครือข่ายช่างชุมชน ร่วมกับสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน

         นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และชุมชนในการสร้างเครือข่าย ถ่ายทอดความรู้พัฒนาสุขอนามัยพื้นฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมสร้างมาตรฐานผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน อันจะเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ

2. วัตถุประสงค์

         2.1 เพื่อสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน

         2.2 เพื่อทราบความคิดเห็น และความต้องการของประชาชน

         2.3 เพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน

         2.4 เพื่อค้นหาประเด็นที่ควรจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

         2.5 เพื่อนักเรียน นักศึกษามีการฝึกอาชีพ มีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติหน้าที่

         2.6 เพื่อนักเรียน นักศึกษาเป็นพลเมืองดี มีน้ำใจและความเอื้ออาทรในการช่วยเหลือผู้อื่น

3. กรอบแนวคิด

         3.1 ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center และได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานฯ ระดับดีขึ้นไป

         3.2 ครูจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน สร้างจิตอาสานำวิตาชีพบริการวิชาชีพชุมชน

         3.3 นักเรียน นักศึกษา มีจิตอาสา นำวิชาชีพไปบริการชุมชน

         3.4 ประชาชนผู้รับบริการซ่อมรู้วิธีการใช้ การดูแลรักษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม

คุณภาพผลิตภัณฑ์

4. วิธีการดำเนินงาน

         4.1 ขั้นเตรียมการ

                     4.1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการระดับนโยบายระดับอำเภอ และสถานศึกษา

                     4.1.2 สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ

                     4.1.3 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย

                     4.1.4 เตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติงาน

         4.2 ปฏิบัติการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน บริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน รถทุกประเภท ฯลฯ

         4.3 นิเทศ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประเมินผลภายในของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนโดยคณะกรรมการบริหารโครงการระดับอำเภอ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. ผลการดำเนินงาน

         5.1 ประชาชนผู้รับบริการได้รับความรู้ พัฒนาทักษะในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ในครัวเรือน

         5.2 ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองแค มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

         5.3 เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาปรับปรุงการจัดโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center ในครั้งต่อไป

         5.4 นักเรียน นักศึกษามีอาชีพ มีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติหน้าที่

         5.5 นักเรียน นักศึกษาเป็นพลเมืองดี มีน้ำใจและความเอื้ออาทรในการช่วยเหลือผู้อื่น

6. ประโยชน์ที่ได้รับ

               6.1 ประสิทธิภาพของเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เครื่องมืออุปกรณ์ดำรงชีวิตประจำวันของครัวเรือนซึ่งจะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของประชาชน บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการลดรายจ่าย

         6.2 ประชาชนมีความรู้ในการใช้ การดูแล รักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เครื่องมืออุปกรณ์การดำรงชีวิตประจำวันในครัวเรือน

         6.3 ช่างชุมชนที่ได้รับการยกระดับมีทักษะในการประกอบอาชีพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการสามารถประกอบอาชีพอิสระสามารถสร้างงานสร้างรายได้

         6.4 การรวมกลุ่มช่างชุมชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกลไกของหน่วยงานที่ร่วมจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center เป็นการพัฒนาศูนย์ซ่อมสร้างที่ยั่งยืน