กศน.อำเภอประจันตคาม

🍀ยินดีต้อนรับสู่::เว็บไซต์กศน.อำเภอประจันตคาม🤟

🏆 ประวัติอำเภอประจันตคาม

ในปี พ.ศ. 2369ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3แห่งราชวงศ์จักรีเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมาเมื่อชาวเมืองนครราชสีมาได้รวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไปแล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯแต่งทัพและให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์)เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏให้ราบคาบ

เมื่อตีเมืองเวียงจันทน์ได้แล้วอพยพครอบครัวลี้พลบางส่วนจากเมืองเวียงจันทน์เมืองมหาชัยกองแก้วเมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเมืองสกลนครและอีกหลายเมืองในภาคอีสานของไทยมาด้วยท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อยเพียเมืองแสนพร้อมกับท้าวฟองบุตรพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์และท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองสกลนครซึ่งคุมกำลังพลเป็นนายกองของทัพหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองส่งไปช่วยรบกับทัพเมืองกรุงได้นำคนที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ในพื้นที่อำเภอประจันตคามในปัจจุบันต่อมาท้าวฟองยกกำลังไพร่พลแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรีท้าวอินทร์ยกกำลังไพร่พลไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่พนัสนิคมฝ่ายท้าวอุเทนได้รวบรวมกำลังไพร่พลไปเลือกที่ตั้งเมืองอีกเช่นกันเลือกทำเลที่เหมาะสมได้ที่ดงยางหรือบ้านเมืองเก่าปัจจุบันตั้งเป็นเมืองเมืองประจันตคามจึงอุบัติขึ้นในปี พ.ศ. 2376เมื่อตั้งเป็นเมืองเรียบร้อยแล้วท้าวอุเทนเจ้าเมืองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะว่าราชการเมืองได้ 2 ปีเศษเกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์)เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองพนมเปญและได้เกณฑ์เมืองประจันตคามเมืองพนัสนิคมและเมืองกบินทร์บุรีรวมเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่ง ยกไปสู้รบข้าศึกญวนทำการรบอยู่ประมาณ 3 ปีเศษจึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไปเจ้าเมืองทั้ง 3ผู้ร่วมรบมีความชอบในราชการทัพเมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระในนามเดิมทั้ง 3 ท่านเจ้าเมืองประจันตคามจึงได้เป็นพระภักดีเดชะต่อมาอีกประมาณ 1 ปีข้าศึกหวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีกเจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอกและโปรดให้เกณฑ์คนไปช่วยรบพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ได้นำกำลังพลชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์เช่นครั้งก่อนส่วนเจ้าเมืองพนัสนิคมในฐานะเป็นหัวเมืองใกล้ทะเลนัยว่าถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำกองทัพเรือในกรุงเทพฯในการไปราชการทัพครั้งนี้พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองประจันตคามเสียทีแก่ข้าศึกตายในที่รบเยี่ยงวีรบุรุษไทยในปัจจุบันโดยสรุปพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)จึงเป็นเจ้าเมืองคนแรกอยู่ได้ 6ปีก็มาสิ้นชีพในที่รบ

ขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์)แม่ทัพเห็นว่าบุตรพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน)ยังเยาว์นักไม่สามารถจะว่าราชการได้ จึงแต่งตั้งท้าวอินทร์บุตรของพี่สาวพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)ซึ่งเวลานั้นเป็นหลวงศักดาสำแดง ยกกระบัตรรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองท้าวคำ น้องท้าวอินทร์ขณะนั้นเป็นขุนอรัญไพรศรีรั้งตำแหน่งปลัดเมืองควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคามทำการรบต่อไปราชการทัพครั้งที่ 2 นี้รบอยู่ประมาณ 6 ปีจึงมีชัยชนะต่อข้าศึกญวนเมื่อเสร็จศึกสงครามกลับมาแล้วหลวงศักดาสำแดง(ท้าวอินทร์)ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคามได้รับบำเหน็จความชอบในที่รบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์)เจ้าเมืองประจันตคามสืบต่อเป็นท่านที่ 2ขุนอรัญไพรศรีผู้น้องเจ้าเมืองคนใหม่เป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมือง ส่วนท้าวโทบุตรเจ้าเมืองคนแรกซึ่งเสียชีวิตในที่รบมีอายุและความสามารถพอจะรับราชการได้จึงได้รับบำเหน็จตกทอดจากบิดาให้เป็นขุนอรัญไพรศรีซึ่งในระยะต่อมาภายหลังได้เลื่อนเป็นหลวงศักดาสำแดงยกกระบัตรพร้อมกับท้าวสุวรรณบุตรท้าวสุโทหลานพี่สาวท้าวอุเทนได้เป็นหลวงศรีวิเศษผู้ช่วยราชการขวาพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์)เจ้าเมืองคนที่ 2ว่าราชการเมืองอยู่นานถึง 44 ปีก็สิ้นชีพตักษัยหลวงสุรฤทธา (ท้าวคำ)ปลัดเมืองน้องชายเจ้าเมืองคนที่ 2ได้เลื่อนเป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองคนที่ 3หลวงศักดาสำแดง (ท้าวโท)เป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมืองพระภักดีเดชะ(ท้าวคำ)เป็นเจ้าเมืองคนที่ 3เมื่ออายุมากแล้วว่าราชการอยู่ได้เพียง 6 ปีก็สิ้นชีพตักษัย

หลวงศรีวิเศษ (ท้าวสุวรรณ)ผู้ช่วยราชการขวาได้เป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 4ส่วนหลวงสุรฤทธา (ท้าวโท)ปลัดเมืองบุตรพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)เจ้าเมืองคนแรกเป็นง่อยไม่สามารถรับราชการได้ขอลาออกจึงให้ท้าวพรหมาบุตรคนที่ 1ของเจ้าเมืองคนเดิมเป็นขุนคลังขึ้นเป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมืองแทนพระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ)ว่าราชการอยู่ 13 ปีก็สิ้นชีพตักษัย

ต่อจากนั้นมาในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5แห่งราชวงศ์จักรีกำลังทรงดำริปฎิรูปการปกครองหัวเมืองจะทรงยุบหัวเมืองเล็กเช่นเมืองประจันตคามเมืองกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอจึงยังไม่ตั้งเจ้าเมืองอีกแต่ให้หลวงสุรฤทธา (ท้าวพรหมา)ปลัดเมืองรั้งราชการอยู่ 3 ปีก็ถึงคราวยุบเมืองประจันตคามลงเป็นอำเภอเรียกว่าอำเภอประจันตคามในปี พ.ศ. 2448รวมระยะเวลาก่อตั้งเป็นเมืองประจันตคามอยู่ 72 ปี