ด้านที่ 1 ด้านการปฎิบัติตน

1.วินัยและการรักษาวินัย

1.1 การแสดงออกทางอารมณ์ กริยา ท่าทาง และการสื่อสารได้เหมาะสมกับกาลเทศะต่อผู้เรียน

1.2 การแสดงออกทางอารมณ์ กริยา ท่าทาง และการสื่อสารได้เหมาะสมกับกาลเทศะต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น

1.3 การมีเจตคติเชิงบวกกับประเทศชาติ

1.4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นข้าราชการ

1.5 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นข้าราชการครู

1.6 การปฏิบัติตามกฎหมาย

2. คุณธรรม จริยธรรม

2.1 การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถืออย่างเคร่งครัด

2.2 การเข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนศาสนกิจของศาสนาที่นับถืออย่างสม่ำเสมอ

2.3 การเห็นความสำคัญ เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุน เคารพกิจกรรมที่แสดงถึง จารีตประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นหรือชุมชน

2.4 การเห็นความสำคัญ เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมที่แสดงถึง จารีตประเพณี วัฒนธรรมของชาติ

2.5 การมีจิตบริการและจิตสาธารณะ

2.6 การต่อต้านการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชาติหรือผลกระทบเชิงลบต่อสังคมโดยรวม

3. จรรยาบรรณวิชาชีพครู

3.1 การพัฒนาวิชาชีพและบุคลิกภาพอย่างต่อเนื่อง

3.2 การมีวิสัยทัศน์ รู้และเข้าใจ สนใจ ติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของไทย และนานาชาติในปัจจุบัน

3.3 การไม่อาศัยวิชาชีพแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง

3.4 การมุ่งมั่นต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียน

3.5 การให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูอย่างสม่ำเสมอ

3.6 รัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการผู้เรียนทุกคน ด้วยความเสมอภาค

3.7 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นที่ยอมรับของผู้เรียน ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง ชุมชน

3.8 การไม่ปฏิบัติตนที่ส่งผลเชิงลบต่อกายและใจของนักเรียน

3.9 การทำงานกับผู้อื่นได้โดยยึดหลักความสามัคคี เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

3.10 การใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ นำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางพัฒนาให้กับผู้เรียน โรงเรียนหรือชุมชนในด้านใดด้านหนึ่ง(ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และสิ่งแวดล้อม)

3.11 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2 มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน

4.3 มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้กับภารกิจที่ได้รับมอบหมายอื่น

4.4 มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตของตนเอง

4.5 เป็นแบบอย่างในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้กับภารกิจต่าง ๆหรือการดำรงชีวิตของตน

5. จิตวิญญาณความเป็นครู

5.1 การเข้าสอนตรงเวลาและสอนเต็มเวลา

5.2 การตระหนักในความรู้และทักษะที่ถูกต้องรวมถึงสิ่งที่ดี ๆให้กับผู้เรียน

5.3 การสร้างความเสมอภาคเป็นธรรมกับผู้เรียนทุกคน

5.4 การรู้จักให้อภัย ปราศจากอคติ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ ตามศักยภาพ ความสนใจหรือความตั้งใจ

5.5 การเป็นที่พึ่งให้กับผู้เรียนได้ตลอดเวลา

5.6 การจัดกิจกรรมส่งเสริม การใฝ่รู้ ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้เรียน

5.7 การทุ่มเทเสียสละในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

6. จิตสำนึกความรับผิดชอบในวิชาชีพ

6.1 การมีเจตคติเชิงบวกกับวิชาชีพ

6.2 การมุ่งมั่น ทุ่มเทในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพและให้สังคมยอมรับ

6.3 ประพฤติปฏิบัติตนในการรักษาภาพลักษณ์ในวิชาชีพ

6.4 การปกป้อง ป้องกันมิให้ผู้ร่วมวิชาชีพประพฤติปฏิบัติในทางที่จะเกิดภาพลักษณ์เชิงลบต่อวิชาชีพ

6.5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใฝ่รู้ ค้นหาสร้างสรรค์ ถ่ายทอดปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีของเพื่อนร่วมงานและสังคม