ข้อมูลจังหวัดสระบุรี

สภาพชุมชน 

จังหวัดสระบุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ละติจูดที่ 14 องศา 31 ลิปดา 43.59439 ฟิลิปดาเหนือกับลองติจูดที่ 100 องศา54 ลิปดา 35.58478 ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศาลากลางจังหวัด) และตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ 113 กิโลเมตรและตามแม่น้ำเจ้าพระยาแยกเข้าแม่น้ำป่าสักประมาณ 165 กิโลเมตร เนื้อที่จังหวัดสระบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมด 3,576,486 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,235,304 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของพื้นที่ประเทศ ประชากรรวม 620,454 คน แยกเป็นชาย 306,986 คน หญิง 313,468 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อําเภอ 111 ตําบล 973 หมู่บ้าน มีเทศบาลเมือง 3 แห่ง เทศบาลตําบล 27 แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) 78 แห่ง

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรีอำเภอชัยบาดาลและอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากช่องอำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมาและอำเภอบ้านนาจังหวัดนครนายก

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย อำเภออุทัยจังหวัดพระนครรีอยุธยา

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอภาชีอำเภอท่าเรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

และอำเภอเมืองลพบุรีจังหวัดลพบุรี 


สภาพเศรษฐกิจ

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัดสระบุรีในปี 2557 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อนละ 0.80 จากปี 2556 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 289,998 บาทต่อปี และสูงเป็นลำดับที่ 9 ของประเทศ เป็นลำดับที่ 1 ของจังหวัดภาคกลาง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมตามราคาประจำปี 208,060 ล้านบาท ซึ่งสาขาการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงสุดของสาขาการผลิตทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 55.30 รองลงมา ได้แก่ สาขาการขายส่งการขายปลีก คิดเป็นร้อยละ 8.80 และสาขาการไฟฟ้า และการประปา คิดเป็นร้อยละ 8.30

ด้านอุตสาหกรรม

การลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรมอื่นๆ ประกอบด้วย การผลิต การคัดแยก หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เป็นหลัก เช่น การนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งอยู่ในรูปของแข็ง ประกอบด้วยเศษโลหะ พลาสติก แก้วไม้และอื่นๆ แล้วน้าผ่านกระบวนการคัดแยกด้วยเครื่องจักรหรือแรงงานคน วัสดุที่ผ่านการคัดแยกแล้วอาจนำเข้าสู่กระบวนการต่อเนื่อง เช่น อัดให้เป็นก้อน รองลงมา ได้แก่ การผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมตามลำดับ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 397 โรงเงินลงทุน 67,864.33 ล้านบาท การจ้างงาน 6,494 คน 

2. อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมยิปซัม หรือผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์ เป็นหลักเช่น การผลิตกระเบื้องหลังคา เซรามิค การผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ และการผลิต

กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง รองลงมาได้แก่ การทำซีเมนต์ ปูนขาว หรือปูนปลาสเตอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา และรวมถึงการเตรียมวัสดุเพื่อการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามลำดับ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 378 โรงงาน เงินลงทุน 95,805.580 ล้านบาท การจ้างงาน 33,201 คน 

3. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ ประกอบด้วยการผลิต การกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน หรือเชื่อมโลหะทั่วไป เป็นหลัก เช่น การทำแม่พิมพ์โลหะการทำผลิตภัณฑ์โลหะจากเหล็กรูปพรรษ โดยการกลึงเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรกล และยานยนต์ รองลงมาได้แก่ การทำส่วนประกอบสำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคาร และการตัด พับ หรือม้วนโลหะ ตามลำดับ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 190 โรงงาน เงินลงทุน 4,410.71 ล้านบาท การจ้างงาน 4,494 คน เครื่องจักร 59,284,66 แรงงานม้า 


พื้นที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม

จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งพลังงานเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน (BOI ZONE 2) พื้นที่ที่สนับสนุนให้เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรีประกอบด้วย

1. เขตประกอบการอุตสาหกรรมเอสไอแอล (บริษัท เหมราชสระบุรี ที่ดินอุตสาหกรรม จำกัด)ตั้งอยู่ อำเภอหนองแค เนื้อที่ทั้งหมด 3,618 ไร่ มีเนื้อที่เหลือสำหรับตั้งโรงงาน จำนวน 462 ไร่

2. นิคมอุตสาหกรรมหนองแค : ตั้งอยู่ อำเภอหนองแค เนื้อที่ทั้งหมด 2,042 ไร่ มีเนื้อที่เหลือสำหรับตั้งโรงงาน จำนวน 592 ไร่

3. นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย: ตั้งอยู่ อำเภอแก่งคอย เนื้อที่ทั้งหมด 570 ไร่ มีเนื้อที่เหลือสำหรับตั้งโรงงานจำนวน 129 ไร


การค้าและการลงทุน 

การจดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจปี 2558 จังหวัดสระบุรี การดำเนินธุรกิจภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวนนิติบุคคลที่คงอยู่ ณ 30 ธันวาคม 2558 จำนวน 4,633 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา90 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.88 เงินทุนจดทะเบียน 63,756,339,595 ล้านบาท ผู้จดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ จำนวน 832 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ105.94 เงินทุนจดทะเบียน 4,523.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 182.23 เนื่องจากนโยบายและ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการเริ่มต้นทำธุรกิจมากขึ้น ทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ที่มีจำนวนผู้จดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ การผลิต 356 ราย เพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 278.72 รองลงมาคือการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ของใช้ ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 136 ราย การก่อสร้าง 100 ราย การขนส่งและสถานีเก็บ สินค้า 44 ราย กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 36 ราย และกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 29 ราย ทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ ที่มีจำนวนทุนจดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ การผลิต เงินทุนจดทะเบียน 3,398.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 410.46 รองลงมา คือ การขายส่ง การขาย ปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 262.40 ล้านบาท การทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 166.14

ล้านบาท และการก่อสร้าง 165.20 ล้านบาท


สถานการณ์ด้านแรงงาน 

ประชากรและกำลังแรงงาน

จังหวัดสระบุรีมีประชากรจำนวน 638,900 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 404,964 คน โดยผู้มีงานทำ 397,827 คน ผู้ว่างงาน 5,581 คน กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล 1,555 คน ผู้ไม่อยู่ในกำลัง แรงงานมีจำนวน 188,951 คน (ทำงานบ้าน เรียนหนังสือ และอื่นๆ) 


การมีงานทำ 

ผู้มีงานทำในจังหวัดสระบุรีมีจำนวนทั้งสิ้น 397,827 คน เป็นผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม 52,627 คน (ร้อยละ 13.23) ผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 345,200 คน (ร้อยละ 86.77)  โดยกลุ่ม ผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุดมี 146,355 คน (ร้อยละ 42.40) รองลงมาสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ 57,569 คน (ร้อยละ 16.68) และการขนส่งที่เก็บสินค้า 23,868 คน (ร้อยละ 6.91) ผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา 90,596 คน 

(ร้อยละ 22.77) 


การว่างงาน

จังหวัดสระบุรีมีผู้ว่างงานประมาณ 5,581 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.38 ทั้งนี้เมื่อ พิจารณากลุ่มผู้ว่างงานจำแนกตามเพศแล้ว พบว่าเพศหญิงมีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศชาย  โดยเพศชาย

มีอัตราการว่างงาน 2,281 คน (ร้อยละ 40.87 ของผู้ว่างงานทั้งหมด) ในขณะที่เพศหญิงมีอัตราการว่างงาน 3,300 คน (ร้อยละ 59.13 ของผู้ว่างงานทั้งหมด)


แรงงานนอกระบบ

จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558 พบว่าจังหวัดสระบุรีมีผู้ทำงานอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวน 148,511 คน หรือร้อยละ 36.51 ของผู้มีงานทำทั้งหมด อุตสาหกรรมที่มีแรงงานนอก ระบบสูงสุดคือ เกษตรกรรมจำนวน 54,353 คน หรือร้อยละ 36.60 รองลงมาคือ การขายส่ง การขายปลีกฯ จำนวน 30,461 คน หรือร้อยละ 20.51 ส่วนอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือ ด้านการเกษตรและประมง จำนวน 49,667 คน หรือร้อยละ 33.44 สำหรับด้านการศึกษาแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 46,858 คน หรือร้อยละ 31.55 


ความต้องการแรงงานในจังหวัดสระบุรี 

จากการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการในจังหวัด ในไตรมาส 2 ปี 2559 สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานจำแนกตามระดับการศึกษา คือ ระดับมัธยมศึกษา มีความ ต้องการร้อยละ 39.10 (719 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า ร้อยละ 30.72 (565 อัตรา) ระดับปวช./ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 24.09 (443 อัตรา) และระดับปริญญาตรี ร้อยละ 6.09

(112 อัตรา) 


แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูล เดือน มิถุนายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 12,082 คน ซึ่งจำแนกเป็นประเภทส่งเสริมการลงทุน 73 คน (ร้อยละ 0.60) ประเภทมาตรา 13 (พื้นที่สูง) 193 คน (ร้อยละ 1.60) ประเภทชั่วคราว 779 คน (ร้อยละ 1.45) ประเภท MOU 6,031 คน (ร้อยละ 49.92) ประเภทพิสูจน์สัญชาติ 4,327 คน (ร้อยละ 35.81) และประเภทหลบหนี เข้าเมืองตามมติ ครม. 679 คน (ร้อยละ 5.62)


การพัฒนาศักยภาพแรงงาน 

ในรอบไตรมาส 2 ปี 2559 มีผู้ขอเข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน และการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานดังนี้ 

1. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน พบว่ามีการเปิดฝึกเตรียมเข้าทำงานทั้งสิ้น 26 คน โดยผู้เข้ารับ การฝึกเป็นสาขาธุรกิจและบริการ 24 คน (ร้อยละ 92.31) และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 2 คน (ร้อยละ 7.69) ทั้งนี้อยู่ระหว่างดำเนินการฝึกทั้งหมด 

2. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน พบว่ามีการฝึกยกระดับฝีมือ แรงงานทั้งสิ้น 1,039 คน โดยกลุ่มอาชีพที่มีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด คือ สาขาช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 488 คน (ร้อยละ 46.97) สาขาธุรกิจและบริการ 340 คน (ร้อยละ 32.72) สาขาช่างเครื่องกล 161 คน (ร้อยละ 15.50) และสาขาช่างอุตสาหการ 50 คน (ร้อยละ 4.81) ซึ่งผู้เข้าร่วม การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานผ่าน การฝึกทั้งหมด 1,021 คน (คิดเป็นร้อยละ 98.27 ของผู้เข้ารับการฝึก ยกระดับฝีมือแรงงานทั้งหมด) และอยู่ระหว่างดำเนินการฝึกอีกจำนวน 18 คน 

3. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พบว่ามีการ ทดสอบฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 268 คน โดยกลุ่มอาชีพที่มีการทดสอบมาตรฐานสูงสุด คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 204 คน (ร้อยละ 76.12) และช่างอุตสาหการ 64 คน (ร้อยละ 23.88) ของ ผู้เข้าร่วมการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในส่วนผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พบว่าผ่านการ ทดสอบจำนวน 198 คน (คิดเป็นร้อยละ 73.88 ของผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งหมด) 


การคุ้มครองแรงงาน 

จังหวัดสระบุรีมีการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 133 แห่งลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ 15,603 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1 – 4 คนจำนวน 41 แห่ง (ร้อยละ 30.83) โดยสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจมีการปฏิบัติถูก 14 ปฏิบัติไม่ถูกต้องเจ้าหน้าที่ได้ออกค้าสั่งให้ดำเนินการปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว และมีการตรวจความปลอดภัยใน สถานประกอบการทั้งสิ้น 62 แห่งลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ 13,021 คนพบว่าสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้อง ตามกฎหมายความปลอดภัยมี 49 แห่ง (ร้อยละ 79.03) และสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม กฎหมายความปลอดภัยมี13 แห่ง (ร้อยละ 20.97) โดยประเภทอุตสาหกรรมที่มีอัตราการปฏิบัติ ไม่ถูกต้องได้แก่ประเภทการผลิต 9 แห่งประเภทการก่อสร้าง (2 แห่ง) ประเภทการขายส่งการปลีกฯ (1 แห่ง) และประเภทการขนส่งสถานที่เก็บสินค้าฯ (1 แห่ง) ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการออกค้าสั่งเพื่อให้ สถานประกอบการปรับปรุงให้ปฏิบัติถูกต้องแล้วแต่มีสถานประกอบการ 1 แห่งที่เจ้าหน้าที่ส่งเรื่อง ดำเนินคดีคือประเภทกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ 


แรงงานสัมพันธ์ 

เพื่อป้องกันความขัดแย้งและเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างนายจ้างลูกจ้างและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสันติสุขในวงการแรงงานให้นายจ้างและลูกจ้างมีทัศนคติที่ดีต่อกันใน การทำงานเพราะหากนายจ้างลูกจ้างมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดีย่อมไม่เกิดปัญหาขัดแย้งขึ้นเมื่อไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งพลังการขับเคลื่อนงานก็จะดีนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติงานลูกจ้าง หรือผู้ใช้แรงงานมีความสุขในการทำงานคุณภาพชีวิตย่อมดีขึ้นขณะเดียวกันนายจ้างก็มีความสุขเนื่องจาก มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นผลกำไรตามมา 


การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้ง 

จังหวัดสระบุรีมีการแจ้งข้อเรียกร้อง 7 แห่งและข้อเรียกร้องสามารถยุติโดยไม่เกิดข้อพิพาท แรงงานคือตกลงกันเองทั้ง 4 แห่งเกิดข้อพิพาทแรงงาน 1 แห่งสำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นทั้ง 1 แห่งนั้น สามารถยุติข้อพิพาทแรงงานภายใน 5 วันและมีการเกิดข้อขัดแย้ง 1 แห่งสามารถตกลงได้ 1 แห่ง 


การเลิกจ้างแรงงาน 

สถานประกอบการในจังหวัดสระบุรีที่เลิกกิจการมีจำนวน 46 แห่งลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 316 คนโดย ประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างสูงสุดคือประเภทอื่นๆ 25 แห่ง (ร้อยละ 54.35) ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 137 คน (ร้อยละ 43.35 ของจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมด) รองลงมาคือประเภทการร้านค้าเบ็ดเตล็ดการค้าอื่นๆ 7 แห่ง (ร้อยละ 15.22) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างจำนวน 136 คน (ร้อยละ 43.04) และการก่อสร้าง 5 แห่ง 

(ร้อยละ 10.87) ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 23 คน (ร้อยละ 7.28) 


การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน 

มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำนวน 425 คนโดยประเภทความ ร้ายแรงพบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วันจำนวน 303 คน(ร้อยละ 71.29) รองลงมาหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 119 คน (ร้อยละ 28.00) และเสียชีวิตจำนวน 3 คน (ร้อยละ 0.71) 


การประกันสังคม 

สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมจำนวน 4,192 แห่งผู้ประกันตนทั้งสิ้น 209,575 คนสถานประกอบการและลูกจ้างในกองทุนเงินทดแทนนายจ้าง 3,847 รายลูกจ้าง 158,282 คน กองทุนเงินทดแทน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวน 11,077,329.30 บาท กองทุนประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวน 417,296,670.80 บาท ผู้ประกันตนรับบริการประโยชน์ทดแทน จำนวน 42,100 ราย (ร้อยละ 20.10 ของผู้ประกันตนทั้งหมด) ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตน ใช้บริการสูงสุดได้แก่สงเคราะห์บุตรจำนวน 23,128 ราย (ร้อยละ 54.94 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด) การจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนพบว่าการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วยมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 29,144,000.00 บาท (ร้อยละ 22.52 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย) 


อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดสระบุรีตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 300 บาทต่อวัน ประกาศเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 หมายเหตุ: ข้อมูลรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดสระบุรี ณ เมษายน – มิถุนายน 2558 


สภาพสังคม

การศึกษา 

จังหวัดสระบุรีแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 เขต ดังนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ประกอบด้วย 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ เมืองสระบุรี อำเภอหนองแซง อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้อำเภอหนองโดน อำเภอพระพุทธบาท อำเภอดอนพุด และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีสถานศึกษาในสังกัด 157 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง อำเภอมวกเหล็กอำเภอวังม่วงมีสถานศึกษาในสังกัด 166 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ประกอบด้วย 13 อำเภอ มีสถานศึกษาในสังกัด 

จำนวน 21 แห่ง โดยสามารถจำแนกจำนวนสถานศึกษาแยกตามสังกัดรายอำเภอ รวมทั้งสิ้น 323 แห่ง 


การนับถือศาสนาและวัฒนธรรม 

ข้อมูลการนับถือศาสนาพุทธในจังหวัดสระบุรี วัดในพื้นที่จังหวัดสระบุรี มีจำนวน 510 วัด แยกเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายจำนวน 489 วัด และสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต จำนวน 21 วัด สำหรับอำเภอที่มีจำนวนวัดมากที่สุด ได้แก่ อำเภอแก่งคอย จำนวน 91 วัด รองลงมา ได้แก่ อำเภอหนองแค จำนวน 69 วัด อำเภอที่มีวัดน้อยที่สุด คืออำเภอดอนพุด จำนวน 10 วัด