โรคทางระบบหายใจ

Asthma (โรคหอบหืด)

คือโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้หรือตัวกระตุ้นต่างๆ เมื่อถูอากกระตุ้นหลอดลมจะมีการตีบแคบลง เนื่องจากมีการหดเกร็งของเนื้อเรียบ มีการสร้างเสมหะมากขึ้นร่วมกับการบวมและหลุดลอกของเยื่อบุหลอดลมที่ตีบแคบ อาจดีขึ้นได้เองหรือดีขึ้นด้วยยาขยายหลอดลม โรคหอบหืดเป็นโรคที่ไม่หายขาดแต่จะมีอาการดีขึ้น หรือแย่ลง เป็นๆ ดหายๆ

อาการของโรคหอบหืด

อาการของโรคในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในคนคนเดียวกันในเวาที่แตกต่างกันก็อาจแสดงอาการ ไม่เหมือนเดิม อาการสำคัญของโรคหอบหืด ได้แก่

  • ไอ

  • แน่นหน้าอก

  • หายใจมีเสียง Wheezing

  • หอบเหนื่อยหายใจลำบาก

อาการมักจะแย่ลงเวลากลางคืนหรือเมื่อสัมผัสกับตัวกระตุ้นที่ผู้ป่วยแพ้ ผู้ป่วยโรคหืดประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการของโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกขาวใสไหล คัดจมูก จาม เป็นๆ หายๆ เวลาอากาศเปลี่ยน

Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง)

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) เป็นกลุ่มของโรคปอดอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก

ลักษณะสำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหายเนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อยๆ ตีบแคบลงหรือถูกอุดกั้นโดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก

โรคหลักๆ ในกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ซึ่งเป็นสองโรคที่มักพบร่วมกันเสมอ นอกจากนี้ยังมีโรคหืดหรือที่เรียกกันว่า โรคหอบหืด (asthma) และโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis) ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สาเหตุสำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่

  • การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเนื่องจากในควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารและแก๊สเหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง และทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

  • มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นกรณีที่มักเกิดกับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี เช่น เหมืองถ่านหิน งานเชื่อมโลหะ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหารและขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ

  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตในตับแล้วหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายจากสารต่างๆ โรคนี้จึงสามารถเกิดได้ทั้งกับคนวัยหนุ่มสาว สำหรับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ การขาด AAT จะเร่งให้เกิดภาวะถุงลมโป่งพองเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักและมักพบในชาวยุโรปหรือชนชาติผิวขาวอื่นๆ

สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แก่ การสูบบุหรี่ทั้งที่เป็นโรคหืด และอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่พัฒนาอย่างช้าๆ ดังนั้นกว่าที่จะตรวจพบโรค ผู้ป่วยก็มักเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว

อาการของโรค

ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการปรากฎ จนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน รู้สึกเหนื่อยหอบ หมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ บางรายอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง

เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ น้ำหนักลดลงอย่างมาก ในระยะท้ายของโรคมักพบการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ภาวะหายใจวาย (respiratory failure) และหัวใจด้านขวาล้มเหลว

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  1. การัดท่าระบายเสมหะ (Postural drainage)

  2. การเคาะ (Percussion) หรือการปอด (Vibration) เพื่อให้เสมหะร่อนระบายง่ายขึ้น ทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

  3. การฝึกหายใจ (Breathing exercise) ช่่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและการถ่ายเทอากาศดีขึ้น

  4. การบริหารหัวไหล่และลำตัวในท่าต่างๆเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอกและช่วยถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น

  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (Pulmonary rehabilitation)