การรักษาโดยวิธีการดัด/ดึง(Manual techniques)

1. Peripheral joint mobilization and manipulation

Mobilization

เป็นวิธีการทำ passive movement ของข้อต่อในทิศทางใดก็ตาม ขณะที่ทำอยู่นั้นผู้ป่วยสามารถบังคับหรือยับยั้งการเคลื่อนไหวนั้นได้ การเคลื่อนไหวของข้อต่อในร่างกายเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ

  • Physiological movement เป็นการเคลื่อนไหวของข้อต่อตามทิศทางทางกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำเองได้่

  • Accessory movement เป็นการเคลื่อนไหวระหว่างผิวข้อ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีการเคลื่อนไหวของ Physiological movement ตัวอย่าง เช่น การเลื่อนไถล (translation หรือ gliding) การกลิ้ง (rolling) การหมุน (rotation)

Manipulation

เป็นการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นทีทันใด ซึ่่งมีการเคลือนไหวข้อที่แคบ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วจนผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งได้

ในการรักษาด้วยเทคนิค passive movement จะคำนึงถึง convex concave rule ซึ่งเป็นกฎที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง Physiological movement กับ Accessory movement

  • Convex surface ของผิวข้อเคลื่อนบน concave surface ของผิวข้อ จะเกิด roll และ translation ในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่แบบ Physiological movement

  • Concave surface ของผิวข้อเคลื่อนบน convex surface ของผิวข้อ จะเกิด roll และ translation ในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่แบบ Physiological movement

*** การให้ Pressure ออกแรงตามการเคลื่อนไหวแบบ translation

ข้อบ่งชี้การทำ mobilization and manipulation

  • ความเจ็บปวดของข้อต่อ

  • ข้อต่อติดขัด

2. Mobilization of neural tissue

ผู้ป่วยทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อทั่วไป นอกจากสาเหตุของอาการซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อ ยังพบว่าอาจมีสาเหตุมาจากความตึงตัวของเส้นประสาท ทั้งส่วนกลางและส่วนปลาย