ภูหินร่องกล้า

ในช่วงปีพ.ศ. 2511-2525 "ภูหินร่องกล้า" หรือ "ภูร่องกล้า" นอกจากจะเป็นป่าเขารกชัฏแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในพื้นที่"สีแดง" ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งความตายระหว่างการสู้รบของคน 2 กลุ่ม คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) กับ ฝ่ายความมั่นคง

บทสรุปของการสู้รบไม่ปรากฏผลแพ้-ชนะ เพราะสุดท้ายฝ่ายความมั่นคงประกาศนโยบาย 66/2523 และ 65/2525 ที่ใช้การเมืองนำการทหาร เปิดโอกาสให้เหล่านักศึกษาประชาชนที่หนีเข้าป่า กลับคืนสู่เมืองมาช่วยกันพัฒนาชาติไทย

หลังจากนั้นมาดินแดนภูหินร่องกล้าก็ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 48 ของประเทศไทย ในวันที่ 26 ก.ค. 2527


ลานหินปุ่ม

อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กม. อยู่ริมหน้าผา ลักษณะลานหินซึ่ง มีหินผุดขึ้นมาเป็นปุ่มเป็นปมขนาดไล่เลี่ยกัน คาดว่า เกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหิน ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้ของโรงพยาบาล เนื่องจาก อยู่บนหน้าผา มีลมพัดเย็นสบาย

ผาชูธง

อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 500เมตร เป็นหน้าผาสูงชัน สามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้าง ไกลโดยเฉพาะภาพวิวพระอาทิตย์ตกดินจะ สวยงามไม่แพ้จุดชมวิวอื่น ๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ซึ่งผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งเมื่อรบชนะ

บ้านใหม่ร่องกล้า

ลานหินแตก

อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นลานหินที่มีอาณาบริเวณ ประมาณ 40 ไร่ ลานหินมีรอยแตกเป็นแนว เป็น ร่อง เหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบ ขนาดพอคนก้าวข้ามได้ แต่บางรอยก็กว้างจนไม่่สามารถ จะกระโดดข้าม ไปถึง สำหรับความลึกของร่องหินแตกนั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้ี้สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการโก่งตัว หรือ เคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกออกเป็นแนว นอกจากนี้บริเวณลานหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอสส์ ไลเคน ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ

กังหันน้ำ

อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร เป็นกังหันน้ำขนาดใหญ่ ถูกสร้างขึ้นจากการผสมผสานความคิดก้าวหน้าทางวิชาการ กับการนำประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้งาน โดยนักศึกษาวิศวะที่เข้าร่วมกับ พคท. หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ ประมาณ 3 กม.เป็นสถานที่ดำเนินการด้านปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิด หรือละเมิดต่อกฎลัทธิ มีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้า และโรงซ่อมเครื่องจักรกลหลงเหลืออยู่